แหล่งเรียนรู้ชุมชน

บ้านหนังสือชุมชนบ้านนจอมแจ้ง


บ้านหนังสือชุมชนบ้านนจอมแจ้ง

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ที่ตั้ง 9/2 หมู่ 1 ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

1.2 ชื่อ-สกุล นางพิมพ์ทอง ปัญญา วันเดือนปีเกิด 19 กรกฎาคม 2505 เจ้าของ/บ้านหนังสือชุมชน อายุ 58 ปี อาชีพ รับจ้าง อยู่บ้านเลขที่ 9/2 หมู่ 1 ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ 58110 โทรศัพท์ 089 – 8847126 วุฒิการศึกษา ป.4

2. ลักษณะกายภาพ

2.1 บริเวณที่ตั้งของบ้านหนังสือชุมชน

ที่ตั้งของบ้านหนังสือชุมชน เดิมเป็นศาลาเอนกประสงค์หมู่บ้านจอมแจ้ง หมู่ที่ 1 ได้รับการอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่บ้านใช้สถานที่แห่งนี้ จัดตั้งเป็นกลุ่มนวดแผนโบราณ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันติดปาก ว่า บ้านนวดแผนโบราณ นั้น มีลักษณะเป็นศาลาไม้ชั้นเดียว ไม้ปูพื้น หลังคามุงกระเบื้อง เปิดโล่งเพื่อให้มีแสงสว่างที่เพียงพอและลมพัดผ่านตลอด ในตัวศาลาด้านในมีการทำผนังกระจกใสกั้นระหว่างห้องแอร์และห้องพัดลม ลักษณะเหมือนมองเข้าไปในกระจก บริเวณด้านหลังมีห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิงไว้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการ ภายในตัวศาลาไม่ร้อนเกินไป มีชั้นวางหนังสือที่ได้รับบริจาคจากชุมชน มีหนังสือมากมายหลากหลายสาระ ที่ได้รับบริจาคจากแหล่งต่าง ๆ เช่น หนังสือจากการให้นักศึกษากศน.บริจาคโดยผ่านการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต หนังสือหมุนเวียนจากห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอแม่สะเรียง หนังสือที่ชาวบ้านบริจาคผ่านโครงการบรรณสัญจรเป็นต้นและบ้านหนังสือชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งพบปะพูดคุยระหว่างใหญ่บ้านและชาวบ้านบริเวณนั้นอยู่เสมอ ๆ เพราะในพื้นที่ มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทำสวน ดังนั้นทำสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพบริเวณบ้านหนังสือชุมชนมีความเหมาะสม ร่มรื่นเหมือนมีต้นไม้และสวนหย่อมเล็กๆปกคลุมโดยรอบ มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้ ส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคลที่มาใช้บริการที่ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ และยังสะท้อนสภาพชุมชนชนบท ที่ใครมาแวะถึงเรือนชาน เจ้าบ้านก็ต้อนรับขับสู้ เป็นอย่างดี

สภาพทั่วไปของบ้านหนังสือ

เป็นบ้านที่อยู่อาศัยและให้บริการการนวดแผนโบราณ ที่มีการจัดมุมหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น ที่จัดไว้อย่างเป็นสัดส่วน สะอาด เป็นระเบียบ สวยงาม อยู่บริเวณหน้าบ้าน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และสะดวกในการให้บริการ

ข้อดีของบ้านนี้คือ มีทิวทัศน์สวยงาม และบรรยากาศที่ร่มรื่นเหมาะแก่อ่านหนังสือและการบริการต่างๆ มีหนังสือและการบริการที่หลากหลาย มีโต๊ะเก้าอี้ให้บริการอย่างเหมาะสม เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00 น. - 19.00 น. อีกทั้งเป็นแหล่งชุมชนคนในชุมชนเห็นความสำคัญ ช่วยกันดูแล ประชาสัมพันธ์งานต่างๆ

อาสาสมัครผู้ดูแลเป็นประธานบ้านนวดแผนโบราณประจำหมู่บ้าน จึงเป็นสถานที่ทำกิจกรรม ของคนในหมู่บ้านและเป็นสถานที่พบกลุ่มย่อย ซึ่งส่วนมากจะเป็นประชาชนชนทั่วไปในวัยทำงานและผู้สูงอายุ

2.2 ความสะดวกต่อการใช้บริการ เข้าใช้ได้ง่าย

มีความสะดวกต่อการใช้บริการของประชาชน ประชาชนสามารถเข้าใช้ได้ง่าย ซึ่งวัตถุประสงค์ของบ้านหนังสือชุมชน เน้นกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มเป้าหมายที่เรียนอยู่ในระบบการศึกษา เช่น เยาวชน นักเรียน นักศึกษา สามารถมาใช้บริการในสถานที่เอื้ออำนวยในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้เรียนอยู่ในระบบการศึกษา เช่น เกษตรกร ประชาชนที่อยู่ในชนบท ที่ยังไม่มีแหล่งความรู้ ไม่มีแหล่งการอ่าน ไม่มีหนังสือดี ๆ ให้อ่าน ซึ่งบ้านหนังสือชุมชน จะส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือ ทำให้ประชาชนจะเข้าถึงการอ่าน ด้วยความสะดวก และเท่าเทียมกัน มีหนังสือที่มีคุณภาพให้ประชาชนอ่าน จะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับประชาชน และผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร จึงเน้นการส่งเสริมให้มีการสร้างบ้านหนังสือชุมชนให้ตั้งอยู่ศูนย์กลางของหมู่บ้านที่มีคนมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งบ้านหนังสือชุมชนบ้านจอมแจ้ง มีบริเวณที่ตั้งอยู่เป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้านที่มีคนมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลายรูปแบบ มีการจัดอาชีพตามความสนใจให้กับประชาชนในพื้นที่ และสะดวกต่อการมาใช้บริการเข้าใช้ได้ง่ายมีการให้บริการการอ่าน บริการยืม-คืน หนังสือ การหมุนเวียนสื่อทำให้ประชาชนมีโอกาสได้อ่านหนังสือ มากขึ้น

2.3 มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีที่นั่งเพียงพอ

บ้านหนังสือชุมชน บ้านจอมแจ้ง มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้มารับบริการบ้านหนังสือชุมชนอย่างเพียงพอทั้งเก้าอี้ โต๊ะอ่านหนังสือ ในบ้านหนังสือชุมชน และบริเวณศาลาที่พัก รวมทั้งทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น เพื่อให้ผู้มารับบริการได้หาความรู้ พบปะ พูดคุยในด้านข่าวสารต่าง ๆ ที่บ้านของท่านอย่างเป็นกันเอง เรียบง่าย

3. การบริหารจัดการ

3.1 มีผู้ดูแลและให้บริการ

ด้านการบริหารจัดการโครงการบ้านหนังสือชุมชนนี้ นางพิมพ์ทอง ปัญญาหรือ ป้าทมเป็นอาสาสมัครดูแลบ้านหนังสือชุมชนเป็นแกนหลัก โดยมีอาสาสมัครบ้านหนังสือชุมชนที่คอยหมุนเวียนกันเข้าไปช่วยเหลือด้านการให้บริการ ด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เสมอ ๆ เพราะบ้านหนังสือชุมชนบ้านจอมแจ้ง อยู่บนพื้นฐานในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน คือ ไม่ต้องมีงบประมาณสร้างอาคารสถานที่ แต่เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชน ทั้งสถานที่ และบุคลากร โดยทาง กศน.จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้ กศน.อำเภอแม่สะเรียง ดูแลและรับผิดชอบบ้านหนังสือชุมชนในเขตอำเภอของตนเอง โดยมอบให้ กศน.ตำบล ทำหน้าที่ดูแล และประสานงาน ให้บ้านหนังสือชุมชนมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยครูกศน.ตำบล จะประสานงานกับอาสาสมัครในหมู่บ้านลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมให้เยาวชนและประชานชนในพื้นที่มีนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมส่งเสริมการอ่านต่าง ๆ ที่ กศน.จัดขึ้น เช่น มีการประกวดการอ่าน การเขียน และการเล่าเรื่อง โดย ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ กศน.อำเภอแม่สะเรียง เป็นศูนย์กลางในการหมุนเวียนหนังสือ ไปยังบ้านหนังสือชุมชนแต่ละแห่ง โดย กศน.ให้ความสำคัญกับหนังสือทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิยาย อ่านนอกเวลา หนังสือธรรมะ ฯลฯ โดยจัดกิจกรรมการหมุนเวียนหนังสือในกับบ้านหนังสือชุมชน บ้านจอมแจ้ง และยังจัดกิจกรรมบรรณสัญจร โดยรับบริจาคหนังสือจากบุคคลภายนอก และเพื่อนบ้านของป้าเขียวที่มักจะนำหนังสือต่าง ๆ ที่น่าสนใจมามอบให้กับบ้านหนังสือชุมชน บ้านจอมแจ้ง และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านการรู้หนังสือ ทำให้ชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านควรได้รับ และในอนาคต กศน. คาดหวังว่าจะจัดตั้งห้องสมุดหมู่บ้านที่มีครบวงจร

3.2 ผู้ให้บริการมีจิตบริการ

งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของบ้านหนังสือชุมชน เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของบ้านหนังสือ ด้วยความที่ป้าทมเป็นบุคคลที่ใจดี มีจิตอาสา แม้อาชีพของป้าทมคือการรับจ้างนวดแผนโบราณ แต่ท่านก็อุทิศเวลาส่วนตัวเป็น อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และมีความยินดีมากตอนที่ทางครู กศน.ตำบลแม่สะเรียง ได้ไปติดต่อให้บ้านนวดแผนโบราณของท่านเป็นบ้านหนังสือชุมชน โดยป้าทมได้ช่วยจัดเตรียมสถานที่ จัดหาโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับนั่งอ่านหนังสือที่เพียงพอ มีมุมนั่งอ่าน มีมุมน้ำดื่มที่ให้บริการฟรีและแว่นตาสำหรับผู้สูงอายุเพื่ออ่านหนังสือด้วยความเต็มใจและไม่จำกัดเวลาในการเข้าใช้บริการ และมีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็ก เยาวชนผู้ปกครองและชุมชน มาใช้บริการบ้านหนังสือมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ป้าทมทำเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ การอ่าน รวมทั้งการจัดอาชีพในกับกลุ่มสนใจ และบางครั้งยังจัดนิทรรศการความรู้ที่น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ซึ่งป้าทมเป็นเจ้าของบ้านที่มีจิตอาสาเสียสละบ้านเพื่อใช้ดำเนินการในการจัดกิจกรรมของบ้านหนังสือชุมชนและยังให้บริการดูแลเอาใจใส่แก่ผู้รับบริการ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เห็นความสำคัญของการอ่านส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับผู้รับบริการอย่างเต็มที่ เมื่อท่านมีเวลามักจะจัดกิจกรรมหรือเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนมาทำกิจกรรมที่บ้านหนังสือของตนเองอยู่เสมอ

3.3 มีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

มีแนวทางการปรับปรุง พัฒนาเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืน กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการอ่านมากขึ้น โดยมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ที่มีความหลากหลาย สนุกสนาน การใช้การเล่นเกมส์ เพื่อตอบคำถามเมื่อการอ่านจบลงว่าผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องอย่างไรบ้าง การทายภาพ การเล่านิทาน ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น สนทนาเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน ทำให้ผู้รับบริการเห็นว่าปัจจุบันนี้โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เราจะมาใช้ความรู้สึกเดิมๆ ไม่ได้แล้ว ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้ชาวบ้านรู้ เข้าใจ และปรับเปลี่ยนทัศนคติ การคิดของตนเองให้สนใจการอ่านมากขึ้น ถ้าเราปลูกฝังในส่วนนี้ จะทำให้เราพัฒนาคนโดยใช้ต้นทุนต่ำ แต่มีประโยชน์มหาศาล โดยแนวทางการส่งเสริมการอ่านนี้ควรเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ปลูกฝังการอ่านให้แก่เขา เพื่อที่จะทำให้มีนิสัยรักการอ่านจนเป็นความชอบ และอ่านหนังสือทุกประเภท ซึ่งป้าทมก็ได้ช่วยรณรงค์ให้ชาวบ้านหันมาอ่านหนังสือมากขึ้นด้วย

4. สื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

4.1 มีจำนวนเพียงต่อผู้ใช้บริการ

สื่อที่ให้บริการในบ้านหนังสือชุมชนเป็นสื่อที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับประชาชนในชุมชนที่มีความหลากหลาย เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หนังสือสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ หนังสือเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ สำหรับผู้ต้องการทำอาชีพ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสื่อที่คนในชุมชนควรรู้ เช่น หนังสือกฎหมายสำหรับประชาชนหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และมีการหมุนเวียนสื่ออยู่สม่ำเสมอเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ อยู่ตลอด

4.2 ตรงตามความต้องการ

สื่อที่ให้บริการที่บ้านหนังสือเป็นสื่อที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับคนในชุมชน เพราะได้จัดทำแบบสำรวจความต้องการสื่อ ให้กับคนในชุมชนได้สำรวจความต้องการ และกศน.จัดหาสื่อที่มีความหลากหลาย เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หนังสือสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ หนังสือเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ฯลฯ มาหมุนเวียนสื่อสู่บ้านหนังสือชุมชน อยู่ตลอด

4.3 อยู่ในสภาพดี สามารถให้บริการได้

สื่อที่ให้บริการที่บ้านหนังสือต้องอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมที่จะให้บริการตลอดเวลา มีการซ่อมแซมสื่อที่ชำรุดก่อนการให้บริการ อยู่ตลอด

5. กิจกรรมและการให้บริการ

5.1 เป็นกิจกรรมที่แนะนำ กระตุ้นให้เกิดการอ่านและเรียนรู้

นอกจากการให้บริการการอ่านจากสื่อที่มีอยู่ในบ้านหนังสือชุมชนแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมการอ่านและการเรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของคนในชุมชน การสำรวจข้อมูลความต้องการสื่อ/อุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ใช้บริการแจ้งความต้องการกับผู้ให้บริการบ้านหนังสือชุมชนและมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมบ้านหนังสือชุมชน โดยผู้ใหญ่บ้านแจ้งในที่ประชุมประจำเดือนนำผลงานการจัดกิจกรรมของบ้านหนังสือ/ชิ้นงานของกลุ่มเป้าหมายที่มาใช้บริการเผยแพร่ในกับประชาชนในพื้นที่ทราบ เช่น กิจกรรมต้นไม้พูดได้ (สุภาษิตคำพังเพย) กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ การพับใบเตย การทำเหรียญโปรยทาน งานประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น

5.2 มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและเรียนรู้

มีกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามสภาพวิถีชีวิตของชุมชน จากการอ่าน และการฝึกปฏิบัติ กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ เช่น การพับใบเตย การทำเหรียญโปรยทาน งานประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้กิจกรรมส่งเสริมดูแลสุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพการจัดมุมส่งเสริมการอ่าน จัดมุมส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลาย เช่น จัดซุ้มศาลาฯ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” สนับสนุนหมุนเวียนหนังสือมาให้บริการ ตลอดจนการจัด/สนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น การเล่าเรื่องจากภาพ

6. ผลการดำเนินงาน

6.1 ความต่อเนื่องในการให้บริการของผู้รับบริการ

จุดเด่นของบ้านหนังสือชุมชนของบ้านจอมแจ้ง คือเปิดให้บริการตลอดทั้งวัน สามารถมาใช้บริการได้ตลอดเวลา มีการบริการยืม - คืนหนังสือ พบปะพูดคุย ดู มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยการนำความรู้ที่อ่านจากนิยาย วารสาร และยังมีการเรียนรู้ทำอาชีพที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภคโดยผู้มารับบริการมาฝึกทำ จัดรวมกลุ่มทำอาหาร สิ่งประดิษฐ์ เมื่อเกิดความชำนาญก็มีทำออกจำหน่ายบ้างเป็นครั้งคราว ทำให้เกิดรายได้ต่อครอบครัวด้วย

6.2 มีจำนวนผู้รับบริการเพิ่มในแต่ละช่วงเวลา

จำนวนผู้รับบริการเฉลี่ยเดือนละ 50 คน

6.3 มีเครือข่ายร่วมดำเนินการ

การดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน เกิดจากการความร่วมมือของชุมชนและเครือข่ายโดยแท้จริง โดยมี กศน. ให้การสนับสนุน ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เช่น การบริหารจัดการ การรับบริจาคสื่อ การหมุนเวียนสื่อการร่วมจัดกิจกรรม (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมให้ข้อเสนอแนะ) การระดมทรัพยากร การประชาสัมพันธ์

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของกิจกรรมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

๒.เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการในด้านต่างๆ

๒.๑ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๐๑ คน

๒.๒ ความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการมมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อส่งเสริมความรู้เดิมของตนเอง

๒.๓ การนำไปใช้ประโยชน์

การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและมีความรู้เพิ่มขึ้น

๒.๔ ความพึงพอใจ

ผู้เรียน/ผู้รับบริการร้อยละ ๗๐ มีความพึงพอใจต่อการรับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย

๓.เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

ขอบเขตของโครงการ

๑.ด้านเนื้อหา

ขอบข่ายเนื้อหา

- กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์ข่าวสารข้อมูลชุมชน

- กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์ชุมชน

- กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยในแหล่งเรียนรู้

- กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยในภูมิปัญญาท้องถิ่น

๒.ด้านระยะเวลา

ได้จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยณ กศน.ตำบลแม่สะเรียง และพื้นที่ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒

๓.ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑๐๑ คน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย

2. พัฒนาประชาชนให้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้างเจตคติให้เห็นคุณค่าของการอ่าน

3. ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านทุกตำบล

4.เพิ่มและใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

วิธีการดำเนินการ

ขั้นตอนการทำงาน มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นเตรียมการ

๑.ประชุมวางแผนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง

๒.สำรวจข้อมูลและความต้องการของผู้รับบริการ

๓.จัดทำแผนงาน กิจกรรม

ขั้นปฏิบัติงาน

๑.สำรวจแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาและจัดทำทำเนียบแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญา

๒.ส่งเสริมให้ภูมิปัญญาผู้รู้ในการเรียนรู้ของกศน.ตำบลแม่สะเรียง

๓.ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้บริการมุมหนังสือ มุมการศึกษาทางไกลผ่านไทยคม

๔.จัดบริการหนังสือพิมพ์ วารสาร สื่ออิเลคทรอนิกส์ หนังสือ

๕.จัดบริการความรู้ผ่านวิทยุชุมชนและจัดบริการความรู้ผ่านบอร์ดความรู้/แผ่นพับความรู้

ขั้นนิเทศติดตาม

ขั้นสรุป รายงานและวางแผนพัฒนาโครงการต่อไป

เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวมรวมข้อมูล เป็นสมุดบันทึกการประชุม ข้อมูลประชากรในชุมชน แผนชุมชน ซึ่งจัดเก็บข้อมูลก่อนการทำแผนปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๖๒

แหล่งข้อมูลที่ต้องการ

แหล่งเรียนรู้ในตำบลแม่สะเรียง

วิธีการเก็บข้อมูล

จัดทำเวทีชาวบ้าน ประชุมเพื่อปรึกษาหารือ บันทึกไว้เป็น หลักฐาน ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิเคราะห์ค่าร้อยละ

เกณฑ์การประเมิน

ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

ตัวชี้วัดผลผลิต (Output)

ผู้เรียน/ผู้รับบริการร้อยละ ๗๐ได้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เรียน/ผู้รับบริการร้อยละ ๗๐มีความพึงพอใจต่อการรับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย

ผลการดำเนินงาน

๑.สภาพการดำเนินงานโครงการ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถพัฒนาความเข้าใจและมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อส่งเสริมความรู้เดิมของตนเอง

๒.ผลการดำเนินงานโครงการ

๒.๑ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ๑๐๑ คน

๒.๒ ความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรตามอัธยาศัย

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมความเข้าใจและมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อส่งเสริมความรู้เดิมของตนเอง