แผนงานดำเนินงาน

รูปแบบการทำโครงงานของ วิจารณ์ พานิช 2555

1. ระบุหัวข้อที่จะทำโครงงาน (Define) 2. วางแผน (Plan) 3. ดำเนินการ(Do) 4. ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(Review) 5. นำเสนอ (Presentation)

1. ระบุหัวข้อโครงการ

1.1 ประชุมโปรแกรมวิชาเพื่อกำหนดกิจกรรมและโครงการตอบสนองพันธกิจของ คณะ มหาวิทยาลัย

1.2 ร่างโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ กำหนดไตรมาส และระบุกลุ่มเป้าหมาย

2. ขั้นวางแผน

2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน วางแผนงานดำเนินงาน และพัฒนางานวิจัย

2.2 กิจกรรม PLC ระหว่างคณะครู อาจารย์ นักศึกษา ผู้นำชุมชน เพื่อศึกษาค้นคว้าแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

2.3 เลือกสัมภาษณ์นักเรียน แบ่งกลุ่มนักเรียน (ป.6 13 คน ม.1 13 คน รวม 26 คน แบ่ง 6 กลุ่มๆ ละ 4 คน) (หน้าที่สมาชิกกลุ่ม 1 คน อบรมการพัฒนาเว็บไซต์ 3 คนลงพื้นที่)

2.4 เลือกสัมภาษณ์นักศึกษา แบ่งกลุ่มนักศึกษา (นศ.จำนวน 54 คน แบ่ง 6 กลุ่มๆละ 9 คน) (หน้าที่สมาชิกกลุ่ม 4 คน อบรมพัฒนาเว็บไซต์ 5 คน ลงพื้นที่)

2.5 เตรียมความพร้อม กล้อง คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายในการพัฒนาเว็บไซต์ และการสื่อสาร

3. ขั้นดำเนินงาน

3.1 กิจกรรม PLC ครู อาจารย์ นักศึกษา ผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงโครงการและะวัตถุประสงค์ กำหนดวันลงพื้นที่ กำหนดแหล่งเรียนรู้และผู้ให้ข้อมูล กำหนดสมาชิกกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และกิจกรรมการดำเนินงาน

3.2 วางผนการลงพื้นที่ รวบรวมข้อมูล ถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล และการอบรมออกแบบเว็บไซต์ ปราชญ์ชาวบ้าน แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และกำหนดหน้าที่สมาชิกกลุ่ม

3.3 นักศึกษาออกแบบโครงร่างเว็บไซต์แหล่งเรียนรู้ และเตรียม workshop สำหรับอบรม

3.4 ลงพื้นที่ดำเนินงานตามโครงการโดยแบ่งนักศึกษาออกแเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล ถ่ายทำ สัมภาษณ์ เรียบเรียงข้อมูล และบันทึกข้อมูลรูปแบบไฟล์ต่างๆอย่างเป็นระบบ

กลุ่มที่ 2 อบรมนักเรียนและสร้างเว็บไซต์

สมัคร Gmail

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็บไซต์ / Google site / back end และ Fornt end

ออกแบบหน้าเว็บเพจ เมนู แทรกข้อมูล กำหนดชื่อไซต์

การเข้าระบบเพื่อแก้ไขงาน และการแก้ไขงานได้พร้อมกันระหว่าง

กิจกรรมหลังเว็บไซต์เสร็จ การเพิ่ม แก้ไข ลบ ข้อมูล (การอัพเดด) ภาระงานหลังจากอบรม

3.5 นักศึกษาทำแบบทดสอบออนไลน์ และแบบประเมินความพึงพอใจ

3.6 ประชุมหลังดำเนินงานตามโครงการ โดยนำเสนอผลการทำงาน สรุปผลงานแหล่งเรียนรู้ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์

ประเมินความรู้และทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน

ประเมินสื่อออนไลน์โดย ครู อาจารย์และชุมชน

ประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน และชุมชนที่มีต่อโครงการฯ

3.7 วิเคราะห์ผลการดำนเนินงานรูปแบบงานวิจัย และวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

4. ขั้นค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

4.1 เรียบเรียงผลงานดำเนินงานในรูปแบบงานวิจัย

4.2 ประชุมร่วมกับสถานศึกษาเพื่อเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ

4.3 ระดมสมองวิเคราะห์ กระบวนการ ขั้นตอน วิธีทำ เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

4.4 สรุปรายงานการวิจัย "การพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชนออนไลน์ที่เหมาะสมเพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา"

5. ขั้นเผยแพร่ผลการดำเนินงาน

5.1 เขียนบทความทางวิชาการเพื่อนำเสนอรูปแบบโครงการฯ

5.2 เผยแพร่บทความสู่สาธารณะชนผ่านเว็บไซต์

องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

1. ที่มาและความสำคัญ (บรรยายให้เห็นถึงความเป็นมาของการจัดทำแหล่งเรียนรู้....และความสำคัญของการพัฒนา.....ประโยชน์หรือผลกระทบที่จะตามมา)

2. วัตถุประสงค์ (วัตถุประสงค์ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับโครงการ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับสถานศึกษา)

3. นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น เล่าเรื่องโดยนักเรียน นำเที่ยว สาธิต บรรยายโดยเจ้าของพื้นที่ นำเสนอผลิต/ผลิตภัณฑ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ

4. อธิบายถึงขั้นตอน กระบวนการ วิธีทำ การดำเนินงาน จึงทำให้เกิดแหล่งเรียนรู้.....

5. แสดงถึงอัตราค่าบริการ ราคาสินค้าผลิตภัณฑ์ จำนวน ปริมาณ และระบุช่วงเวลาของราคา

6. ข้อมูลสถานที่ตั้ง ที่พัก การเดินทาง แผนที่ ที่อยู่ เบอร์โทร ติดต่อประสานงาน

7. ผู้จัดทำ นักเรียน นักศึกษา

8. ข้อมูลด้านอื่นๆ (สามารถเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม)

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มพัฒนาแหล่งเรียนรู้

จากสมาชิกกลุ่มดำเนินงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชนบนโลกออนไลน์กับมัคคุเทศก์น้อยหัวใจไอที จำนวน 9 คนดังนี้

คนที่ 1-2 : กำหนดสตอรีเรื่อง บทบรรยาย บทถ่ายทำ กำหนดคิวถ่ายภาพ ลำดับภาพ

คนที่ 3-4 : พิธีกรนำเสนอ บรรยาย สัมภาษณ์ จัดทำข้อมูลแหล่งเรียรู้ รูปแบบไฟล์ดิจิทัล

คนที่ 5-6 : ถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพอินเสิร์ท บันทึกเรียบเรียงภาพ และตัดต่อ

คนที่ 7-8 : จัดเตรียมอุปกรณ์การถ่ายทำ กำหนดสถานที่และติดต่อบุคคล

คนที่ 9 : เรียบเรียงและจัดทำข้อมูล ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว บนเว็บไซต์

หมายเหตุ บทบาทหน้าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมโดยภาพรวมของทีม

ตัวอย่างรายการ : ทุ่งแสงตะวัน

กรณีนักเรียนพาชมการผลิตไม้กวาดไผ่ บรรยายให้ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน

ตัวอย่างรายการ : ทุ่งแสงตะวัน

กรณีเด็กเข้าป่า มีบรรยายให้ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน

ตัวอย่าง Workshop แหล่งเรียนรู้

บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง

อำเภอพรานกระต่าย

น้ำตกคลองลาน

ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่

อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร

วิทยาศาสตร์ทั่วไป 5811202