ผู้ให้กำเนิดตะกร้าหวายมหาสอน

นางสมจิตร ป่านเดช

ผู้เชี่ยวชาญสาขาทัศนศิลป์ ด้านงานจักสาน


นางสมจิตร ปานเดร เกิดที่บ้านใหม่ข้างวัดมหาสอน ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2471 เป็นลูกคนที่ 5 ของนายเยี่ยม นางเคลือบ นิ่มนวล อายุ 19 ปี ได้สมรสกับนายจำรัส ปานเดช มีบุตรธิดา 8 คน ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา และทำอาชีพจักสานเป็นอาชีพเสริมรายได้ พักอาศัยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 5 บ้านใหม่พัฒนา ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

การศึกษา รับการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนวัดมหาสอน ตำบลมหาสอน อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี แล้วออกมาช่วยทำงานของครอบครัว

เป็นผู้หญิงชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งที่ทำมาหากินตามปกติ แต่ได้อาศัยเวลาที่ว่างจากการทำนามาทำอาชีพเสริมรายได้คือจักสาน เพราะมีประสบการณ์ที่ได้ถ่ายทอดมาจากบิดา ซึ่งมีเชื้อสายจีนได้ชื่อว่าทำเครื่องจักสานประเภท กระบุง ตะกร้าได้แข็งแรงทนทานและละเอียดสวยงามมาก นางสมจิตร ปานเดช ได้ฝึกหัดการจักสานงานไม้ไผ่ทุกชนิดจากบิดามาตั้งแต่ยังเล็กๆ จนสามารถทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ได้ทุกรูปลักษณะประกอบกับเป็นคนละเอียด ประณีต

ผลงานของ นางสมจิตร ปานเดช จึงสวยงามสะดุดตา เมื่อส่งเข้าประกวดก็จะได้รับรางวัลมากมาย จนกระทั่งมีร้านค้าหัตถกรรมพื้นบ้านในกรุงเทพฯ มาติดต่อรับผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายทั้งในกรุงเทพฯ และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย อาทิ บริษัทหัตถศิลป์จำกัด บริษัท ราศรีสยาม บริษัท อาร์ตออฟลิฟวิ่ง เป็นตัน พ.ศ. 2518 พัฒนากรอำเภอบ้านหมี่ ได้คัดเลือกให้เป็นตัวแทนสตรีไปดูงานด้านงานช่างสตรีในต่างจังหวัดหลายครั้ง และได้กลับมาตั้งกลุ่มงานจักสานบ้านใหม่พัฒนาขึ้นอย่างไม่เป็นทางการก่อนเริ่มให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีในหมู่บ้าน ครั้นปี พ.ศ.2522ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นอย่างเป็นทางการมีสมาชิก 18 คน ตนเองรับเป็นประธานกลุ่ม เริ่มหากองทุนเพื่อจะนำมาพัฒนาเครื่องมือรูปแบบ และลวดลายของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการจำหน่ายผลผลิตตัวย กองทุนนี้สามารถจัดหาเงินยืมให้แก่สมาชิกนำไปซื้อวัตถุดิบ เครื่องมือจักสาน ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนของตนเองไม่ต้องหยิบยืมจากที่อื่น จำนวนสมาชิกของกลุ่มก็เพิ่มจำนวนขึ้น สามารถส่งผลงานออกจำหน่ายได้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งส่งเข้าประกวดในงานเทศกาลต่างๆ ได้รับรางวัลเป็นอันมาก ทั้งในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เมื่ออายุมากขึ้นนางสมจิตร ปานเตชจะลงมือทำงานจักสานเองน้อยลง แต่ได้ใช้ประสบการณ์ที่เคยมีมา ถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลัง เพราะความที่มีใจรักงานจักสานอย่างแท้จริงรวมทั้งเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จึงสามารถถ่ายทอดงานจักสานลวคลายใหม่ๆ งามแปลกตาไม่ซ้ำกันออกมาอยู่เสมองานจักสานของกลุ่มสตรีบ้านใหม่พัฒนาจึงได้รับความนิยมจากผู้ใช้อย่างกว้างขวาง

ผลงานดีเด่น และเกียรติคุณที่ได้รับ

1. พ.ศ.2529 ได้รับรางวัลที่ 3 ในการประกวดเครื่องจักสาน ประเภทกระเป๋าสี่เหลี่ยมยกดอก ในงานส่งเสริมหัตถกรรม อำเภอโคกสำโรง จ.ลพบุรี

2. พ.ศ.2533 ได้รับรางวัลที่ 3 ในการประกวดเครื่องจักสาน ประเภทตะกร้าหูหิ้วรูปเปลหกมุม ยกลายดอก ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3. พ.ศ.2533 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และอันดับ 2 ในการส่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเข้าประกวดของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ฯ

4. พ.ศ.2533 ได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกดเครื่องจักสาน ประเภทตะกร้าสี่มุม ลายดอกของหอการค้าไทย กรุงเทพฯ

5. พ.ศ.2535 ได้รับรางวัลชนะเลิศเครื่องจักสานไม้ไผ่ผสมหวาย รูปตะกร้าทรงเปล หกมุมยกลายดอกทั้งใบ จากงานของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ครั้งที่ 8

6. พ.ศ.2527นางสมจิตรปานเดชด้รับคัดเลือกจากทางอำเภอบ้านหมี่ , ให้เป็นแม่ตัวอย่าง นับแต่ พ.ศ.2522 -ปัจจุบัน (พ.ศ.2536) ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานกลุ่มงานจักสานบ้านใหม่พัฒนา

นับได้ว่านางสมจิตร ปานเคช เป็นผู้เชี่ยวชาญต้านงานจักสานอย่างแท้จริงของจังหรัดลพบุรีประกอบกับไม่หวงวิชาจึงทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มสตรีของหมู่บ้าน เป็นการขยายความรู้และผลงานออกสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง ถือได้ว่านางสมจิตร ปานเดช เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่ชาวจังหวัดลพบุรีภาคภูมิใจ