หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และดิจิทัลชั้นนำของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคเพื่อพัฒนาการศึกษาและท้องถิ่นในรูปแบบพลิกโฉมสำหรับวิถีใหม่ในยุคดิจิทัล 

ศูนย์วิทยบริการ ฯ (ห้องสมุด)

ศูนย์คอมพิวเตอร์

ฐานข้อมูลหนังสือ งานวิจัย   ต่างประเทศ


        มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จัดทำฐานข้อมูลเอกสาร ตำรา งานวิจัย ด้านการพยาบาล สำหรับศึกษา ค้นคว้า อ้างอิงงานวิจัย โดยเข้าไปสืบค้นข้อมูลที่ OPAC: Uttaradit Rajabhat University โดยพิมพ์คำสำคัญในช่อง  Keyword  แล้ว Click  ค้นหา 

กรณี ต้องการสืบค้นตำราเกี่ยวกับการพยาบาลสาขาศัลยกรรม ของคณะพยาบาลศาสตร์ให้พิมพ์ในช่อง keyword ว่า  ศัลยกรรม แล้ว click   Location ที่ คณะพยาบาลศาสตร์ จะได้จำนวน และรายละเอียดเก่ีเบื้องต้นของตำราที่เกี่ยวข้องกับสาขาการพยาบาลศัลยกรรม  แล้วให้ click  เลือกเล่มที่สนใจศึกษารายละเอียดที่ตำราเล่มนั้น

 

 “NRIIS (National Research and Innovation Information System) ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ” จัดทำขึ้นเพื่อสร้างฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศทั้งหมดให้มีเอกภาพ มีความปลอดภัยและสิทธิ์การเข้าถึงระบบอย่างถูกต้อง ลดความซ้ำซ้อนของระบบบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ และความซ้ำซ้อนของการสนับสนุนงานวิจัยของประเทศ ตามที่ พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และมติคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) มอบหมายให้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดทำฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยจัดให้มีระบบข้อมูลสารสนเทศกลางเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติกับระบบสารสนเทศของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดยให้สำนักงานสภานโยบายการอดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีอำนาจนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ 

       ทำให้สกสว.ในฐานะหน่วยงานจัดทำแผนและจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย จะสามารถมองเห็นภาพรวม ตั้งแต่แผนงานวิจัย แผนงานย่อย และโครงการวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การออกแบบแผนและจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถตอบโจทย์ OKR (Objective and Key Results) ของระบบวิจัยได้ ซึ่งปัจจุบันสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผูู้ดูแลระบบ NRIIS และเริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา

       ระบบ NRIIS เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบใหญ่ 3 ระบบเข้าด้วยกัน คือ 1. ระบบบริหารงานวิจัยอัจฉริยะ (Thailand Intelligent Research Administration System หรือ TIRAs) 2. ระบบบริหารจัดการโครงการวิจัย (Electronic Project Management System หรือ EPMS) โดยระบบ TIRAs และระบบ EPMS จัดทำโดย สกสว. และ 3. ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System หรือ NRMS) จัดทำโดย วช. ภายใต้ความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งจะช่วยให้ สำนักงบประมาณ หน่วยบริหารจัดการโปรแกรม (PMU) ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประสานงาน และนักวิจัย สามารถเข้าถึงงานวิจัยทั้งหมดที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ ตาม link ด้านล่าง

มหาวิทยาลัยนเรศวรและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จึงได้ร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค (Regional Research Ethics Committee : RREC)  โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นสถาบันหลักของเครือข่ายเขตภาคเหนือตอนล่าง  RREC จึงเริ่มการจัดตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559-2560 โดยจะมีการต่ออายุความร่วมมือจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค ทุก ๓ ปี และได้มีการต่ออายุความร่วมมือจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มาทั้งหมด ๓ ครั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 - ปัจจุบัน และบันทึกความร่วมมือครั้งล่าสุดเราได้ขยายเวลาการต่ออายุความร่วมมือเป็นทุก 5 ปี (พ.ศ. 2564 -พ.ศ. 2568)  เพื่อให้เกิดการการพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  

     ต่อมาเมื่อ RREC เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงมีมหาวิทยาลัย และสถาบันหลายแห่งที่ต้องการเข้าร่วมเป็นเครื่อข่าย เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของสถาบันนั้น ๆ ในปัจจุบันเรามีสถาบันที่เข้าร่วมจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายที่ไม่ได้อยู่ในภูมิภาคเหนือตอนล่างเท่านั้น แต่มีสถาบันที่เข้าร่วมเครือข่ายกระจายทั่วทั้งประเทศ 

   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม  พ.ศ. 2564 มีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก "คณะกรรมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค" (Regional Research Ethics Committee : RREC) เป็น "คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่าย" (Network of Research Ethics Committee : NREC) เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานปัจจุบัน 

   โดยหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่าย (Network of Research Ethics Committee : NREC) มีหน้าที่ในการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยของข้อเสนอการวิจัยในคนที่จะดำเนินการโดยบุคลากรของสถาบันเครือข่าย ตามข้อกำหนดของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยโครงการวิจัยในมนุษย์ที่จะของบประมาณประจำปีเพื่อสนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ต้องได้รับการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ทั้งนี้การปฏิบัติหน้าที่ของ NREC ต้องเป็นไปตามมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (มคจม.) ของ วช.


ขั้นตอนการยื่นรับพิจารณาและชำระเงิน.pdf