การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัมราภรณ์ เพชรวาลี

แม้ว่าการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมืองจะทำให้ผู้ผลิตมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและเลี้ยงดูครอบครัว แต่หากผู้ผลิตได้รู้และเข้าใจโครงสร้างของต้นทุน และมีการบันทึกบัญชีต้นทุนอย่างครบถ้วน จะช่วยให้การตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้และทำให้มีกำไรมากขึ้นในที่สุด และเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ผลิตให้มีรายได้ที่เหมาะสม อันจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในอาชีพ

ซึ่งจากการศึกษาในเบื้องต้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมืองในพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน (OTOP) จักสานหวายมหาสอน ยังขาดความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงต้องดำเนินการศึกษาต้นทุนการผลิตและวิเคราะห์ผลตอบแทนทั้งจากการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมือง โดยมีส่วนร่วมของผู้ผลิต และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมือง อ. บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี