กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดทำโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับ นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน (ครูรัก(ษ์)ถิ่น) รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เพื่อดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ตามมาตรา 5 (3) และมาตรา 5 (6) ที่ระบุให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาต้องเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและ ประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและ ศักยภาพที่แตกต่างกัน ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาครูให้มีจิตวิญญาณ ของความเป็นครู มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนา ผู้เรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาโดยมีแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง สถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูโดยตั้งอยู่บนหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้นักเรียนยากจนที่มีศักยภาพและมีจิตวิญญาณความเป็นครูได้เรียนครูจนจบปริญญาตรีอย่าง มีคุณภาพ และกลับไปเป็นครูในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลซึ่งเป็นท้องถิ่นของตน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการ ศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง 2) สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลที่จำเป็นต้องยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ ร่วมกันของครูและผู้เรียนตั้งแต่เริ่มโครงการ 3) สนับสนุนการปรับกระบวนการเรียนการสอนในสถาบันผลิตและพัฒนาครู ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจะ สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบการศึกษาของประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ในฐานะที่เป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ได้ จัดทำโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2563 รวม 9 เดือน เพื่อดำเนินงานตามกิจกรรมหลักของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ ค้นหา คัดกรอง และคัดเลือกนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักเรียนกลุ่มเป้าหมายก่อนสอบ คัดเลือกและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และกิจกรรมการศึกษาบริบทชุมชน บริบท พื้นที่และนักเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาผู้รับทุนให้ เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ โดยหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการระยะที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร สามารถคัดเลือกนักศึกษาผู้รับทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ได้จำนวน 32 คน และได้ศึกษาข้อมูลบริบทชุมชนและพื้นที่ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาผู้รับทุนในโครงการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการฯ ประสบความสำเร็จตามหลักการและเป้าหมายของโครงการ จึงต้องจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพและจัดทำระบบฐานข้อมูลนักศึกษาผู้รับทุน ตามโครงการสร้างโอกาสทาง การศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน (ครูรัก(ษ์)ถิ่น)ีการศึกษา 2563 รุ่นที่ 1 ระยะที่ 2 เพื่อดำเนินงานตามกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ (Enrichment program) เพื่อ พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน กิจกรรมการดูแลและให้คำปรึกษานักศึกษาผู้รับทุน กิจกรรมพัฒนาการทำงานร่วมกับแหล่ง ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและครูพี่เลี้ยงในพื้นที่ และการจัดทำระบบฐานข้อมูลนักศึกษาผู้รับทุน ทั้งการจัดทำ ฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และฐานข้อมูลเพื่อการติดตามประเมินผู้รับทุน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ผู้รับทุนผ่านการฝึกปฏิบัติจริงในบริบทพื้นที่ห่างไกล ทั้งด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทักษะในการพัฒนาชุมชน และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล รวมถึงการดูแลและให้คำปรึกษานักศึกษา ผู้รับทุนอย่างเหมาะสมและใกล้ชิด การส่งเสริมให้นักศึกษาผู้รับทุนเกิดจิตสำนึกความเป็นครูและรักถิ่นฐานบ้านเกิด ตนเอง และการจัดทำระบบฐานข้อมูลนักศึกษาผู้รับทุนให้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในการ พัฒนากระบวนการทำงานต่อไป