กายภาพบำบัดผู้ป่วย

บาดเจ็บไขสันหลัง C6

เป้าหมายความสามารถสูงสุด

สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เหมือน C5 เพิ่มการกระดกข้อมือได้

ลักษณะผู้ป่วย

  • สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น แปรงฟัน ทำความสะอาดช่วงบนร่างกาย และใส่เสื้อได้ดีขึ้นยังต้องช่วยทำความสะอาด และใส่กางเกง

  • สามารถพอย้ายตัวเองได้ ถ้าได้ฝึกและมีแผ่นไม้รองช่วยย้ายตัว บางคนสามารถขยับตัวเพื่อลดโอกาสเกิดแผลกดทับ เวลานั่งได้

  • สามารถเข็นรถเข็นได้ในระยะสั้นโดยมีการปรับวงล้อรถเข็น

การกายภาพบำบัดสำหรับผู้บาดเจ็บไขสันหลังระดับ C6

- การออกกำลังกายแบบทำให้ (Passive exercise)

ประโยชน์

  1. ป้องกันการยึดติดของข้อต่อ

  2. ลดภาวะหดรั้งของกล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นข้อต่อ

  3. ช่วยคงสภาพความยืดหยุ่นของกล้ามเยื้อ

  4. ช่วยส่งเสริมและคงสภาพการไหลเวียนโลหิตบริเวณข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหว

  5. ช่วยส่งเสริมการรับความรู้สึกบริเวณข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหว

  6. ช่วยลดอาการปวดได้

- การจัดท่าเพื่อลดการเกิดแผลกดทับ

สังเกตอาการ

  • หากเกิดรอยแดงที่บริเวณผิวหนังรอยดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนกลับเป็นสีเดิมของผิวปกติแม้ว่าจะไม่มีอาการแผลกดทับแล้วก็ตามนี่เป็นอาการเริ่มต้นของแผลกดทับ

  • มีรอยแตกของผิวหนังและสามารถขยายเป็นแผลกว้างและขยายใหญ่ขึ้นลามลึกถึงไขมันไปยังเนื้อเยื่อขยายตัวไปยังกล้ามเนื้อและกระดูก

  • บางครั้งอาจมีขนาดเล็กเมื่อมองภายนอก แต่ภายในแผลอาจจะมีขนาดใหญ่ดังนั้นเมื่อพบว่าเกิดรอยแตกหรืออาการดังกล่าวบริเวณผิวหนังของผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที


-เทคนิคการเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยเพื่อไม่ให้ญาติและผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บขณะเคลื่อนย้าย

- เตียงมารถเข็น

-การฝึกหายใจ

ผลกระทบต่อการหายใจของการบาดเจ็บไขสันหลัง ระดับ >>C6 (accessory cranial nerve) <<

กล้ามเนื้อเสริมหายใจ (accessory muscle) ทาหน้าที่ค้ำจุน ทรวงอก ช่วยให้ทรวงอกขยายตัวเป็นปกติ เมื่อต้องหายใจแรงหรือลึกๆ

เทคนิคการฝึกการหายใจ ประกอบด้วย

1.การควบคุมการหายใจ (Breathing control : BC)

2.การหายใจออกแบบห่อปาก (Pursed lip breathing : PLB)

3.การหายใจใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing exercise)

วัตถุประสงค์

1. ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

2. ส่งเสริมการระบายเสมหะ

3. เพิ่มการระบายอากาศ

4. เพิ่มความจุปอด

5. คงและเพิ่มการขยายตัวของทรวงอก

6. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ

ฝึกการไอเพื่อป้องกันการคั่งค้างของเสมหะ

กรณีมีเสมหะญาติควรทำการเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะ

การบริหารข้อไหล่ในท่านอนตะแคงบนเตียงแขวนพยุง

Suspension system คืออะไร

เป็นการออกกําลังที่ใช้การแขวนพยุงส่วนต่างๆของร่างกายที่ออกกําลังหรือเคลื่อนไหวด้วยสลิงที่เกี่ยวไว้กับเชือกที่ปรับความยาวได้ที่เรียกรวมว่า suspension unit วิธีการนี้ใช้เพื่อปล่อยให้ส่วนที่จะเคลื่อนไหวนั้นเป็นอิสระจากแรงต้านต่อแรงเสียดทาน รวมถึงการเคลื่อนไหวที่มีแรงโน้มถ่วงต้านการเคลื่อนไหว

ประโยชน์

  • ผู้ป่วยสามารถทําการเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อในการออกกําลังกายได้อย่างเหมาะสม

การยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่และหลัง

ประโยนช์

  • ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อลด เพิ่มความยืดหยุ่นที่ดีขึ้น

  • ป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติ

  • ทำให้ความสัมพันธ์ของระบบประสาทกล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น

  • มีความคล่องแคล่วในการทำงาน

  • เพิ่มมุมการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

  • กระตุ้นให้ระบบกล้ามเนื้อที่จะใช้งานมีการเตรียมพร้อมที่ดี


หากพบว่า อาการเกร็งเป็นมากขึ้นกว่าเดิม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุกระตุ้น เช่น ภาวะติดเชื้อ มีโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ภายใน เป็นต้น

กิจกรรมฝึกทักษะการใช้มือในการหยิบจับสิ่งของ

ประโยชน์

  • เพิ่มความสามารถในการหยิบจับสิ่งของที่มีรูปร่างและขนาดที่ต่างกัน

  • เพิ่มความแม่นยำและความคล่องแคล่วในการหยิบของชิ้นเล็ก

  • เพิ่มความสามารถในการจัดการสิ่งของในมือ

  • เพิ่มแรงบีบของมือและนิ้วมือประโยชน์ของการออกกำลังมือ

ารนวดท้องเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย

ภาวะท้องผูกเกิดจากหลายสาเหตุปัจจัย ที่พบบ่อยคือเกิดจากลำไส้เคลื่อนตัวช้ากว่าปกติหรือบีบตัวลดลง ท้ังนี้มีผลมาจากขาดการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล เป็นต้น ซึ่งภาวะท้องผูกดังกล่าว สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง (spinal cord injury) และ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

การเลือกรถเข็น(Wheel chair)ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

  1. ที่รองนั่ง(Seat)

1.1 ความกว้าง ควรมีที่ว่างด้านข้างประมาณ 1 -3 ซม. หรือสามารถนำมือสอดไปด้านข้างระหว่างต้นขาของผู้ป่วยกับที่วางแขนได้

1.2 ความลึก เมื่อนั่งหลังพิงพนังแล้วควรมีช่องว่างใต้ข้อพับเข่าประมาณ 5 ซม. หรืสามารถสอดนิ้วมือเข้าไปใต้เข่าประมาณ 2 นิ้ว

1.3 ความสูง ต้องสามารถหยิบของที่พื้นได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความบกพร่องในการทรงตัวหรือมีข้อติดที่สะโพกอาจไม่สามารถทำทักษะนี้ได้

  1. พนักพิง (ฺBackrest)

2.1 ความกว้าง เท่ากับความกว้างของไหล่ผู้ป่วย + 2 ซม. (ในกรณีรถเข็นแบบช่วยเหลือตนเอง)

2.2 ความสูง

- ระดับกลางของสะบักผู้ป่วย (กรณีมีความบกพร่องในการทรงตัว) หรือระดับใต้สะบัก (ในกรณีสามารถทรงตัวได้ดี)

- ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมศรีษะและลำคอได้ ควรพิจารณารถเข็นที่มีพนักพิสูงและสามารถรองรับบริเวณหลัง ลำคอ และศรีษะได้ หรือเพิ่มอุปกรณ์เสริม เช่น อุปกรณ์ประคองศรีษะ สายรัดตัว เป็นต้น

2.3 มุม ในท่าปกติ พนักพิงควรทำมุม 90-95 องศากับที่รองนั่ง

  1. ที่พักเท้า (Footrest) ความสูงจากพื้นประมาณ 5 ซม. เมื่อนั่งแล้วสามารถวางเท้าบนที่วางเท้าได้พอดี โดยเข่าไม่ชันหรือตรวจสอบโดยใช้มือสอดใต้เข่า หากมีช่องว่างระหว่างต้นขาของผู้ป่วยกับที่รองนั่ง แสดงว่าที่วางเท้าอยู่สูงเกินไป หรือเข่าชัน ซึ่งภาวะนี้ทำให้มีแรงกดทับบริเวณก้นกบ (Coccyx) และ Ischial tuberosity มากเกินไป อาจนำไปสู่แผลกดทับได้

  2. ที่พักแขน (Armrst) สามารถวางแขนในท่าผ่อนคลายไหล่ไม่ยก ที่พักแขนจะมีแบบที่ถอดได้ (Removable armrest ) ซึ่งผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายด้านข้างได้ (Laterl transfer)

เบาะรองนั่ง (Cushion)

ใช้เพื่อป้องกันแผลกดทับ โดยเบาะรองนั่งที่ดีจะช่วยกระจายแรงกดของร่างกายไม่ให้มีแรงกดไปบริเวณใดบริเวณหนึ่งมากเกินไปซึ่งส่งผลให้เกิดแผลกดทับ ที่พบบ่อยได้เเก่บริเวณกระดูกข้างสะโพก (Greater trochanter) ก้นกบ (Coccyx) และก้นย้อย (Ischial tuberosity) เป็นต้น นอกจากนั้นเบาะรองนั่งยังช่วยเสริมท่าทางที่ดี เพิ่มความรู้สึกสบายและความทนทานในการนั่ง

เบาะที่ใช้โดยที่วไปมีหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติข้อดี ข้อด้อย และราคาแตกต่างกันไป เช่น เบาะรองนั่งจากโพรี่ยูรีเทน (Polyurethane foam cushion) เบาะเจล (gel cushion) เบาะลม (Air cushion) เบาะน้ำ (Water cushion) เบาะขึ้นรูป (Sculpted base cushion)

การเลือกรเข็นที่เหมาะสม

รถเข็นมาตรฐาน (Standard wheelchair) เป็นรถเข็นนั่งที่นิยมใช้กับผู้ป่วยหรือผู้พิการตามสถานที่ต่างๆค่อนข้างมีความมั่นคงและป้องกันการหงายหลังได้ดี มักใช้ในผู้ป่วยที่มีการทรงตัวยังไม่ไม่ดีพอ แต่อาจต้องใช้แรงแขนค่อนข้างมากในการเข็น หรืออาจให้ผู้อื่นช่วยเข็นแทน

ท่าทางการนั่งที่ดี

  • ศีรษะตั้งตรงอยู่ในแนวกึ่งกลางลำตัว

  • ไหล่อยู่ในท่าผ่อนคลาย แขนและมือปล่อยตามสบาย แผ่นหลังตั้งตรงในแนวปกติ

  • เชิงกรานอยู่ในแนวตั้ง

  • ข้อสะโพกข้อเข่าและข้อเท้าอยู่ในท่างอ 90 องศา

การชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาท

กระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทบริเวณแข

กระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทบริเวณขา

  • การดูแลผิวหนัง ผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นหลังทำความสะอาดร่างกายควรทาโลชั่น 3-4 ครั้ง/วัน เพื่อป้องกันผิวหนังแตกแห้ง

  • ผู้ป่วยที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรทำความสะอาดทุกครั้งที่มีการขับถ่ายและซับให้แห้งอย่างเบามือ ทาวาสลีนให้หนาบริเวณผิวหนังรอบๆทวารหนัก แก้มก้นทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันผิววหนังเปียกชื้น

  • สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ควรหลีกเลี่ยงการนวดบริเวณปุ่มกระดูกโดยเฉพาะที่มีรอยแดง จะทำให้การไหลเวียนเลือดลดลง หลีกเลี้ยงจากใช้ความร้อนประคบบริเวณผิวหนังที่มีความรู้สึกน้อย ไม่ใช้สบู่กับผิวหนังที่มีรอยแดง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรใช้แรงยกไม่ใช้การลาก ไม่ควรเคลื่อนย้ายตามลำพังถ้าผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

การดูแลตนเอง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ภาวะความดันโลหิตตก ขณะเปลี่ยนท่าทาง


ภาวะระบบประสาทออโตโนมิคผิดปกติ (เอดี)


การควบคุมอุณหภูมิกายบกพร่อง


  • อาการปวดเรื้องรังจากระบบประสาทที่ผิดปกติ

  • การยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่และหลังบนรถนั่งคนพิการ เพื่อป้องกันอาการปวดไหล่และหลัง