วัฒนธรรมใบจากมวนยาสูบ

ชุมชนบ้านห้วยหลอด ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นตำบลหนึ่งใน 13 ตำบลของอำเภอหลังสวน จังหวัดชัดชุมพร

ตำบลนาพญา มีภูมิประเทศ อยู่ติดทะเลอ่าวไทย ถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรฺณ์ (องค์การบริหารส่วนตำบลนาพญา ,2564) นั้นคือป่าชายเลนที่มีต้นจากขึ้นอยู่อย่างมากมาย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนยาง ทำสวนปาล์ม รับจ้างทั่วไป และอาชีพประมง อาชีพเสริมคือการลอกใบจาก ในการขายใบจากนั้นชาวบ้านจะขายเฉพาะใบจากส่วนที่ดี ซึ่งนำไปห่อยาสูบใช้สูบ ซึ่งขั้นตอนการทำใบจากถือเป็นศิลปะที่สำคัญอย่างนึ่ง ที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นในการทำใยบามวน (จาก) ปัจจุบันการทำใบใบจากมวนยาสูบ มีการทำเกือบทุกครัวเรือนของตำบลนาพญา จะจัดสรรพื้นที่บริเวณลานหน้าบ้านเป็นที่ สับ – มัด - ตาก – มวนใบจาก ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการบรรจุหีบห่อและประทับตราสินค้าของแต่ละบ้านเพื่อส่งขายในพื้นที่ ผู้ผลิต มีกลุ่มแม่บ้านหลากหลายวัย ตั้งแต่ ชั้นยาย - แม่ - ลูก - หลาน ต่างช่วยกันลงแรงตามความถนัดและฝีมือ ส่วนใหญ่ งาน “ปากกัด (จาก) ตีนถีบ (ใบจาก)” คนในชุมชนได้นำผลผลิตที่ได้จากต้นจากมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการประกอบอาชีพการทำใบจากมวนยาสูบ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของชุมใน ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จากภูมิปัญญาของชาวบ้านตำบลนาพญาสามารถนำผลิตผลจากต้นจากมาใช้ประโยชน์ ดังนี้

การทำม้วนจาก (ยาสูบใบจาก)

การทำมวนจากหรือใบจากมวนยาสูบที่คนทั่วไปรู้จัก เมื่อเราถึงในพื้นที่ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีชื่อเรียกอีกชื่อที่เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่และคนที่มาเที่ยวทั่วไป คือ ปากกัดตีนถีบ ซึ่งเป็นการตั้งชื่อในลักษณะของการทำใบจากที่นี้ จนก่อเกิดเป็นอัตลักณ์ที่ชัดเจนและเป็นสิ่งที่ทำให้ใบจากที่มาจากตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีความโดดเด่นมากกว่าใบจากที่มาจากพื้นที่อื่นๆ นอกจากนั้นเรื่อของคุณภาพใบจากที่มีความนุ่มและเหนียวที่เหมาะแก่การนำไปใช้สูบ ทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบในตัวผลิตภัณฑ์ใบจากมวนสูบของพื้นที่ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีความบาง มีขนาดควากว้างในการใส่ยาเส้นพอประมาณ เวลาในการสอบยาเส้นจะทำให้เข้กันเป็นอย่างดีและเป็นที่ถูกใจของผู้สูบใบจาก ซึ่งสอดคล้องกับการให้คำสัมภาษณ์ดังนี้

“....วิธีการทำมวนจากมีขั้นตอนโดยการเริ่มจากการตัดทางจากอ่อนอายุประมาณ 2 เดือน เอาเฉพาะส่วนทางอ่อนนำทางจากอ่อนที่ตัดมาได้ ตัดออกเป็นใบๆ 1 ทางจะได้ประมาณ 20 ใบ จากนั้นนำทางจากอ่อนที่ตัดเป็นใบ มาคลี่แล้วม้วน โดยใช้ไม้กลัด กลัดตัดกันระหว่างโคนของทางจากกับปลายของทางจาก ให้เป็นวง แล้วนำไปตากแดด ในกรณีที่ไม่มีแดด ใช้วิธีการอบแบบโบราณ จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งสนิทเมือตากได้แห้งสนิทแล้ว แล้วนำไปลอกเอาเยื่อบางๆออก นำใบย่อยที่ลอกแล้ว นำมาตัดเป็นท่อนๆ ประมาณ 7-8 เซนติเมตร จากนั้นบรรจุในถึง หรือใช้ม้วนเป็นม้วน และสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน และนำออกจำหน่าย ตามร้านค้า ในชุมชน และชุมชนใกล้เคียง”

(อรทัย รอดอุนา, สัมภาษณ์ 5 กันยายน 2564)