การให้บริการ

ประกาศห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง 2567.pdf

ขั้นตอนการขอใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง

ขั้นตอนการขอใช้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนการใช้ห้องและเครื่องมือห้องวิจัย
SOPขั้นตอนประเมินผู้วิจัย130163.pdf

อัตราค่าบริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์

ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2563

คู่มือการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์

การจองใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์

แบบฟอร์มและปฏิทินการจองใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ออนไลน์

ตารางการให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ภาพรวมของห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง

ห้องปฏิบัติการวิจัยเซลล์และชีวโมเลกุล1 CE02403 - CE02404

ห้องปฏิบัติการวิจัยเซลล์และชีวโมเลกุล2 CE02405

ห้องปฏิบัติการวิจัยอณูชีววิทยา 1 CE02407

ห้องเตรียมตัวอย่างและเก็บตัวอย่างแช่เยือกแข็ง CE02408

ห้องปฏิบัติการวิจัยอณูชีววิทยา 2 CE02409 

ห้องปฏิบัติการวิจัยโรคติดเชื้อ CE02411

กิจกรรมที่ผ่านมา

ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย

ห้องปฏิบัติการวิจัย CE02403 (ห้องปฏิบัติการวิจัยเซลล์และชีวโมเลกุล (Cell culture and Molecular Laboratory) นำร่องยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย โดยมี ผศ.ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ ตำแหน่ง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และนางสาวพัชรินทร์ ใจข้อ ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ดูแลและประสานงาน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นห้องปฏิบัติการที่มีศักยภาพในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อพัฒนาความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ภายใต้นโยบายส่งเสริมความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและการขับเคลื่อน (พ.ศ.2562-2565) ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช. โดยทางห้องปฏิบัติการได้เข้าร่วมเป็นลูกข่าย ของม.เชียงใหม่ ในโครงกามหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2562

มหาวิทยาลัยพะเยาขับเคลื่อนการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยพะเยา 

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กลุ่มงานบริการวิชาการเพื่อสังคม โดยศูนย์บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์และตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดโครงการยกระดับการให้บริการและความปลอดภัยห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยพะเยาและโครงการจัดเตรียมความพร้อมการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐาน ESPReL ประจำปี 2563 โดยได้รับความร่วมมือจาก CMU SH&E มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เป็นผู้จัดการอบรม และถ่ายทอดสดด้วยเทคโนโลยี Cloud Video Conferencing (Zoom Meeting) 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย เจริญสิน สาขาวิชาโภชนาการ หนึ่งในหัวหน้าโครงการ กล่าวว่าโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรภายในและภายนอกคณะฯ ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้ทราบถึงการบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะฯและนโยบายของมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมให้มีความพร้อม และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ อันจะนำไปสู่การดำเนินการของห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การดำเนินงานวิจัยตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

โดยได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรจากโครงการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU SH&E) นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทธี สุรีย์ คณะวิทยาศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ทองท้วม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายเกี่ยวกับความสำคัญของมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยระบบประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist) และแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และแนวทางการลดการเกิดของเสียอันตรายด้วยหลักการ 4R การบริหารจัดการความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี การตอบโต้ในภาวะฉุกเฉิน และอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ การตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางกายภาพ และการทำแผนการบริหารจัดการ อีกทั้งให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เปิดประสบการณ์และเรียนรู้จากการชมนิทรรศการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ การมอบเอกสาร โปสเตอร์ความปลอดภัย อุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉิน โดยศูนย์บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์และตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์

โครงการดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล รักษาการแทนรองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และรองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานร่วมเปิดโครงการ มีผู้สนใจจากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการกว่า 300 คน ทั้งนี้ หากมีหน่วยงานในพื้นที่ใกล้เคียงสนใจศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและไฟล์สื่อสิ่งพิมพ์ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ สามารถติดต่อห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง (central Research Laboratory) คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม. พะเยา หรือติดต่อผ่าน FacebookFanpage ห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม. พะเยา


ห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง ชั้น 4 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2  ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทร. 062 549 1449   พัชรินทร์ ใจข้อ นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง :  ผู้ออกแบบเว็บไซต์และจัดทำระบบ