ห้องสมุดประชาชนอำเภอนครไทย


ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดประชาชนอำเภอนครไทย

                           ารศึกษาหาความรู้ของคนนครไทยในสมัยก่อนนั้นยังล้าสมัยมากโดยทั่วไปจะศึกษาหาความรู้จากผู้รู้ในชุมชน ภูมิปัญญาด้านต่างๆ  พระ  หมอดู  หมอผี  ครู  และบุคคลในชุมชนที่นับถือ  ซึ่งจะมีอยู่ในชุมชนแตะละชุมชนสถานที่ที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ก็จะใช้สถานที่ที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ๆ  เช่น  วัด  โรงเรียน  หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม ชุมชนใดไม่มีสถานที่ดังกล่าวก็จะต้องเดินทางไปศึกษาหาความรู้จากชุมชนอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะการคมนาคมในสมัยก่อนยังทุรกันดารมาก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๔  ทางคณะผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านในอำเภอนครไทย  ได้มีความคิดที่จะสร้างห้องสมุดของอำเภอขึ้น   จึงได้เสนอแนะในที่ประชุมประจำเดือน ซึ่งจะต้องมีการประชุมผู้นำชุมชนประจำทุกเดือน ณ ที่ทำการอำเภอนครไทย เพื่อพูดถึงปัญหาและกิจกรรมของชุมชนแต่ละชุมชน  ซึ่งการประชุมในครั้งนั้นคณะผู้นำชุมชนได้เสนอในที่ประชุมว่า ภายในอำเภอนครไทยควรจะมีแหล่งเรียนรู้หรือห้องสมุด  เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าข่าวสาร  ข้อมูล  ที่ทุกคนสามารถจะมาใช้บริการศึกษาหาความรู้ได้ และมติในที่ประชุมให้ความเห็นชอบว่าสมควรที่จะมีห้องสมุดประชาชน  ไว้บริการประชาชนจึงจึงได้หาสถานที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างห้องสมุดประชาชนที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน และสะดวกสบายต่อการสัญจรไปมา สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้  ซึ่งได้เล็งเห็นว่าสถานที่ของโรงเรียนนครไทยวิทยาคมซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอนครไทย  มีความเหมาะสมที่สุดจึงได้ดำเนินเรื่องขออนุญาตใช้สถานที่ของโรงเรียนนครไทยวิทยาคม  บริเวณเส้นทางติดถนนเป็นเนื้อที่จำนวน  ๑  ไร่ เศษ  ในการสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอนครไทยไว้เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล  ข่าวสาร  สารสนเทศที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน  โดยได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช  ๒๕๒๕ เป็นอาคารชั้นเดียว กว้าง ๑๖ เมตร  ยาว ๒๑  เมตร และให้บริการทางด้านข่าวสาร  ข้อมูล  ต่อประชาชนอำเภอนครไทยและอำเภอใกล้เคียงจนถึงปัจจุบันนี้ 


ปรัชญาห้องสมุดประชาชนอำเภอนครไทย


"  เป็นศูนย์กลางส่งเสริม  ศึกษา  ค้นคว้า  และการเรียนรู้ด้วยตนเอง  "


วิสัยทัศน์ 

      

"   ให้บริการ  สารสนเทศ  และองค์ความรู้ทุกรูปแบบ  เพื่อสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้  "


เป้าประสงค์

        ๑.  พัฒนาคุณภาพของประชาชน  ให้มีความรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

        ๒.  สร้างความสนับสนุนสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ชุมชน

        ๓.  นำนวตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ  มาพัฒนาทรัพยากรในชุมชน  ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนได้อย่างทั่วถึง