การทอเสื่อกก

การทอเสื่อกก

ต้นกกเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งหลายคนมักมองว่าต้นกกเป็นวัชพืชที่ไม่มีประโยชน์ใดๆเลย เป็นสิ่งที่ไม่จริงเลย เนื่องจากต้นกกมีประโยชน์และสรรพคุณมาก ต้นกกเป็นวัชพืชที่มีสายพันธุ์หรือชนิดของต้นกกมากกว่า 4,000 ชนิดกระจายอยู่ทั่วโลก โดยต้นกกชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่มีน้ำขังท่วมอยู่ จึงชอบขึ้นในพื้นที่บ่อ บึง ทางระบายน้ำ นาข้าว หรือพื้นที่ลุ่มน้ำ เป็นต้น ซึ่งลักษณะของต้นกกคือลำต้นมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุมถ้ามองในแนวขวาง ในบางสายพันธุ์หรือชนิดของต้นกกนั้นมีผนังกั้นคล้ายห้องแบ่งเป็นส่วนๆออกไป ดอกของต้นกกมีช่อปลายแหลมห่อหุ้มไว้แค่เพียงอันเดียวเท่านั้น มีกาบใบอยู่ชิดกัน มีดอกที่จะมีกาบย่อยๆออกมาเป็นช่อหุ้ม อีกทั้งต้นกกเลื้อยไปใต้ดินและสามารถแตกเป็นลำต้นใหม่โผล่มาเหนือดิน แต่ลำต้นไม่แตกกิ่งแบบต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งใครหลายคนมักจะไม่สามารถแยกได้ระหว่างหญ้า เพราะมีลักษณะของใบคล้ายกัน แต่แตกต่างที่เรียงตัวอัดแน่นกันเป็นสามมุมและไม่มีมุมของกาบใบ

เสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีตการทอเสื่อ เป็นไปเพื่อการใช้สอยในครัวเรือน โดยท้องถิ่นใดมีต้นกกก็ทอเสื่อกก ท้องถิ่นใดมีต้นกระจูดก็ทอเสื่อกระจูด เสื่อในอดีตเป็นของใช้ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับปูนั่งหรือนอน จนถึงกับมีคำกล่าวว่า บ้านใดไม่มีเสื่อใช้ ถือว่า พ่อ แม่ ลูก เกียจคร้านไม่มีฝีมือ ส่วนในด้านการอนุรักษ์และถ่ายทอด ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากแนวนโยบายของรัฐบาล ทำให้ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาของท้องถิ่น