ภูมิปัญญาท้องถิ่น

นายวิทิต กตะศิลา (หมอพราหมณ์)

ชื่อ นายวิทิต กตะศิลา อายุ 64 ปี

เกิดวันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2492

ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 183 หมู่ที่ 14 บ้านท่าโพธิ์ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ


ประวัติความเป็นมา


นายวิทิต กตะศิลา นอกจากเป็นพรามณ์ปฏิบัติธรรมในวิถีชีวิตประจำวันแล้ว ยังรับทำหน้าที่ พรามณ์พิธี ควบคู่ไปกับพิธีทางพระพุทธศาสนา ที่ทางเจ้าภาพประสงค์จะให้ปวงเทพทั่วทิพยสถานมามีส่วนร่วมและอนุโมทนาในกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย เช่น พิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีหล่อ หรือสมโภชน์พระประธาน เป็นต้น และผู้ที่แนะนำและมอบหมายหน้าที่พรามณ์ให้ท่าน คือ หลวงพ่อพระครูศรีไศลคณารักษ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอราษีไศล


ขั้นตอนการปฏิบัติ


ก่อนจะดำเนินพิธี จะให้ฝ่ายเจ้าภาพจัดเตรียมเครื่องบวงสรวงต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน และทั้งที่เป็นอาหารคาวหวาน ประเภทน้ำดื่มก็ได้แก่น้ำบริสุทธิ์ น้ำชา น้ำนม เว้นน้ำเมาเครื่องบวงสรวงจะประณีตมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับพิธีนั้น ๆ เพียงเราทำความเข้าใจว่า เราเคารพนับถือ ต้อนรับเขาให้สมเกียรติภูมิและเทวธรรมของเขา ถือว่า พวกเทพก็คอยอำนวยประโยชน์แก่เราเมื่อเราปฏิบัติใด ๆ ด้วยความสุจริต ส่วนที่ประทับของเทพ ถ้าเป็นพิธีใหญ่หรือพิธีสำคัญ ก็ให้ตั้งศาลเพียงตา มีฉัตร 5 ชั้นบ้าง 7 ชั้นบ้าง ตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ ผ้าปูประทับควรเป็นผ้าสะอาดสีล้วน จะเป็นสีอะไรก็ได้ยกเว้นสีดำ แต่ส่วนมากนิยมผ้าขาว ทั้งที่ประทับและที่วางเครื่องบวงสรวง เมื่อเครื่องบวงสรวงพร้อมแล้ว ก็เรียนเชิญประธาน หรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบวงสรวง แล้วให้สัณญาณเสียงฆ้อง แล้วกล่าวบวงสรวง ด้วยอาการอันสำรวม เปล่งวาจาน่าฟัง และเป็นลักษณะร่าย หรือทำนองเสนาะ เริ่มที่เคารพสูงสุดก่อน และลดลงมาตามลำดับถึงเทพเบื้องล่าง แล้วเอ่ยถึงเทพ ณ ทิพสถานต่าง ๆ ให้รับทราบ อำนวยประโยชน์และร่วมอนุโมทนาบุญ

คำสำคัญ

นายวิทิตกตะศิลา หมอพราหมณ์ บ้านท่าโพธิ์ ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

หมวดหมู่

ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น


สถานที่ตั้ง

บ้านท่าโพธิ์


เลขที่ 183 หมู่ที่/หมู่บ้าน 14 บ้านท่าโพธิ์


ตำบล เมืองคง อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ

รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล

บุคคลอ้างอิง นายวิทิต กตะศิลา


เลขที่ 183 หมู่ที่/หมู่บ้าน 14 บ้านท่าโพธิ์


ตำบล เมืองคง อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33160


สะไน

ผลิตภัณฑ์ สะไน

แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ สะไน เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของชนเผ่าเยอ ทำมาจากเขาควาย มีลักษณะการเป่าเเละเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งในอดีตชาวเยอเชื่อกันว่าการเป่าสะไนเป็นการเป่าบูชาสังขช์ และเมื่อเป่าสะไนแล้วภูตผีปีศาจ จะไม่มาทำร้าย ปัจจุบันสะไนใช้เป็นเครื่องดนตรีที่สามารถเล่นร่วมกันวงโปงลางวงดนตรีพื้นบ้านและวงดนตรีสากลและพัฒนาเพื่อทำเป็นของฝาก ของที่ระลึก


ข้อมูลผู้ติดต่อ นายวิทิต กตะศิลา

ที่อยู่ ๑๘๓ ม.๑๔ ต.เมืองคง อ.ราษ๊ไศล จ.ศรีสะเกษ

โทรศัพท์ ๐๘ ๕๗๖๗ ๗๓๔๕


องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม / ความสำคัญ

ชาวเยอ เป็นชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร เรียกตนเองว่า กวย มีความหมายว่า คน หากจัดกลุ่มแล้ว ชาวเยอจัดอยู่ในกลุ่มของชาวกูย มีภาษาพูดภาษาเดียวกัน ซึ่งมีเพียงบางคำเท่านั้นที่แตกต่างกัน

ชาวเยอ เป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาจากเมืองคง แคว้นหลวงพระบางและเมืองอัตปือ แคว้นจำปาสัก ประเทศลาว โดยการนำของพญากตะศิลา เป็นหัวหน้านำคนเผ่าเยออพยพมาโดยทางเรือ ล่องมาตามแม่น้ำโขง และแม่น้ำมูล การตั้งหมู่บ้านส่วนใหญ่จะตั้งในเขตใกล้ลำน้ำหรือลำห้วย โดยเมื่อชาวเยอเดินทางมาถึงเขตเมืองศรีสะเกษ ได้แบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มลำน้ำเสียว ริมฝั่งแม่น้ำมูล บ้านโนนแกด บ้านขมิ้น อำเภอเมืองศรีสะเกษ บ้านโพธิ์ศรี ตำบลโนนเพ็ก อำเภอพยุห์ อีกหลุ่มหนึ่งนำโดยของพญากตะศิลาเดินทางไปตั้งเมืองคงโคก หรือเมืองคง ที่ราบลุ่มห้วยทา ซึ่งห้วยทาจะไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ และเป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อค้าขาย ประกอบด้วยบ้านกุง บ้านวังไฮ บ้านขาม บ้านกลาง บ้านจิก บ้านเมืองคง บ้านท่าโพธิ์ บ้านใหญ่ บ้านกลาง บ้านโนน บ้านร่องอโศก บ้านหลุบโมก บ้านดอนเรือ บ้านหนองบาก บ้านหว้าน อำเภอราษีไศล ในปัจจุบัน มูลเหตุของการตั้งชื่อเมืองคงอาจมาจากการที่พื้นที่เหล่านี้ มีป่ามะม่วง หรือมีการปลูกต้นไม้ผล เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว มะพร้าว ฯลฯ เป็นจำนวนมาก จึงเรียกเมืองตนเองว่า เมืองเยาะค็อง และเพี้ยนเป็นเมืองคอง–เมืองคง ในที่สุด

จุดเด่นที่น่าสนใจ คือชาวเยอแต่ละหมู่บ้านมีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ มีความเหนียวแน่นในการรักษาธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมทางภาษาของกลุ่มชนไว้เป็นอย่างดี ในหมู่บ้านชาวเยอทุกหมู่บ้าน จะพูดภาษาเยอ ชาวลาวหรือคนหมู่บ้านอื่นที่มาตั้งหลักฐานในหมู่บ้านจะเปลี่ยนจากภาษาพูดเดิมของตนมาพูดภาษาเยอและปฏิบัติตามธรรมเนียมของชาวเยอด้วย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชาวเยอ ได้แก่ สะไน เครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ที่ทำมาจากเขาควาย แต่เดิมใช้เป่าก่อนการเดินเรือ ออกรบ หรือออกล่าสัตว์

ความเชื่อเกี่ยวกับสะไน

สะไน เป็นภาษาเขมร แปลว่า"เขาสัตว์” ถ้าเป็นเขาควายก็จะเรียกว่า
"สะไนกะไบ” สะไนเป็นเครื่องเป่าของชาวเยอทำจากเขาสัตว์ โดยทำจากเขาควาย เรียกเป็นภาษาเยอว่า
ซั้ง หรือ ซั้งไน การที่ชาวเยอนิยมนำเขาควายมาทำสะไนเนื่องจากเขาควายมีรูลึกตั้งแต่โคนเขาจนถึงปลายเขาทำให้เจาะรูจากปลายเขาได้ง่าย ส่วนเขาวัวนั้นรูจากโคนเขาถึงปลายเขาไม่ลึกพอจึงไม่นิยม
ลิ้นของสะไนทำมาจากไม้ไผ่ใช้ยางไม้ติดเข้ากับตัวเขา ระหว่างปากลำโพงกับปลายเขา

การเป่าสะไนถือได้ว่าเป็นการสร้างเสียงเพื่อสนองต่อความต้องการของมนุษย์โดยเสียงที่สร้างขึ้นไม่ได้มีความหมายตามหลักการของทฤษฎีทางดนตรีแต่อย่างใด (ไม่มีระบบโน้ตที่แน่นอน) เสียงการเป่าสะไนเป็นเสียงที่มีความดังเกินตัว(เสียงดังขนาดเล็ก)มนุษย์เมื่อได้พบเจอสิ่งใดที่ดูแล้วหน้าเกรงขาม ย่อมยกย่องให้สิ่งนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกว่าดีปลอดภัย อุดมสมบูรณ์ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปรากฏการณ์ที่สำคัญยืนยันว่ามันจะนำมาซึ่งความสงบ ความยินดีของตนจริง เรียกว่า ภูมิปัญญา เสียงสะไนจึงเป็นเสียงที่ศักดิ์สิทธิ์

ฟังแล้วดูหน้าเกรงขาม เป็นเครื่องดนตรีชิ้นเล็กๆแต่เสียงนั้นใหญ่เกินตัวมาก

เสียงของสะไนยังเป็นเสียงที่ศักดิ์สิทธิ์ปราบผีได้ หากที่ใดมีคำล่ำลือเกี่ยวกับความดุร้ายหรือความเฮี้ยนของผีสาง นางไม้ ถ้าได้เป่าสะไนบริเวณนั้นจะทำให้ผี เงือก นาค ภูตผีปีศาจ ยอมสยบไม่กล้าอาละวาดหลอกใคร ไม่มาทำร้ายคนอีก พร้อมกันนี้จะทำให้ผีเจ้าป่าเจ้าเขาช่วยดูแลคุ้มครองรักษาชาวบ้านให้อยู่ดีกินดี มีความปลอดภัย ในสมัยก่อนเมื่อชาวเยอมีการเดินทางไกลต้องผ่านป่าเขา ถ้าหากเดินทางไปไม่ถึงที่หมายจำเป็นต้องนอนค้างแรมกลางป่าเขาต้องเอาสะไนติดตัวไปด้วย ถ้ายามค่ำคืนจะเอาสะไนออกมาเป่าเพื่อเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางผีป่าผีเขาให้ช่วยดูแลรักษา ถ้าเป่าสะไนแล้วสัตว์ป่าก็จะไม่มาทำร้าย

ในสังคมวัฒนธรรมที่มีความใกล้เคียงกัน เช่น ส่วยและเขมรจะใช้สะไน เป็นเครื่องเป่าให้สัญญาณเวลาออกไปคล้องช้าง โดยเสียงสะไนที่เป่าแต่ละครั้งหรือแต่ละเสียง จะมีความหมายเป็นที่รู้จักกันในหมู่คณะ ลักษณะดังกล่าวจึงเหมือนเครื่องดนตรีอย่างหนึ่งของชนเผ่า กะตู ในเขตพื้นที่แขวงสาละวัน ประเทศลาว เรียก ตะโล เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ แต่ตัดตรงกลางกระบอกไม่ไผ่เพื่อทำลิ้นเวลาเป่าจะดูดเข้าหรือเป่าออกก็ได้ ใช้เวลาออกจับช้างเพื่อบอกสัญญาณให้เพื่อนรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น โดยการเป่าแต่ละครั้งแต่ละแบบจะมีความหมายแตกต่างกันไป เช่น เป่าหนึ่งครั้ง กำลังเดินหน้า เป่าสองครั้งเรียกมากินข้าว เป่าติดต่อกันหลายๆ ครั้ง

ไม่หยุดหมายถึงกำลังได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

การใช้สะไนของชาวส่วย เขมร และการใช้ตะโลของขาวตะกู อาจกล่าวได้ว่าเป็น รหัสลับ คนที่จะรู้รหัสลับนี้ได้ต้องเป็นพวกเดียวกันเท่านั้น แต่ในสังคมวัฒนธรรมเยอไม่มีความเกี่ยวข้องกับช้างโดยตรงเหมือนชาวเขมร การใช้สะไนของชาวเยอจึงเป็นเครื่องเป่า ที่เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องของการกำเนิด สังข์ การเป่าสะไนจึงเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์แบบสังข์ และใช้ลิ้นแบบเดียวกับสังข์ ชาวเยอยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องเป่านี้ว่า ในโลกนี้มีเครื่องเป่าอยู่ ๓ แบบ ตามความเชื่อของชาวเยอ คือ หอยสังข์ มีพระนารายณ์เป็นผู้สร้างถือว่าเป็นเครื่องเป่าที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รองลงมาคือสังข์ไน (สะไน) เป็นเครื่องเป่าของกลุ่มชนเผ่าเยอ มีความศักดิ์สิทธิ์รองลงมาจากหอยสังข์ เนื่องจากเป็นเครื่องเป่าที่ทำจากเขาควายแต่ใช้ลิ้นสังข์ สุดท้ายคือ แตรสังข์ (แตรเขาสัตว์) เป็นเครื่องเป่าที่ทำจากเขาควายเหมือนกันแต่ไม่ได้ใช้ลิ้นสังข์ คือเป่าจากปลายเขามักจะใช้เป็นสัญญาณในการสื่อสารการเดินเรือสิ้นค้าที่มีน้ำไหลเชี่ยวและสายน้ำมีความคดโค้งจะมีการเป่าแตรสังข์ เพื่อไม่ให้เรือชนกัน ชาวเยอมีนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับการกำเนิดสังข์ และการกำเนิดสะไน คือเรื่อง พระเจ้าสร้างโลกกับความเป็นมาของสังข์และสะไน

ชาวเยอโบราณมีคำสอนเกี่ยวกับการเป่าสะไนและมีฤดูกาลสำหรับการเป่าสะไนไว้ว่า ถ้าจะเป่าสะไนต้องเป่าตั้งแต่เดือน 8 ค้อย (เดือนกรกฎาคมจะเข้าสิงหาคม) จนถึงเดือนอ้ายค้อย (เดือนธันวาคมจะเข้าเดือนมกราคม) ถ้านอกจากระยะเวลาดังกล่าวห้ามเป่าสะไน เพราะมันจะทำให้ "ฝนตก ฟ้าผ่ากลางวัน” หรือเกิดสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ขึ้นในหมู่บ้าน แต่ถ้าเป่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนจะเป็นการเป่าเพื่อบูชาหอยและยังเป็นการป้องกันไม่ให้ฟ้าผ่าด้วย ความเชื่อดังกล่าวมักจะพบเห็นในสังคมวัฒนธรรมอีสานทั่ว ๆ ไป เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หากนำมาทำเล่นเพื่อความสนุกสนานโดยไม่รู้จักกาลเทศะย่อมเป็นสิ่งไม่ดี จึงมีกฎข้อห้ามต่างๆ ไว้ ฉะนั้นการเป่าสะไนจึงต้องเป่าเฉพาะโอกาสที่สำคัญหรือในยามที่จำเป็นเท่านั้นจึงแสดงให้เห็นว่าสะไนคือเครื่องเป่าที่ศักดิ์สิทธิ์ไม่ใช่ของเล่นที่จะนำมาเป่าเพื่อความบันเทิงหรือเพื่อความสนุกสนาน การเป่าในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนแปดถึงเดือนอ้ายนั้นมีการให้เหตุผลตามความเชื่อว่า เป็นการเป่าเพื่อบูชาหอย (สังข์) เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาที่หอยกำลังผสมพันธุ์ถ้าเป่าในช่วงนี้จะทำให้หอยมีการเจริญพันธุ์และขยายพันธุ์ดี และอีกอย่างการเป่าสะไนจะทำให้ฝนตกหากเป่าในช่วงนี้ก็จะเป็นผลดีต่อพืชพันธุ์น้ำท่าอุดมสมบูรณ์แต่ถ้าเป่านอกฤดูกาลจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนอ้ายถึงเดือนสาม และช่วงนี้เป็นช่วงที่หอยจำศีลด้วยจึงห้ามเป่าสะไน

ตามหลักความเชื่อของชาวเยอที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอราษีไศล สะไน เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม หรือกิจกรรมที่สำคัญเท่านั้น เช่น พิธีกรรมบวงสรวงพญากตะศิลา การแข่งเรือยาว และเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ ไม่นิยมนำมาเป่าเล่นเพื่อผ่อนคลายหรือบันเทิงใดๆ ตามที่ครูเฒ่าเผ่าเยอได้เล่าติดต่อกันมาว่า สะไนเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และมีความสำคัญมาก ที่เป็นเครื่องเป่าอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู แม้กระทั่งในสังคมไทยก็นับถือว่า สังข์ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในพระราชพิธีที่สำคัญจะมีการเป่าสังข์ก่อน เพื่อเป็นการบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเหล่าทวยเทวดาทั้งหลาย ถ้าเป็นงานมงคลระดับชาวบ้านประชาชนทั่วไปก็มีการนำสังข์มาประกอบพิธี เช่น การตั้งศาลพระภูมิ การรดน้ำสังข์คู่แต่งงาน เป็นต้น เมื่อชาวเยอมีความเชื่อว่าสะไนกับสังข์มีความเกี่ยวข้องกัน จึงมีการเป่าสะไนเพื่อเป็นการบูชาสังข์ (ในภาษาเยอเรียก ซั้ง "ปรงซั้ง” แปลว่า "เป่าสังข์”)

นอกจากนี้แล้วยังมีการนำสะไนมาเป่าเพื่อบูชาพระแม่ธรณีและพระแม่คงคาในประเพณีการแข่งเรือ (ส่วงเรือ) หรือเมื่อมีการเดิน ทางไกลก็จะมีการเป่าสะไนก่อนออกเดินทางเพื่อให้เกิดโชคเดินทางปลอดภัยและได้รับความสำเร็จในการประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะถ้าเดินทางกลางป่าก็จะนำสะไนติดตัวไปด้วย เพราะชาวเยอเชื่อว่าสัตว์ป่าทั้งหลายถ้าได้ยินเสียงสะไนแล้วจะไม่

เข้ามาทำร้าย และถ้าเป่าสะไนจะเป็นการบอกกล่าวให้ทวยเทวดาอารักข์ทั้งหลายมาปกป้องดูแลไม่ให้เกิดอันตรายใด

ในสมัยโบราณมีเรื่องจากผู้เฒ่าเผ่าเยอว่า บรรพบุรุษของคนเยอถ้าจำเป็นต้องออกรบทำศึกสงครามกับเมืองไหนจะต้องมีการเป่าสะไนก่อนเพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย โดยเชื่อว่าเสียงของสะไนจะทำให้ได้รับชัยชนะกลับมาหรือถ้าหากแพ้ก็จะสามารถหนีเอาตัวรอดกลับมาได้

ปัจจุบันมีรูปปั้นพญากตะศิลาที่บึงคงโคก บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่เคารพของชาวเยอ ด้วยจิตใจที่ระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษชาวเยอในอำเภอราษีไศล ที่อุตสาหะ อดทน อพยพมาโดยทางเรือ จากแคว้นหลวงพระบางและเมืองอัตปือ แคว้นจำปาสัก ประเทศลาวล่องมาตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลจนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน จึงได้จัดงานรำลึกถึงพญากตะศิลา ผู้นำชนเผ่าเยอและมีการบวงสรวงในวันเพ็ญเดือนสามทุกปี

สร้างรายได้ให้กับตนเอง/ชุมชนอย่างไรบ้าง

การก่อตั้งวงดนตรีสะไนใจเยอขึ้นมานั้น นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไปแล้วก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อีกด้วย นายวิทิต กตะศิลา ผู้ริเริ่มก่อตั้งวงสะไนใจเยอ กล่าวว่า "การก่อตั้งวงสะไนใจเยอ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงแบบชาวเยอให้คงอยู่คู่ลูกคู่หลานสืบไป นับว่าเป็นการละเล่นที่แสดงถึงความสมัครสมานสามัคคีของชุมชน แต่ในระยะหลังมาได้มีการเชิญให้ไปแสดงยังส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่างๆ ทำให้เด็ก และชาวบ้านที่แสดงอยู่ในวงมีรายได้พิเศษ นอกจากการประกอบอาชีพหลักมากยิ่งขึ้น