กายภาพบำบัดผู้ป่วย

บาดเจ็บไขสันหลัง C8 - T1

ระดับความสามารถ

>>> ควบคุมศรีษะ คอ แขนและมือได้ค่อนข้างดี

ลักษณะผู้ป่วย

  • กิจวัตรประจำวัน สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆเช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย แต่งตัว และจดการการขับถ่ายได้เองโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย

  • การเคลื่อนไหว สามารถนั่งทรงตัวได้ ใช้รถเข็นได้ดีและเคลื่อนย้ายตัวได้

การฝึกกายภาพบำบัดสำหรับผู้บาดเจ็บไขสันหลังระดับ C8-T1

การบริหารกล้ามเนื้อหายใจ

ผลกระทบต่อการหายใจของการบาดเจ็บไขสันหลัง ระดับ >>C8-T1 (accessory cranial nerve) <<

กล้ามเนื้อเสริมหายใจ (accessory muscle) ทำหน้าที่ค้ำจุน ทรวงอก ช่วยให้ทรวงอกขยายตัวเป็นปกติ เมื่อต้องหายใจแรงหรือลึกๆ

การเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน

ของกล้ามเนื้อแขน

อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=zn7Inl0U9ug

การยืดกล้ามเนื้อรยางค์ส่วนบน

การยืดกล้ามเนื้อรยางค์ส่วนล่าง

การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching)

ประโยนช์

  • ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อลด เพิ่มความยืดหยุ่นที่ดีขึ้น

  • ป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติ

  • ทำให้ความสัมพันธ์ของระบบประสาทกล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น

  • มีความคล่องแคล่วในการทำงาน

  • เพิ่มมุมการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

  • กระตุ้นให้ระบบกล้ามเนื้อที่จะใช้งานมีการเตรียมพร้อมที่ดี


หากพบว่า อาการเกร็งเป็นมากขึ้นกว่าเดิม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุกระตุ้น เช่น ภาวะติดเชื้อ มีโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ภายใน เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีภาวะเกร็งของขาทั้ง 2 ข้างในท่าเหยียด (Extensor spacticity) ทำให้นั่งไม่มั่นคงในท่าเหยียดขา ควรฝึกยกตัวในท่านั่งขัดสมาธิ หรือนั่งห้อยขาข้างเตียง

  • เมื่อผู้ป่วยแข็งแรงมากขึ้นควรเพิ่มระยะเวลาการยกค้างหรือเพิ่มจำนวนครั้งการทำซ้ำ เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้ป่วย

เคลื่อนย้ายตัวระดับเดียวกันในท่านั่ง

การฝึกการทรงตัวในผู้ป่วยอ่อนแรงครึ่งท่อนล่าง

ประโยชน์

  • ลดปัญหาและป้องกันการหกล้ม

  • ร่างกายมีความมั่นคงมากขึ้น (stability)

  • เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจากการบาดเจ็บข้อเท้าและเข่า

  • ป้องกันการบาดเจ็บ

  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความยืดหยุ่นของร่างกาย

การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว

กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าคุณจะขยับท่าทางไหน หรือทำกิจกรรมอะไรในชีวิตประจำวัน ก็มักจะใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนี้แทบจะตลอดเวลา ซึ่งทำหน้าที่เป็นหลักคอยช่วยพยุงร่างกายเราให้เกิดสมดุล ตั้งแต่สะโพก หลัง ไล่ไปจนถึงไหล่ และช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ใกล้เคียงกัน

****การฝึกยกตัวในท่านั่ง push up in sitting

  • ผู้ป่วยนั่งเหยียดขา วางมือราบบนพื้นหรือกำหมัดข้างข้อสะโพก

  • กดมือลงบนพื้น เหยียดข้อศอก และยกตัวขึ้นจากพื้นโดยไม่ยักไหล่ค้างไว้สักครู่

  • ค่อยๆงอข้อศอกกลับสู่ท่านั่งบนเตียง

  • ขณะยกผู้ป่วยควรโน้มตัวไปด้านหน้าเพื่อให้จุดศูนย์รวมมวลในร่างกาย (ฺBody centar of mass ) ตกอยู่ใฐานรองรับของร่างกายซึ่งจะช่วยป้องกันผู้ป่วยล้มไปด้านหลังและช่วยให้ผู้ป่วยยกตัวได้สูงขึ้น


  • สำหรับผู้ป่วยที่แขนสั้น อาจวางมือบนกล่องไม้ ถุงทราย หรือ push up block เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อเหยียดศอก Triceps ทำงานได้ดีขึ้น

  • ผู้ป่วยที่ทรงตัวไม่ดีควรวางมือเยื้องไปด้านหน้าต่อข้อสะโพกเล็กน้อย

การเลือกรถเข็น(Wheel chair)ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

  1. ที่รองนั่ง(Seat)

1.1 ความกว้าง ควรมีที่ว่างด้านข้างประมาณ 1 -3 ซม. หรือสามารถนำมือสอดไปด้านข้างระหว่างต้นขาของผู้ป่วยกับที่วางแขนได้

1.2 ความลึก เมื่อนั่งหลังพิงพนังแล้วควรมีช่องว่างใต้ข้อพับเข่าประมาณ 5 ซม. หรืสามารถสอดนิ้วมือเข้าไปใต้เข่าประมาณ 2 นิ้ว

1.3 ความสูง ต้องสามารถหยิบของที่พื้นได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความบกพร่องในการทรงตัวหรือมีข้อติดที่สะโพกอาจไม่สามารถทำทักษะนี้ได้

  1. พนักพิง (ฺBackrest)

2.1 ความกว้าง เท่ากับความกว้างของไหล่ผู้ป่วย + 2 ซม. (ในกรณีรถเข็นแบบช่วยเหลือตนเอง)

2.2 ความสูง

- ระดับกลางของสะบักผู้ป่วย (กรณีมีความบกพร่องในการทรงตัว) หรือระดับใต้สะบัก (ในกรณีสามารถทรงตัวได้ดี)

- ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมศรีษะและลำคอได้ ควรพิจารณารถเข็นที่มีพนักพิสูงและสามารถรองรับบริเวณหลัง ลำคอ และศรีษะได้ หรือเพิ่มอุปกรณ์เสริม เช่น อุปกรณ์ประคองศรีษะ สายรัดตัว เป็นต้น

2.3 มุม ในท่าปกติ พนักพิงควรทำมุม 90-95 องศากับที่รองนั่ง

  1. ที่พักเท้า (Footrest) ความสูงจากพื้นประมาณ 5 ซม. เมื่อนั่งแล้วสามารถวางเท้าบนที่วางเท้าได้พอดี โดยเข่าไม่ชันหรือตรวจสอบโดยใช้มือสอดใต้เข่า หากมีช่องว่างระหว่างต้นขาของผู้ป่วยกับที่รองนั่ง แสดงว่าที่วางเท้าอยู่สูงเกินไป หรือเข่าชัน ซึ่งภาวะนี้ทำให้มีแรงกดทับบริเวณก้นกบ (Coccyx) และ Ischial tuberosity มากเกินไป อาจนำไปสู่แผลกดทับได้

  2. ที่พักแขน (Armrst) สามารถวางแขนในท่าผ่อนคลายไหล่ไม่ยก ที่พักแขนจะมีแบบที่ถอดได้ (Removable armrest ) ซึ่งผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายด้านข้างได้ (Laterl transfer)

เบาะรองนั่ง (Cushion)

ใช้เพื่อป้องกันแผลกดทับ โดยเบาะรองนั่งที่ดีจะช่วยกระจายแรงกดของร่างกายไม่ให้มีแรงกดไปบริเวณใดบริเวณหนึ่งมากเกินไปซึ่งส่งผลให้เกิดแผลกดทับ ที่พบบ่อยได้เเก่บริเวณกระดูกข้างสะโพก (Greater trochanter) ก้นกบ (Coccyx) และก้นย้อย (Ischial tuberosity) เป็นต้น นอกจากนั้นเบาะรองนั่งยังช่วยเสริมท่าทางที่ดี เพิ่มความรู้สึกสบายและความทนทานในการนั่ง

เบาะที่ใช้โดยที่วไปมีหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติข้อดี ข้อด้อย และราคาแตกต่างกันไป เช่น เบาะรองนั่งจากโพรี่ยูรีเทน (Polyurethane foam cushion) เบาะเจล (gel cushion) เบาะลม (Air cushion) เบาะน้ำ (Water cushion) เบาะขึ้นรูป (Sculpted base cushion)

ท่าทางการนั่งที่ดี ********

  • ศีรษะตั้งตรงอยู่ในแนวกึ่งกลางลำตัว

  • ไหล่อยู่ในท่าผ่อนคลาย แขนและมือปล่อยตามสบาย แผ่นหลังตั้งตรงในแนวปกติ

  • เชิงกรานอยู่ในแนวตั้ง

  • ข้อสะโพกข้อเข่าและข้อเท้าอยู่ในท่างอ 90 องศา

การเลือกรเข็นที่เหมาะสม

รถเข็นมาตรฐาน (Standard wheelchair) เป็นรถเข็นนั่งที่นิยมใช้กับผู้ป่วยหรือผู้พิการตามสถานที่ต่างๆค่อนข้างมีความมั่นคงและป้องกันการหงายหลังได้ดี มักใช้ในผู้ป่วยที่มีการทรงตัวยังไม่ไม่ดีพอ แต่อาจต้องใช้แรงแขนค่อนข้างมากในการเข็น หรืออาจให้ผู้อื่นช่วยเข็นแทน

การฝึกทรงตัวบนรถเข็น (Wheel chair)

การฝึกยกตัวบนรถเข็น (Wheel chair)

ฝึกการทรงตัวในท่านั่ง

  • ผู้ป่วยนั่งกอดอก พยายามคุมลำตัวนิ่งๆไม่ให้เอียงหรือล้ม

  • นักกายภาพบำบัดโยกลำตัวผู้ป่วยไปในทิศทางต่างๆ เช่น หน้า หลัง ซ้าย และขวา แล้วให้ผู้ป่วยพยายามดึงลำตัวกลับสู่ท่าตั้งตรง

  • ผู้ป่วยเกร็งลำตัวต้านต่อแรงจากนักกายภาพบำบัดในทิศทางต่างๆ เช่น หน้า หลัง ซ้าย ขวา และการบิดหมุนลำตัว

  • ผู้ป่วยพยายามควบคุมลำตัวขณะเลื่อนไหวแขนในทิศทางต่างๆเช่น ยื่นแขนไปทางด้านหน้า กางแขนออกด้านข้าง ชูแขนขึ้นด้านบน รวมถึงปรบมือทางด้านหน้า ด้านบน และรับส่งหมอนหรือลูกบอลจากทิศทางต่างๆ เป็นต้น

-การฝึกการทรงตัวในท่านั่งเหยียดขาบนเตียง เพื่อเพิ่มการทรงตัวขณะนั่งให้กับผู้ป่วยแบบอยู่กับที่

-การฝึกการทรงตัวในท่านั่งห้อยขาข้างเตียง เพื่อเพิ่มการทรงตัวขณะนั่งให้กับผู้ป่วยแบบมีแรงต้าน

การฝึกยืนบน standing frame

ประโยชน์ของการยืนสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง

1) ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจ การหายใจและหลอดเลือด ป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อภาวะความดันเลือดตกขณะเปลี่ยนท่าทางได้

2) ช่วยในการลงน้ำหนักของขาทั้ง 2 ข้าง สามารถป้องกันหรือชะลอภาวะกระดูกบาง หรือลดอาการเกร็งของผู้ป่วยได้

3) กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และอวัยวะภายในจึงช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้

4) ช่วยระบายปัสสาวะที่คั้งค้างในกระเพาะปัสสาวะได้ จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อและการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้

5) ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อจึงสามารถป้องกันการหดสั้นของกล้ามเนื้อน่องได้

6) ช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึกผ่านแรงกดที่ข้อต่างๆของร่างกาย

การชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาท

ป้องกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อแขน

ป้องกันการฝ่อลีบกล้ามเนื้อขา

การดูแลตนเอง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ภาวะความดันโลหิตตก ขณะเปลี่ยนท่าทาง


ภาวะระบบประสาทออโตโนมิคผิดปกติ (เอดี)


การควบคุมอุณหภูมิกายบกพร่อง


  • อาการปวดเรื้องรังจากระบบประสาทที่ผิดปกติ

  • การยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่และหลังบนรถนั่งคนพิการ เพื่อป้องกันอาการปวดไหล่และหลัง