เครือข่ายวิจัย

22 กุมภาพันธ์ 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้  วิเคราห์ Gap analysis นำกระบวนการวิจัยก้าวสู่คุณภาพการบริการและ ก้าวสู่ Smart ICU

-การพัฒนาคุณภาพการบริการผู้ป่วยวิกฤต 

-การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเอื้อต่อการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูล การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้ง่าย

-การทำ website ของหน่วยงานเพื่อก้าวสู่ Smart ICU

-ทบทวนคุณภาพการบริการ VAP, CATH,Sepsis,Phebititis การลง Productivity 


11  มกราคม 2567 ประชุมร่วมกับทีมวิจัย "การพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักระยะกลางจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับภาคีเครือข่าย จังหวัดอุตรดิตถ์"

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566



พิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทางวิชาการด้านการผลิตบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กับหน่วยงานส่วนราชการเครือข่ายความร่วมมือ จากสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำโดย รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ อธิการบดี และคณะผู้บริหาร จัดพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทางวิชาการด้านการผลิตบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กับหน่วยงานส่วนราชการเครือข่ายความร่วมมือ จากสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ สาธารณสุขจังหวัดแพร่ สาธารณสุขจังหวัดน่าน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โรรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตให้ มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมารฐานวิชาชีพพยาบาล และเป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยหลักเกณ์ การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2562 และร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอีกทั้งยังสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานราชการภายนอก กับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ณ ห้องประชุมพิชัยสงคราม ภาพ/ข่าว PR URU

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566  13.30  น. วางแผนร่วมกับ     ผู้บริหาร แพทย์และทีมฉุกเฉินของโรงพยาบาลลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

นำเสนอประเมินงานกู้ภัย.pdf
ข้อมูลภาพ.pptx

10 พฤศจิกายน 2566  เวลา 10.00 น ทีมวิจัย   "นวัตกรรมการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ และภาคีเครือข่าย"  ประชุมวางแผนบริหารจัดการโครงการวิจัยร่วมกัน

9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16.00 น.  วางแผนการทำงานบริการฉุกเฉินร่วมกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ เทศบาลหัวดง


9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.00 น.  วางแผนการทำงานบริการฉุกเฉินร่วมกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ อบต.แม่พูล

4 พฤศจิกายน 2566  13.00-14.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ดูแล (Care giver) ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์  เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลสูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลในชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี  เป็น          จิตอาสา มีใจที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น ต้องการยกระดับสมรรถนะของผู้ดูแล การสนับสนุนอุปกรณ์ในการทำงาน ทบทวนกิจกรรมการดูแลที่ซับซ้อน เช่น ดูแลให้อาการทางสายยาง  ผู้ป่วยเจาะคอ ดูแลสายสวนปัสสาวะ   มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ ได้ 

4 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ศึกษาตำรับยาที่เป็นผลผลิตว่านม้าเหลืองกับเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ปราชญ์ด้านสมุนไพร

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ และเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

2 พฤศจิกายน 2566  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ ที่ปรึกษางานวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะในการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟุและดุแลผู้อายุของมหาวิทยลัยราชภัฏอุตรดิตถ์   ตามหนังสือเชิญเลขที่  อว 0614/3869

เครือข่ายการวิจัย "พหุสถาบัน"

โครงการวิจัยเรื่อง   “การระบุสารระเหยง่ายบ่งชี้และพัฒนาเครื่องตรวจวัดภาวะทางจิตจากเหงื่อแบบพกพาสำหรับคัดกรองโรคทางสุขภาพจิต: การศึกษาพหุสถาบัน”  ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ  อาจารย์พญ.ภัทราวลัย สิรินารา ฝ่ายเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  ทำวิจัยร่วมกับเครือข่ายจากหลายสถาบัน รวมทั้งโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยรราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยดำเนินการรวมรวมข้อมูลกับพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา  โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช   โรงพยาบาลบุรีรัมย์  และโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ซึ่งโรงพยาบาลอุตรดิตถ์มีกำหนดการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม พ.ศ.2566

สรุปการดำเนินโครงการวิจัย 25-27 ตุลาคม 2566

วิจัยเหงื่อ (2).pdf

โครงการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงด้านการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย   วันที่  25-27  กันยายน 2566

เครือข่าย รพสต. ขุนฝาง 

เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุระดับจังหวัด

เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยกับคณะอื่นๆ   เป็นการวิจัยข้ามศาสตร์

ประชุมร่วมกับเครือข่ายในชุมชนตำบลหาดกรวด

 Application มูลนิธิอุตรดิตถ์สงเคราะห์

จัดทำ application รวบรวมฐานข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีรายชื่อ เบอร์โทรติดต่อที่สะดวกและรวดเร็ว ประวัติการฝึกอบรมของบุคลากร ทะเบียนเครื่องมือ อุปกรณ์ของมูลนิธิอุตรดิตถ์สงเคราะห์ ทำให้ง่ายต่อการสื่อสาร การตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ 

12 ธันวาคม 2565 วิจัยร่วมกับคณะวิทยาการจัดการและเครือข่ายรัฐวิสหกิจชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลไชยสถาน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน "ชาไมยราบ"