ศิลปวัฒนธรรมประเพณี

บุญมหาชาติหรือบุญผะเหวด ของชาวบ้านตำบลนามะเขือ

บุญผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสองครองสิบสี่

ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่

ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน ๓

พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับ

บุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติ

จบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า

พิธีกรรม

ชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน ๔ ไปจนถึงกลางเดือน ๕

ชาวบ้านตำบลนามะเขือ จะจัดประเพณีบุญผะเหวดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี

โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลา

หรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน

มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต

และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑ ถึงกัณฑ์สุดท้าย

บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ

คือ ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลคือ ประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติ

เป็นสำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลาย

พึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมาจนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่าและอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไปนอกจากนี้ยังเป็นการสังสรรค์ ระหว่างญาติพี่น้องจากแดนไกลสมกับคำกล่าวที่ว่า"กินข้าวปุ้น เอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"การเทศน์พระเวสสันดรหรือบุญผะเหวด จะมีการเทศน์ทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ ๑๐๐๐ พระคาถา โดยมีการเริ่มเทศน์จากมาลัยหมื่นมาลัยแสน และในตอนเช้าจะมีการเทศน์สังกาสหรือเทศน์ประกาศ ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับบุญผะเหวด

การเทศน์ ๑๓ กัณฑ์

๑. กัณฑ์ทศพร

๒. กัณฑ์หิมพานต์

๓. ทานกัณฑ์

๔. กัณฑ์วนปเวสน์

๕. กัณฑ์ชูชก

๖. กัณฑ์จุลพน

๗. กัณฑ์มหาพน

๘. กัณฑ์กุมาร

๙. กัณฑ์มัทรี

๑๐. กัณฑ์สักบรรพ

๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์

๑๓. กัณฑ์นครกัณฑ์


ที่มา : https://www.isangate.com/new/tradition/318-heet-m4.html ,สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม2565

เรียบเรียงโดย : ว่าที่ร้อยโทธนกฤต ปัตโชติชัย ครู กศน.ตำบล