ตำนานวันลอยกระทง

ตำนานวันลอยกระทง แต่เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่าพระราชพิธีจองเปรียง ชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้ง 3 คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นเมื่อคนไทยนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธียกโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี หน้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมเพื่อบูชาพระพุทธบาท เนื้อหาดทรายแม่น้ำนัมมทาที่ประเทศอินเดีย การลอยกระทงตามสายน้ำนี้นางนพมาศผู้เป็นธิดาของพระศรีมโหสถและนางเรวดี ซึ่งนางนพมาศเป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงาม เพียบพร้อมไปด้วยกิริยามารยาทและนางผู้นี้ มีความสามารถด้านอักษรศาสตร์ จนได้รับสมญานามว่ากวีหญิงคนแรกของไทย

อีกทั้งยังมีฝีมือในด้านเย็บปักถักร้อย ที่มีความปราณีตสวยงาม ตลอดจนการขับร้องดนตรีที่มีความไพเราะเสนาะหูยิ่งนัก และด้วยความสามารถของนางนพมาศ จึงได้เข้ารับราชการทำหน้าที่ขับร้องถวาย แล้วก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงในตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เมื่อถึงพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นวิธีชักโครมลอย เหล่าบรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชัด โคมแขวน และโคมลอย ทั่วทั้งพระนครแล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้น 3 ราตรีอย่างรื่นเริง เหล่านางสนมต่างพากันทำโคมร้อยด้วยบุปผชาติ เป็นรูปลวดลายวิจิตรงดงามเพื่อเข้าประกวดและนำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง

ถึงคราวท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกลมขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้ง จึงนำมาทำเป็นกระทงตกแต่งประทีป เพื่อลอยถวายสักการะรอยพระพุทธบาทเมื่อพระร่วงได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้อธิบายจนเป็นที่พอพระทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “ต่อจากนี้สืบไปเบื้องหน้ากษัตริย์ในสยามประเทศถึงกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาทนำมาทานนทีปราบเข้ากัลปาวสาน” พระร่วงให้ถือเป็นแบบอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปีในคืนวันเพ็ญเดือน 12 โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอยสืบสานจนถึงทุกวันนี้ ตำนานที่เล่าสืบสานกันมานาน


ข้อมูลเพิ่มเติม : festivalguid.com/ประเพณีวันลอยกระทง