เว็บไซต์ข้อมูลชุมชนตำบลนามะเขือ

สถานที่ตั้งรกรากของชาวนามะเขือ มีความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวบ้านนามะเขือ  คือแต่เดิมชาวนามะเขือเป็นคนเผ่าภูไท ตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองวังอ่างคำฝังซ้ายแม่น้ำโขง (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชานลาว) ได้อพยพข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาอยู่ที่บ้านนางิ้ว จากการอพยบข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมานั้นได้เห็นว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผักหลากหลายชนิด เผือก มัน กลอย ปลาและมีแหล่งน้ำที่เหมาะสม บริบูรณ์ สำหรับการทำมาหากิน จึงได้มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนามะเขือ ในพื้นที่มีต้นมะเขือป่าขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงพากันตั้งชื่อว่า "นามะเขือ" มาจนถึงปัจจุบัน และ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507 ได้มี ผกก. เข้ามาปลุกระดมมวลชน ทางราชการใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าทำการปราบปราม แต่สถานการณ์ไม่ดีขึ้น ซ้ำยังสร้างความลำบากให้เกษตรกรในการทำมาหากิน ทำความเดือดร้อนไปทั่ว ในช่วงปี พ.ศ. 2515-2518 เหตุการณ์ค่อยบรรเทาลง

             ปัจจุบันเป็นตำบลที่ตั้งในเขตการปกครองของอำเภอปลาปาก ประกอบด้วยหมู่ 11 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านนามะเขือ หมู่ 2 บ้านนามะเขือ หมู่ 3 บ้านแหลมทอง หมู่ 4 บ้านหนองตีนตั่ง หมู่ 5 บ้านหนองแสง หมู่ 6 บ้านหนองไผ่ หมู่ 7 บ้านโพนสว่าง หมู่ 8 บ้านหนองบัวคำ หมู่ 9 บ้านนางิ้ว หมู่ 10 บ้านแสนสำราญ  หมู่ 11 บ้านหนองบัวคำ

          สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นพื้นที่ที่ราบสลับที่ดอน บางแห่งเป็นที่ราบสูง และป่าไม้เบญจพรรณ ประมาณ 40 %   ของพื้นที่สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินลูกรัง   พื้นที่ส่วนใหญ่   ทำนา   ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์


ตำบลนามะเขือ แบ่งการปกครองออกเป็น 11   หมู่บ้าน  ได้แก่

หมู่ที่  1   บ้านนามะเขือ        หมู่ที่   2 บ้านนามะเขือ

หมู่ที่  3   บ้านแหลมทอง       หมู่ที่   4    บ้านหนองตีนตั่ง

หมู่ที่  5   บ้านหนองแสง       หมู่ที่   6    บ้านหนองไผ่

หมู่ที่  7   บ้านโพนสวาง        หมู่ที่   8    บ้านหนองบัวคำ

หมู่ที่  9   บ้านนางิ้ว             หมู่ที่  10   บ้านแสนสำราญ

หมู่ที่  11 บ้านหนองบัวคำ 

    ตำบลนามะเขือ  มีวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจหลายแห่ง แต่ที่สำคัญ คือวัดจันทิยาวาส ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สันติสุข เป็นศูนย์รวมของตำบล เป็นที่ควรแก่การศึกษาเรียนรู้  ต้นโพธิ์เก่าแก่ที่มีอายุ ประมาณ 100 ปีตั้งอยู่ที่ วัดจอมศรี หมู่ 2 บ้านนามะเขือ ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม นอกจากนี้ยังมีที่ราบลุ่มหนองกะเบา หนองไข่นก เป็นที่สาธารณะที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีดอนปู่ตาหลายแห่งที่มีความร่มรื่น มีต้นไม้น้อยใหญ่จำนวนมาก เหมาะที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพิธีกรรมพื้นบ้าน ประเพณีท้องถิ่น และด้านทรัพยากรธรรมชาติ


      เมื่อ ปี  พ.ศ. 2530  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก  ได้เปลี่ยนเป็นศูนย์ประสานงาน  โดยมีนายวีระกุล  อรัญยะนาค เป็นผู้ประสานงานอำเภอปลาปากโดยมีครูอาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนครบพื้นที่อำเภอปลาปาก ทั้ง 8 ตำบล ซึ่งในตอนนั้นมีเพียงแค่สถานที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านโดยมีครูอาสาสมัครนอกโรงเรียนทำหน้าที่จัดส่งหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน

       ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2538  ได้ตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนามะเขือ ณ ศาลาอีสานเขียว (ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน) บ้านหนองบัวคำ หมู่ 8 ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม  โดยมีนายสกล  ผิวผาง ครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน รับผิดชอบในพื้นที่

       ปี พ.ศ. 2547  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนามะเขือ ได้ย้ายศูนย์การเรียนมาอยู่ที่ อาคารองค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ บ้านนามะเขือ  หมู่ 2  ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม โดยมี                       นายอาคเนย์   อินาลา เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายศิริชัย  เหลืองศิริ กับนางวิไลพร  เหลืองศิริเป็นครูศรช.รับผิดชอบในพื้นที่

       ปี พ.ศ. 2550  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนามะเขือ ได้ย้ายศูนย์การเรียนมาอยู่ที่ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน บ้านแสนสำราญ  หมู่ 10  ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม โดยมีนายอาคเนย์   อินาลา              ครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายศิริชัย  เหลืองศิริ กับนางวิไลพร  เหลืองศิริเป็นครูศรช.รับผิดชอบในพื้นที่

       ปี พ.ศ. 2552  มีนายประยูร  ยตะโคตร เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายชิตศณุพงษ์  ปาวัน   กับนายโกเมศ  โกพลรัตน์ เป็นครูประจำกลุ่ม รับผิดชอบในพื้นที่

       ปี พ.ศ. 2553  มีนายประยูร  ยตะโคตร เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายโกเมศ  โกพลรัตน์   เป็นครูศรช. รับผิดชอบในพื้นที่

       ปี พ.ศ. 2554  มีนายประยูร  ยตะโคตร เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายโกเมศ  โกพลรัตน์   กับนางพิญญพัชน์  เทพคำดี เป็นครูกศน.ตำบล รับผิดชอบในพื้นที่

     ปี พ.ศ. 2555  มีนายประยูร  ยตะโคตร เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายโกเมศ  โกพลรัตน์         กับนางชฎาภรณ์  อินาลา เป็นครูกศน.ตำบล รับผิดชอบในพื้นที่

     ปี พ.ศ. 2557  มีนายอาคเนย์  อินาลา เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายโกเมศ  โกพลรัตน์           กับนางชฎาภรณ์  อินาลา เป็นครูกศน.ตำบล รับผิดชอบในพื้นที่

     ปี พ.ศ. 2563  มีนายอาคเนย์  อินาลา เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายโกเมศ  โกพลรัตน์       เป็นครูกศน.ตำบล รับผิดชอบในพื้นที่ รับผิดชอบในพื้นที่

       ปี พ.ศ. 2564  มีนายอาคเนย์  อินาลา เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายโกเมศ  โกพลรัตน์       และว่าที่ร้อยโทธนกฤต ปัตโชติชัย เป็นครูกศน.ตำบล รับผิดชอบในพื้นที่ รับผิดชอบในพื้นที่

       ปี พ.ศ. 2565  มีนายอาคเนย์  อินาลา เป็นครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน และมีนายโกเมศ  โกพลรัตน์       และว่าที่ร้อยโทธนกฤต ปัตโชติชัย เป็นครูกศน.ตำบล รับผิดชอบในพื้นที่ จนถึงปัจจุบัน


นายโกเมศ  โกพลรัตน์

หัวหน้า กศน.ตำบล


นายอาคเนย์  อินาลา

ครูอาสาสมัครฯ


ว่าที่ร้อยโทธนกฤต ปัตโชติชัย

ครู กศน.ตำบล