ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

นายพัด เด่นดอกไม้ เกษตรกรต้นแบบ

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชื่อผลงาน เกษตรกรต้นแบบ นายพัด เด่นดอกไม้

ที่มาและความสำคัญ

นายพัด เด่นดอกไม้ เป็นเกษตรกรต้นแบบ ที่มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและเอื้อเฟื้อสถานที่ ของตนเอง ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอแม่สะเรียง และเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้บริการแก่ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง และพื้นที่ใกล้เคียง ที่สนใจได้มาศึกษาหาความรู้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9ในเรื่องการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๗ และมาตรา ๘ ที่มุ่งให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนและสังคมที่ให้ความรู้ภูมิปัญญาเป็นฐานในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยมีสาระที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน

สถานที่ดำเนินงาน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สถานที่ตั้ง

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หมู่ที่ 8 ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

มีจิตอาสา ในการบริหารจัดการเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้บริการแก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง และพื้นที่ใกล้เคียง โดยให้บริการสถานที่เป็นศูนย์เรียนรู้หลักปรัญาเศรษฐกิจพอเพียง

การเปิดให้บริการ ตั้งแต่วันจันทร์ - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น.- ๑๗.๐๐ น.

โดย นายพัด เด่นดอกไม้ เป็นปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เป็นผู้ให้บริการด้านสถานที่ และเป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้ที่สนใจได้มาศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการเกษตรแบบผสมผสาน

หน่วยงานเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนและร่วมจัดกิจกรรม

1.เกษตรอำเภอแม่สะเรียง

๒.สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

๓.ชลประทานแม่สะเรียง

๔.ชลประทานแม่ฮ่องสอน

๕.ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ

๖.สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง

๗.สำนักงานประมงจังหวัดแม่ฮ่องสอน

๘.ปศุสัตว์อำเภอแม่สะเรียง

9.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่สะเรียง

10.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้ใช้บริการ

นักเรียน นักศึกษา ประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง หรือในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน นอกจากนี้ประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในการฝึกอบรม ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่มาศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับตนเอง และครอบครัว สังคมต่อไปได้

๒.สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

๓.เกิดทักษะความรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคฝึกปฏิบัติ เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย

ปัญหา/อุปสรรคที่ควรพัฒนา

- ไม่มีประวัติความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ข้อเสนอแนะการพัฒนาต่อไป

- ควรส่งเสริมและจัดทำประวัติความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร