แหล่งเรียนรู้

พระยากตะศิลา

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)


ประวัติพระยากตะศิลา ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาและปรากฎในตำนานเมืองราษีไศลและหนังสือพัฒนาการทางประวัติเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ว่า ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 พระยากตะศิลาเป็นหัวหน้าชาวเผ่าเยอ ได้พาพวกพ้องบริวารของตนหนีความเดือดร้อนในประเทศลาว โดยใช้เรือยาว (เฮือส่วง) สองลำลำที่หนึ่งชื่อ"นางคำผาย” ลำที่สองชื่อนางคำม่วน แต่ละลำจุได้ประมาณ 40-50 คน พายตามลำน้ำโขงมาเรื่อยๆ ผ่านเมืองไหนหรือมีใครถามก็บอกว่าจะไปตั้งเมืองใหม่เมื่อพายเรือมาถึงบริเวณแม่น้ำมูลไหลจรดแม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียมในปัจจุบัน จึงสั่งให้พายเรือเลี้ยวขวา พายทวนกระแสลำน้ำมูลขึ้นมาเรื่อยๆ และจอดพักเป็นระยะพร้อมกับสำรวจจุดภูมิศาสตร์เพื่อดูว่าเหมาะแก่การตั้งบ้านเมืองหรือไม่ สถานที่สุดท้ายที่ท่านพระยากตะศิลาเห็นว่าเหมาะสมที่สุดที่จะสร้างเมืองใหม่ก็คือบริเวณโบราณสถานเมืองคงโคกในปัจจุบัน ท่านได้พาพวกพ้องบริวารของท่านขุดลอกคลองรอบๆ นำดินขึ้นมาถมบริเวณที่ตั้งอาคารบ้านเรือนและพร้อมๆกัน และทำให้ได้แหล่งน้ำล้อมรอบเมือง แล้วตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่า เมืองกตะศิลา เมืองกตะศิลาได้เจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขสืบกันมาเป็นเวลาประมาณ 100 ปี ก็เกิดโรคห่าระบาด (สันนิษฐานว่าเป็นโรคอหิวาห์) ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้นำสมัยนั้นจึงให้ประชาชนอพยพหนีภัยไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยตามถิ่นฐานต่างๆ และส่วนหนึ่งยังคงอาศัยอยุ่ที่บริเวณบึงคงโคก ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านหลุบโมก หมู่ ๖ ตำบลเมืองคง และบริเวณวัดเมืองคง ตำบลเมืองคง จากประวัติความเป็นมาและความสำคัญของพระยากตะศิลา อำเภอราษีไศล ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สภาวัฒนธรรมอำเภอ ชาวเยอและประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่า ได้เห็นชอบให้จัดงานพระยากตะศิลารำลึกขึ้น โดยเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.2524 นำโดยนายอำเภอราษีไศล คนที่ 29 คือนายสมหมาย ฉัตรทอง ซึ่งได้เริ่มโดยการให้ปลูกต้นไม้ในบริเวณโบราณสถานและสร้างรูปปั้นเหมือนพระยากตะศิลา และได้เชิญชวนพี่น้องเผ่าเยอ ข้าราชการพ่อค้าประชาชน ร่วมกันจัดงานบวงสรวง โดยกำหนดเอาวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปีเป็นวันจัดงาน



อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)


ประเพณี "งานพระยากตะศิลารำลึก” มีคุณค่าที่สำคัญคือ การสอนให้ทุกคนรู้จักการเสียสละ เกื้อกูล สามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษของชาวเยอ ร่วมมือร่วมใจกันทุกฝ่ายอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น "งานพระยากตะศิลารำลึก” เป็นพิธีกรรมของชาวเผ่าเยอและประชาชนทั่วไป ที่กระทำเพื่อถวายสักการบูชารำลึกถึงพระยากตะศิลา ซึ่งเป็นผู้ที่ก่อตั้งเมืองกตะศิลา (อำเภอราษีไศล) และเป็นการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น กระบวนการหรือแนวปฏิบัติของประเพณี (บางประเพณีอาจจะมีพิธีกรรมด้วย) กระบวนการของประเพณี 1. ผู้บวงสรวง เป็นผู้นำที่สามารถประกอบพิธีบวงสรวงได้ รู้จักขั้นตอนพิธีบวงสรวงได้เป็นอย่างดี และชาวบ้านในชุมชนเคารพนับถือ 2. ชาวเยอ เป็นชาวพื้นเมืองดังเดิมที่อาศัยอยู่ในตำบลเมืองคง สื่อสารกันด้วยภาษาเยอ (มีลักษณะคล้ายกับภาษาขอม) และภาษาอิสาน 3. ปีสะไน ทำมาจากเขาวัว หรือเขาควาย ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร 4. ขบวนฟ้อนบวงสรวง (แต่งกายด้วยชุดพื้นบ้านชาวเยอ) 5. ผู้นำชาวเผาเยอ ถวายเครื่องบวงสรวง 6. ผู้ร่วมงานร่วมปิดทองบูชารูปปั้นพระยากตะศิลา แก่นและคุณค่าของประเพณี (ที่มีต่อชุมชน) แก่นของประเพณี ประเพณี "งานพระยากตะศิลารำลึก” มีแก่นที่สำคัญคือ -ความกตัญญู -ความเสียสละ -ความสามัคคี -สานความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน



ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ


ประเพณี "งานพระยากตะศิลารำลึก” เป็นพิธีกรรมของชาวเผ่าเยอและประชาชนทั่วไป ที่กระทำเพื่อถวายสักการบูชารำลึกถึงพระยากตะศิลา ซึ่งเป็นผู้ที่ก่อตั้งเมืองกตะศิลา (อำเภอราษีไศล) และเป็นการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น กระบวนการหรือแนวปฏิบัติของประเพณี (บางประเพณีอาจจะมีพิธีกรรมด้วย) กระบวนการของประเพณี 1. ผู้บวงสรวง เป็นผู้นำที่สามารถประกอบพิธีบวงสรวงได้ รู้จักขั้นตอนพิธีบวงสรวงได้เป็นอย่างดี และชาวบ้านในชุมชนเคารพนับถือ 2. ชาวเยอ เป็นชาวพื้นเมืองดังเดิมที่อาศัยอยู่ในตำบลเมืองคง สื่อสารกันด้วยภาษาเยอ (มีลักษณะคล้ายกับภาษาขอม) และภาษาอิสาน 3. ปีสะไน ทำมาจากเขาวัว หรือเขาควาย ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร 4. ขบวนฟ้อนบวงสรวง (แต่งกายด้วยชุดพื้นบ้านชาวเยอ) 5. ผู้นำชาวเผาเยอ ถวายเครื่องบวงสรวง 6. ผู้ร่วมงานร่วมปิดทองบูชารูปปั้นพระยากตะศิลา แก่นและคุณค่าของประเพณี (ที่มีต่อชุมชน) แก่นของประเพณี ประเพณี "งานพระยากตะศิลารำลึก” มีแก่นที่สำคัญคือ -ความกตัญญู -ความเสียสละ -ความสามัคคี -สานความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน


ประวัติวัดใต้

วัดใต้ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ ๑๖๐ บ้านใหญ่ หมู่ ๔ ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นชุมชนเผ่าเยอได้เดินทางมาจากประเทศลาว ได้มาตั้งบ้านใหญ่และได้ก่อตั้งวัดใต้ขึ้น ในปีพ.ศ ไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นวัดที่ ๒ ของอำเภอราษีไศล รองจากวัดบ้านไผ่ ก่อสร้างมาหลายปีจนได้รับการแต่งตั้งให้ป็นวัดเมื่อปี พ.ศ ๒๓๘๐ ซึ่งในสมัยนั้นมี ยาเจ้าหลักคำ (คำว่า “ยาเจ้า’’เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งใช้เรียกคนที่เป็นใหญ่ในหมู่บ้าน)เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก (เป็นเจ้าคณะอำเภอคง) ปัจจุบันอำเภอราษีไศล ยาเจ้าคูคำเป็นเจ้าอาวาส เป็นองค์ที่ ๒ ยาเจ้าคูคำได้สร้างอุโบสถขึ้นอยู่ทางทิศใต้ของพระธาตุ เพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมในเขตอำเภอราษีไศลและได้สร้างอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้สร้างวิหารเป็นศาลาขนาดใหญ่เป็นยอด ๓ ชั้นทำด้วยไม้กะสลักลวดลายอย่างสวยงามหลังจากที่ยาเจ้าคูคำ มรณภาพแล้วก็มี หลวงพ่อนัน เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ คือปลัดศรี ถาวโร ในช่วงที่พระอาจารย์ปลัดศรีเป็นเจ้าอาวาสนั้นยอดพระธาตุได้หักลงมาเนื่องจากวัสดุต่างๆทุดโทรมเสื่อมคุณภาพ พระอาจารย์ปลัดศรีจึงจึงได้รวมกลุ่มชาวบ้านเก็บพระเครื่องต่าง ๆที่ตกออกมาจากยอดพระธาตุ มารวมกันไว้ได้ ๒ ถาดใหญ่ และอีกจำนวนหนึ่งชาวบ้านเก็บไปบูชาที่บ้าน ส่วนยอดพระธาตุที่เป็นเศวตฉัตรทำจากเหล็กเก็บกองไว้ที่ฐานหระธาตุ ต่อจากนั้นได้มีพระสา รักษาการเจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ และเจ้าอิการบุญมา (เจ้าคณะตำบลเมืองคงที่มรณะภาพไปแล้ว) เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๖ พระอธิการนารี กตปุญฺโญ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ จำพรรษาจนถึงปี ๒๕๓๕ – ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๘ ต่อมาท่านก็ออกจากเจ้าอาวาส กลับไปอยู่ที่วัดบ้านยางซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะชรา ลูกหลานอยากให้กลับไปอยู่บ้านจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงได้นิมนตืพระสุมิน อานันโท หรือพระครูพิบูลธรรมาภิรัต มารักษาการเจ้าอาวาส ในปี ๒๕๔๓ และในปี ๒๕๔๔ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๙ สืบต่อมา จนถึงพ.ศ ๒๕๕๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าอาวาสชั้นโทที่พระครูพิบูลธรรมาภิรัติ ปัจจุบัน (๒๕๕๔)วัดใต้มีพระจำพรรษาอยู่ ๑๐ รูป สามเณร ๔ รูป


ปัจจุบัน

วัดใต้มีเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๓ งาน ๒๑ ตารางวา มีอุโบสถ ๒ หลังซึ่งป็นหลังเก่าหนึ่งหลังไม่ได้รื้อลงเก็บไว้เป็นของเก่า หลังใหม่กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๐ ผูกพัทธสีมาวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ ๒๕๔๑ มีกุฎิ ๙ หลัง เมรุ ๑ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง และศาลาการเปรียญ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงสังกะสีสะแกนรูป ติดฝ้าเพดาน ปูพื้นด้วยกระเบื้องแกรนิตโต้ แบบ ๒ ชั้นมีขนาดกว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๖ เมตร เริ่มวางศิลาฤกษ์วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ ๒๕๔๕ สามารถบรรจุผู้มาใช้บริการได้ประมาณ ๑๕๐๐ คน งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท (สิบสองล้านบาท) งบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป จากงานกฐิน ผ้าป่า ร่วมกันจองเป็นเจ้าภาพ

มีพื้นที่ใช้ประโยชน์อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งติดแม่น้ำมูลเป็นป่าช้าเก่าเรียกชื่อว่า ดอนแก้ว (เกาะแก้ว) ใช้ในการปฎิบัติธรรมในเดือนมกราคมวันที่ ๒๐-๓๐ ของทุกปีจะมีพระภิกษุสามเณร ญาติโยม มาร่วมปฎิบัติธรรมเป็นจำนวนหลายร้อยรูป/คน


สถานที่ตั้ง

วัดใต้ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๖๐ บ้านใหญ่ หมู่ ๔ ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอราษีไศล ห่างจากตัวอำเภอราษีไศล ๒ กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ รวมป่าติดแม่น้ำมูล ในโฉนดที่ดิน มี ๑๙ ไร่ ๓ งาน ๒๑ ตารางวา