Museum Media

Connecting Museums, Converging People

สื่อ สาระ เชื่อมพิพิธภัณฑ์ โยงผู้คน

<<English Version>>

Museums today are attempting to become learning space and cultural space that accommodate people of all backgrounds. The purpose of this effort is to make the museum more communicable to different people and to ensure that people are more accessible to the museum.

Media is an important aspect of museum’s outreach and museum’s interaction with visitors. Various formats of media allow museums to create experiences, to enhance learning for visitors, and to encourage visitors to participate and interact with exhibitions in more meaningful ways.

Media used in the museum can be divided by its functions. For example, the media for exhibition (e.g. labels providing information, exhibition objects, pictures telling stories), the media in education purposes, the media for developing the audiences, the media to communicate museum works to the public, and the media for other museum obligations (e.g. networking, database development, ancient object conservation, museum collection system, museum archive, and commercial service). In short, in recent years, museums have expanded the ways the present material, far beyond traditional object curation. Many forms of media, either new or old, are an important part of modern museum experiences.

Among the variation of medias in the context of digital technology, it is worth investigating, within today’s modern media landscape, what is the best way for museums to use traditional, new, and emerging media technologies to reach, educate, and interact with visitors? What are the obstacles and challenges for museums to appropriate technologies that will help creating the linkage between museums and visitors? What kind of platform that may help the best in museum networking. The Museum Forum 2018 aims to explore these practical issues among museum practitioners. This two-day forum is devoted to media learning in museums with a special focus on ‘Connecting Museums, Converging People’.

In order to share insights and lessons and to discuss broader questions on roles of the media in terms of learning strategy and sustainability, ASEAN Museum Forum 2018 provides an opportunity for all practitioners to reflect, discuss, and understand issues, methods, and challenges on the use of media, as well as to learn and share experiences. We invite submissions from colleagues working in museums, learning centers or cultural organizations to share media learning experiences of which they have developed, to discuss the perspective and process of developing or adopting tools, to share insights and lessons learned, and to discuss roles of the media in their learning strategy.

<<Thai Version>>

พิพิธภัณฑ์จำนวนมากพยายามผลักดันให้พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่รองรับคนทุกประเภท ทุกภูมิหลัง จึงทำให้พิพิธภัณฑ์เข้าสู่การปรับตัวขนานใหญ่เพื่อสื่อสารกับคนที่แตกต่าง หรือคนจำนวนมากให้สามารถเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ได้ การเป็นสื่อที่ส่งสารให้กับผู้เข้าชมจึงเป็นหน้าที่สำคัญของพิพิธภัณฑ์ สื่อในรูปแบบต่างๆ ช่วยให้พิพิธภัณฑ์สามารถสร้างประสบการณ์และช่วยเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าชมได้มีส่วนร่วมและสร้างปฏิสัมพันธ์จนนำไปสู่กิจกรรมที่สร้างความหมายมากขึ้น พิพิธภัณฑ์ได้ขยายขอบเขตรูปแบบการเรียนรู้มากกว่าการจัดวางวัตถุจึงมีการใช้สื่อที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบสื่อดิจิทัลและสื่อวัสดุอุปกรณ์

สื่อที่ถูกใช้ในพิพิธภัณฑ์สามารถแบ่งได้ตามหน้าที่ใช้สอยต่างๆ สิ่งของในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วย สื่อที่ใช้ในนิทรรศการ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นป้ายข้อมูล วัตถุจัดแสดง ภาพเล่าเรื่องต่างๆ สื่อเพื่อการเรียนรู้ เช่น สื่อที่ใช้ในงานกิจกรรม และสื่อที่ใช้ในงานการศึกษา สื่อเพื่อสื่อสารงานพิพิธภัณฑ์สู่สาธารณะ และสื่อที่ใช้ในงานพิพิธภัณฑ์ด้านอื่นๆ เช่น งานสร้างเครือข่าย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ งานอนุรักษ์โบราณวัตถุ ระบบงานคลังวัตถุ งานจดหมายเหตุ และงานบริการเชิงการค้า สื่อเหล่านี้ถูกใช้สอยตามความเหมาะสม ศักยภาพ และงบประมาณของแต่ละพิพิธภัณฑ์

จากบทบาทที่หลากหลายของสื่อในงานพิพิธภัณฑ์ในโลกที่ต้องหมุนตามเทคโนโลยี จึงเกิดประเด็นคำถามที่ว่า สื่อในพิพิธภัณฑ์ได้พัฒนาไปในทิศทางใด เมื่อสื่อถูกนำมาใช้ในพิพิธภัณฑ์ การพัฒนาสื่อได้นำหลักการทางพิพิธภัณฑ์วิทยาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ การพัฒนาบทบาทของสื่อพิพิธภัณฑ์ในด้านต่างๆ (สื่อดิจิทัลและสื่อวัสดุอุปกรณ์) เป็นไปอย่างไร ทั้งสื่อที่ช่วยในการสื่อความหมายและรับรู้นิทรรศการ สื่อกับการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้เกมเป็นสื่อการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ สื่อกับการพัฒนาผู้เข้าชม เช่น การพัฒนาผู้เข้าชมผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ การพัฒนาสื่อพิพิธภัณฑ์เพื่อผู้พิการ สื่อดิจิทัลในงานพิพิธภัณฑ์ เว็บไซต์และสื่อสังคมกับบทบาทการสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงผู้เข้าชม สื่อกับการสนองตอบผู้เข้าชมเฉพาะกลุ่ม สื่อที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้ในพิพิธภัณฑ์ได้ถูกใช้สอยและเกิดประโยชน์อย่างสมบูรณ์หรือไม่ ในอนาคตสื่อที่ถูกใช้ในพิพิธภัณฑ์จะเป็นเช่นไร

นอกจากนี้ Museum Forum 2018 ยังต้องการให้เกิดการพูดคุย ถกเถียง วิเคราะห์ อภิปราย รวมถึงการสำรวจสภาวการณ์ในการใช้สื่อต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ ทั้งในแง่มุมทางวิชาการและปฏิบัติการ เช่น ความคุ้มค่าในการใช้สื่อพิพิธภัณฑ์ จริยธรรมของการใช้สื่อในงานพิพิธภัณฑ์ ผัสสะในพิพิธภัณฑ์ของโลกดิจิทัล การปรับตัวของพิพิธภัณฑ์ ทั้งในแง่ของการตีความ การออกแบบ การสื่อสารด้วยสื่อต่างๆ การออกแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ดึงดูดกลุ่มผู้เข้าชมวัยเยาว์ เมื่อพิพิธภัณฑ์ต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเด็นสำคัญคือ พิพิธภัณฑ์ควรใช้สื่ออย่างไร เพื่อให้ตอบสนองจุดประสงค์ และการเป็นองค์กรการเรียนรู้ของสังคม การประชุมวิชาการครั้งนี้ยังเปิดพื้นที่ให้เพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอบทความ เป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ทางด้านพิพิธภัณฑ์วิทยากับพิพิธภัณฑ์ในประเทศเพื่อนบ้านที่มีบริบทใกล้เคียงกัน และนำมาปรับใช้ให้เข้ากับพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม

Twitter/Facebook/Instagram

Please use #ASEANMuseumForum2018 in your tweets/posts/shares about the conference and let your fellow forum delegates know you are taking part in the event this year.