สภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข

ประเด็นท้าทาย การจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์งานธุรกิจและบริการ ระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด การแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PjBL) พร้อมกับเอกสารประกอบการสอนในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาวิทยาศาสตร์และเป็นการคิดริเริ่มสร้างสรรค์วัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค้า (หน่วยที่ 7 สารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวันและสำนักงาน) 

สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

              จากการจัดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์งานธุรกิจและบริการ พบว่า การจัดการเรียนการสอนผู้เรียนยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ และไม่มีการวางแผนในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของนักวิทยาศาสตร์ที่ดี เพื่อนำทักษะดังกล่าวมาคิดกำหนดปัญหาในท้องถิ่นในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในเรื่องต่าง ๆ ขึ้นในการคิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าใหม่ขึ้นมาให้กับชุมชน ซึ่งนักเรียนมองว่าเป็นเรื่องยาก ไกลตัว ไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่เรียนกับชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาผู้สอนจึงมีแนวความคิด ในการออกแบบการเรียนการสอน โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PjBL) คือ การเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ชีวิตขณะที่เรียน พร้อมกับเอกสารประกอบการสอนในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะต่างๆ 6 ขั้น คือ ความรู้ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (understanding) การประยุกต์ใช้ (Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมินค่า (Evaluating) และ การคิดสร้างสรรค์ (Creating)  ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน นั้นจึงเป็นเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะต่างๆด้วยตนเองทุกขั้นตอน โดยมีครูเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป