วัดพุทธนิมิตร (ภูค่าว)

ตามตำนานกล่าว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๕ พระเจ้าศรีโคตรบูรณ์กษัตริย์ขอม ต่อยอดพระธาตุพนมสำเร็จ จะประกอบพิธีสมโภชฉลองจึงแจ้งข่าวแก่ขอมทั่วไปให้มาร่วมฉลองครั้งนี้ ฝ่ายขอมทางเขมรต่ำ มีนายสาเป็นหัวหน้าพากันรวบรวมทรัพย์สมบัติ และผู้คนเดินทางมาเพื่อร่วมการกุศล พอมาถึงบ่อคำม่วง (ห่างจากถ้ำภูค่าวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๙ เส้นก็พากันหยุดพักและทราบข่าวว่า การสมโภชพระธาตุพนมเสร็จสิ้นเสียแล้ว นายสาจึงปรึกษาพรรคพวกแล้วตกลงกันว่า ให้ฝังสมบัติที่พากันนำมาไว้ที่ภูค่าว และสลักรูปพระโมคคัลลานะไว้ที่ถ้ำแห่งนี้ แล้วตั้งปริศนาไว้ว่า”พระหลงหมุ่อยู่ภูถ้ำบก แสงตาตกมีเงินเป็นแสน ไผหาได้กินทานหาแหน่ เหลือจากนั้นกินเลี้ยงบ่อหลอ”

ประวัติความเป็นมา

ภูค่าว เป็นชื่อ เรียกกันมาแต่สมัยโบราณ ตามความสันนิษฐานว่า เรียกตามรูปลักษณะของภู เพราะมีลักษณะคล้ายๆ คู หรือ คร่าว (ค่าว) (ปทานุกรม คร่าว (ค่าว) เป็นชื่อไม้ที่ตั้งไว้กับเสาสำหรับรับน้ำหนักมุงหลังคา)

ภูเขาลูกนี้ ทิศใต้มีถ้ำอันเป็นที่ประดิษฐานรูปองค์พระอรหันต์ขีณาสพ พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า ไสยาสน์ตะแคงซ้ายหันเศียรไปทางทิศอาคเนย์ ซึ่งแกะสลักบนแผ่นหินขนาด ยาว ๖ ศอก องค์พระมีความยาว ๔ ศอก กว้าง ๕๐ ซม.

นอกจากนั้นมีถ้ำไสยาสน์ แล้วยังมีวัดภูค่าว หรือ วัดพุทธนิมิตร ตั้งอยู่ เนื้อที่ ๗๕ ไร่ มีโบสถ์ไม้สวยงามมาก

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะภูลูกนี้ ไม่สูง ไม่ยาวเท่าใดนัก ทางทิศใต้เป็นหินภูเขาสูงประมาณ ๒ เส้น เป็นแนวยาวไปตามทิศตะวันออก-ตะวันตก ยาวประมาณ ๒๐ เส้น ด้านทิศเหนือเป็นดินเนินสูงขึ้นมาประกอบกันเป็นไหล่เขา

หลักฐานที่พบ

พระไสยาสน์แกะสลักบนแผ่นหิน

แผนที่ วัดพุทธนิมิตร (ภูค่าว)