ประเพณี วัฒนธรรม

การฟ้อนเงี้ยว

ประวัติความเป็นมา

ชาวบ้านในตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีทั้งหมด 22 หมู่บ้าน แบ่งเป็นชาวบ้านพื้นที่สูงจำนวน 6 หมู่บ้าน เป็นชาวบ้านพื้นราบจำนวน 16 หมู่บ้าน ซึ่งจะมีทั้งชนเผ่าและหลากหลายชาติพันธ์ ซึ่งในนี้จะมี เชื้อชาติที่เรียกว่า กลุ่มไทยเงี้ยว ซึ่งจะประกอบไปด้วยบ้านหลักๆจำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสันขี้เหล็ก หมู่ 6 บ้านหัวฝาย หมู่ 8 บ้านโป่ง หมู่ 10 บ้านสันกลาง หมู่ 13 บ้านใหม่พัฒนา หมู่ 14 บ้าน บ้านเหล่าพัฒนา หมู่ 22 ซึ่งแต่เดิมบรรพบุรุษได้มีการอพยพเข้ามาตั้งรากฐานในตำบลป่าแดด ซึ่งจนกำเนิดมาเป็นหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลป่าแดด ซึ่งก็จะนับถือศาสนาพุทธ มีความเป็นอยู่แบบชาวบ้านตามภาคเหนือ แต่จะแตกต่างกันตรงสำเนียงการพูด การกิน และการแต่งกาย ซึ่งการกินก็จะมีส่วนประกอบของอาหารที่แตกต่างออกไป การพูดก็จะมีสำเนียงเน่อๆ การแต่งกายก็จะเป็นผ้าพื้นเมือง ผ้าซิ่น แต่จะมีรวดรายที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยเงี้ยว รวมถึงวัฒนธรรม และประเพณี ศิลปะ ที่มีสืบทอดกันต่อๆมา ที่จะมีการแสดง หรือแต่งกายในวาระ โอกาสที่สำคัญๆเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันค่อนข้างที่จะหาดูได้ยาก เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดและอนุรักษ์ ประเพณี การแต่งกาย และศิลปะ การแสดง

จุดเด่นของศิลปะ การฟ้อนเงี้ยว

จุดเด่นของศิลปะ การฟ้อนเงี้ยวจะอยู่ที่ ท่าทางในการฟ้อนแต่ละท่า จะเป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดกันต่อๆ มา รวมถึงเพลงที่ใช้ในการฟ้อน ชุดการแต่งกายของช่างฟ้อนก็จะเป็นผ้าซิ่น เสื้อพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยเงี้ยว เพลงที่ใช้ในการประกอบการฟ้อนเงี้ยว

โดยการแต่งกายจะต้องเป็นชุดที่ทำขึ้นมาจากศิลปะ ของไทยเงี้ยวโดยจะมีการทำรวดรายที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งเสื้อ และผ้าซิ่น รวมถึงมีผ้าโพกหัว มีเครื่องประดับตกแต่งทั้งชุด มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ที่มีความงดงาม และควรมีการอนุรักษ์ ให้สืบสานต่อไป ปัจจุบันส่วนมากจะพบเห็นได้เฉพาะผู้หญิงเป็นส่วนมาก ทางด้านผู้ชายก็มีศิลปะ การแต่งตัวและการแสดง แต่ไม่สามารถพบเห็นได้แล้วในชุมชน

เราจะสามารถเห็นการฟ้อนเงี้ยวได้จากที่ใดได้บ้าง

1.ได้จากงานแสดงความยินดี เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น

2.ได้จากประเพณีวันสำคัญ เช่น ปีใหม่ (สงกรานต์) เข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น

3.ได้จากประเพณีพื้นบ้าน เช่น งานวันกิ๋นข๋าวสลาก งานปอยหลวง เป็นต้น

การสืบสาน และการอนุรักษ์

ปัจจุบันทางด้านผู้นำชุมชน หรือผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นเชื้อสายคนไทยเงี้ยว ก็จะมีการรวมกลุ่มส่งเสริมสนับสนุน เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งทางด้าน วัฒนธรรม ภาษา การแต่งการ โดยการจัดการรดน้ำดำหัวกลุ่มคนไทยเงี้ยว โดยจะมีการแสดงฟ้อนเงี้ยว การแสดงความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน มีการจัดการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ในกลุ่มไทยเงี้ยวของแต่ละชุมชน และกลุ่มไทยเงี้ยวที่ไปทำงานต่างจังหวัด ก็ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเยาวชนด้วย