คุณประโยชน์ของไข่ผำ หรือ วูฟเฟีย (Wolffia)

คุณประโยชน์ของไข่ผำ หรือ วูฟเฟีย (Wolffia)


โลกกำลังตกอยู่ในสภาวะวิกฤตด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม จากวงจรการผลิตและการบริโภคอย่างไม่ยั่งยืนที่ทับถมมาอย่างยาวนานจนทำให้โลกรวน สภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง ในหลายประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารซึ่งกำลังทวีความรุนแรง ในขณะที่จำนวนประชากรโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากการประมาณการของสำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs) คาดการณ์ว่าเราจะต้องผลิตอาหารเพิ่มให้ได้อย่างน้อยถึง 70 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนประชากรโลกที่น่าจะพุ่งสูงขึ้นไปแตะหลักหมื่นล้านคนในปี 2050

แล้วเราควรจะเพาะปลูกอะไรจึงจะผลิตอาหารที่เลี้ยงประชากรโลกได้อย่างเพียงพอและไม่ทำร้ายโลกไปมากกว่านี้ “วูฟเฟีย” ชื่อวิทยาศาสตร์ Wolffia globosa หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ “ไข่น้ำ” หรือ “ผำ” พืชน้ำขนาดเล็ก อาหารพื้นบ้านไทยแต่โบราณ ที่ผู้คนทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมาประกอบเป็นอาหารพื้นถิ่น อาจจะเป็นหนึ่งในคำตอบ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ซึ่งมีความสนใจด้านพลังงานและการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ได้ทำการศึกษาความหลากหลายของพืชวงศ์แหน พืชดอกขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปบนผิวน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำนิ่งในประเทศไทย โดยอาศัยหลักฐานทางสัณฐานวิทยาและเชิงชีวโมเลกุลพร้อมทั้งศึกษาประโยชน์จากพืชตระกูลแหน พบว่าประเทศไทยมีอยู่หลายสายพันธุ์ หลายชนิดมีอัตราการเจริญรวดเร็วและมีปริมาณสารอาหารสูง จึงเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่สำคัญของสัตว์จำนวนมาก และเมื่อนำมาใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงสัตว์และปลาพบว่าเป็นแหล่งอาหารคุณภาพดี สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโต ช่วยให้สัตว์น้ำมีสีสวย ไข่ไก่มีปริมาณวิตามิน เอ สูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมสีเขียวและเป็นพลังงานชีวมวลได้อีกด้วย แหนหลายชนิดมีศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยดูดซับสารอาหารและสารมลพิษในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความเป็นไปได้ในการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบชีวภาพหมุนเวียน (biocircular) และในบรรดาพืชวงศ์แหนที่พบในประเทศไทย “ไข่น้ำ” หรือ “ผำ” นั้นมีความพิเศษที่น่าสนใจอย่างมาก

“ผำ” จัดเป็นพืชดอกขนาดเล็กที่สุดในโลก แตกต่างแหนชนิดอื่นตรงที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีราก และพบได้เฉพาะในแหล่งน้ำสะอาดเท่านั้น ซึ่งผลการศึกษาจากทีมวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 พบว่าผำมีปริมาณโปรตีนสูง เจริญเติบโตได้ไว ใช้ทรัพยากรการผลิตต่ำ



จากลักษณะเฉพาะและคุณประโยชน์อันโดดเด่นของผำที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของผำในการเป็น “อาหารแห่งอนาคต” แต่การเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากผำในประเทศไทยยังไม่ได้รับการพัฒนา จึงเริ่มศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงผำด้วยระบบเกษตรแม่นยำ จนถึงการใช้ประโยชน์จากผำในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและผลักดันให้ผำเป็น “อาหารแห่งอนาคต” สามารถต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ และเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย โดยดำเนินการในรูปแบบของธุรกิจสตาร์ทอัพ และได้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะและเร่งรัดการเติบโตด้านนวัตกรรมอาหาร SPACE-F ซึ่งก่อตั้งภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และมหาวิทยาลัยมหิดล จนได้ผลิตภัณฑ์อาหารจากผำที่เป็นยอมรับและเป็นทางเลือกใหม่ของกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจในอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารจากพืชทั้งภายในประเทศไทยและทั่วโลก




ที่มา  ::   https://science.mahidol.ac.th/



ผำ หรือ ไข่ผำ วัตถุดิบพื้นบ้านโปรตีนสูง

ไข่ผำ คือ


ผำนั้น เป็นพืชน้ำ มีสีเขียว เม็ดกลมขนาดเล็ก คล้าย ๆ ไข่ปลา มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.1-0.2 มิลลิเมตร กระจายคลุมเหนือผิวน้ำเป็นแพ มักจะขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง เช่น บึง และหนองน้ำธรรมชาติทั่วไป จัดเป็นพืชดอกไม่มีรากและใบ จะมีมากในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่มีน้ำไหลเวียน เวลาเก็บไข่ผำ ต้องใช้สวิงช้อนขึ้นมา แล้วล้างให้สะอาด ก่อนจะนำไปปรุงทำอาหาร เป็นพืชผักพื้นบ้านที่ชาวบ้านนิยมนำไปประกอบอาหารกันมานานตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น แกง ผัด หรือใส่เป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความหอม มัน อร่อย มากยิ่งขึ้นนั่นเอง



ไข่ผำนั้น จัดเป็นผักพื้นบ้านที่คนชนบทภาคเหนือ และอีสาน นิยมใช้เป็นอาหาร มีรสมัน มีโปรตีนสูงมาก ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง โดยปริมาณโปรตีน จะคล้ายคลึงกับถั่วเหลือง ซึ่งสูงกว่าไข่ และเนื้อ แต่ปริมาณโปรตีน จะไม่สม่ำเสมอขึ้นกับแหล่งที่อยู่ โดยจะแปรผันไปตามปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย



คุณค่าทางโภชนาการของไข่ผำ


ไข่ผำประมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 8 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

นอกจากนี้ ยังมีวิตามินA, B1, B2, วิตามินซี, ไนอะซิน และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด เช่น ลิวซีน, ไลซีน, วาลีน, ฟีนิวอลานีน, ธีโอนีน, ไอโซลิวซีน และมีเบต้าแคโรทีนสูงมาก ส่วนคลอโรฟิลล์ในผำ เป็นสารสีเขียว ที่พบในพืช โครงสร้างมีลักษณะคล้ายฮีม ที่อยู่ในฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเลือดนั่นเอง

ประโยชน์ของไข่ผำ


ไข่ผำจัดได้ว่า มีคุณค่าทางอาหารสูง ควรส่งเสริมให้มีการผลิต และบริโภคมากยิ่งขึ้น


รู้ไหมว่า? ไข่ผำนั้น มีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสียได้ โดยผำ จะช่วยให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ มีค่าสูงขึ้น ความเป็นกรดด่างอยู่ในระดับค่อนข้างเป็นกลาง และค่าความขุ่นของน้ำเสีย มีค่าต่ำลงได้ ไม่ควรใช้ไข่ผำจากการบำบัดน้ำเสียไปรับประทาน เพราะอาจมีสารเคมีอันตรายจากน้ำเสียสะสมในผำ ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ 




การขยายพันธุ์ และการเพาะเลี้ยงไข่ผำ


วัสดุที่เพาะเลี้ยงอาจเป็นโอ่ง อ่างน้ำ กะละมัง หรือท่อซีเมนต์ หากใช้ท่อซีเมนต์ ต้องเทปูนรองพื้น ป้องกันน้ำรั่ว ใส่ท่อระบายน้ำทิ้งไว้ เพื่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และแช่น้ำทิ้งไว้ให้บ่อหมดความเป็นปูน หรือให้บ่อจืดก่อน จึงจะเลี้ยงผำได้

พื้นที่ร่ม หรือหากจำเป็นต้องเลี้ยงกลางแดด ให้พรางแสงด้วยสแลน 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะช่วยให้ผำโตดี และให้โปรตีนสูงกว่าการเลี้ยงกลางแดดจัด


สามารถทำได้ 2 แบบ คือ เก็บครั้งเดียวแล้วเลี้ยงใหม่ เก็บสัปดาห์ละครั้ง และควรเก็บ ประมาณ 40% ของผำในบ่อเลี้ยง เพื่อให้ผำ เจริญเติบโตได้เพียงพอกับการรับประทานได้บ่อยครั้งนั่นเอง

หากเหลือจากรับประทาน สามารถเก็บให้คงความสด ในอุณหภูมิห้องได้ ไม่เกิน 2 วัน และเก็บในตู้เย็นได้ ประมาณ 1 สัปดาห์




CR    ::   https://www.sgethai.com/



ไข่ผำ จากวัตถุดิบอาหารพื้นบ้านสู่ Superfood ของโลกกับฉายา กรีนคาเวียร์

ไข่ผำ เป็นพืชน้ำ ลักษณะเป็นสีเขียวขนาดเล็กคล้ายไข่ปลา กระจายคลุมเหนือผิวน้ำเป็นแพ มีขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง เช่น บึง และหนองน้ำธรรมชาติทั่วไป โดยปกติจะมีมากในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่มีน้ำไหลเวียน ก่อนนำไปปรุงทำอาหารต้องล้างให้สะอาดเสมอ ไข่ผำ มักถูกนำไปประกอบอาหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น แกง หรือผัด บางที่ก็ใส่เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความหอม มัน อร่อย มากยิ่งขึ้น

นอกจากจะเป็นวัตถุดิบหลักของอาหาร แล้วเป็นตัวช่วยในการเพิ่มรสชาติ ไข่ผำ ยังมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารอย่างมากเลยทีเดียว ไข่ผำมีโปรตีนสูงมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง และโปรตีนของมันยังคล้ายกับของถั่วเหลืองอีกต่างหาก และในบางพื้นที่ สภาพแวดล้อม ทำให้ไข่ผำมีโปรตีนสูงมากกว่าไข่และเนื้อได้ด้วยเช่นกัน

ไข่ผำ 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 8 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย เส้นใย 0.3 กรัม แคลเซียม 59 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เหล็ก 6.6 มิลลิกรัม และยังมีวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง วิตามินซี ไนอะซิน และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด เช่น ลิวซีน ไลซีน วาลีน ฟีนิวอลานีน ธีโอนีน ไอโซลิวซีน และมีเบต้าแคโรทีนสูงมาก คลอโรฟิลล์ในผำ เป็นสารสีเขียวที่พบในพืช โครงสร้างมีลักษณะคล้ายฮีมที่อยู่ในฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเลือด

มีรายงานการวิจัยถึงฤทธิ์ เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการท้องผูก ฤทธิ์ต้านการติดเชื้อ ช่วยปรับสภาพร่างกายให้เป็นด่างในคนที่มีสภาวะเครียด หรือร่างกายมีความเป็นกรดจากอาหาร และช่วยรักษาภาวะซีดในคนที่เป็นโรคโลหิตจาง

ด้วยประโยชน์ที่มากล้นเกินกว่าจะเป็นพืชไร้ชื่อเสียงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ได้กำหนดนโยบายอาหารแห่งอนาคต (Future Food Policy) เป็นหนึ่งในนโยบายหลักเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆให้กับประเทศตลอดห่วงโซ่เกษตรและอาหารเป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วโลกในยุคนิวนอร์มอล (New Normal) เดินหน้าส่งเสริมพืชเศรษฐกิจตัวใหม่คือผำหรือไข่ผำหรือไข่น้ำ (Wolffia) ซึ่งเป็นพืชน้ำล้ำค่ามีฉายาว่า ”คาเวียร์เขียว (Green Caviar)” ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นสุดยอดซูเปอร์ฟู้ด (SuperFood) ของอาหารแห่งอนาคต (Future Food) โดยสนับสนุนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ



เหตุผลหลักที่ทำให้ “ไข่ผำ” กลายเป็น สุดยอดซูเปอร์ฟู้ด เพราะมีโภชนาการ (Nutrients) ครบถ้วนสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ โปรตีน นั่นเอง



ที่มา  : จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่โจ้