สาระที่ 1

พระพุทธศาสนา

ศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. เทวนิยม (นับถือพระเจ้า) เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู

2. อเทวนิยม (ไม่นับถือพระเจ้า) เช่น พุทธ

องค์ประกอบของศาสนา

1. ศาสดา

2. คำสอน พระคัมภีร์

3. นักบวช

4. ศาสนสถาน

5. พิธีกรรม

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา

1. สอนให้มีจุดมุ่งหมายของชีวิต

2. สอนให้เป็นคนมีเหตุผล

3. มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทย

4. เสริมสร้างขนบธรรมเนียม ประเพณี

5. ส่งเสริมด้านศิลปกรรม

6. เป็นที่มาของวัฒนธรรมภาษาและวรรณคดี

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ

พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน คนไทยส่วนใหญ่ยังคงนับถือมาตลอด จึงเป็นเหมือนสถาบันหลักของสังคมไทย ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมในด้านต่างๆ จึงกล่าวได้ว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทยดังนี้

1. ในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติไทย

ประชาชนร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนาแต่ทุกคนก็มีไมตรีจิตต่อผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ ในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

2. เป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย

เนื่องจากความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี มีความผูกพันกันอย่างมาก และได้หล่อหลอมให้วิถีชีวิตของคนไทยเป็นผู้มีจิตใจแจ่มใส มีน้ำใจ กตัญญู อดทน

3. เป็นศูนย์รวมจิตใจให้คนไทยมีความสามัคคี

หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาสอนให้คนประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม โดยมีความรัก ความสามัคคี มีความเมตตาช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากให้พ้นทุกข์และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

4. เป็นหลักในการพัฒนาประเทศชาติ

ในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญ สิ่งสำคัญของพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ได้แก่ การมีสุขภาพแข็งแรง มีคุณธรรม สติปัญญาดี ข้อสำคัญจะต้องมีความสามัคคี มีหลักพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

5. เป็นหนึ่งในสามของสถาบันหลักของชาติไทย

ที่คนไทยทุกคนยอมรับนับถือและยึดมั่นหวงแหน ได้แก่ สถาบันของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งสถาบันทางพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักหนึ่งของสังคมไทย ที่คนไทยต่างให้การยอมรับมาแต่โบราณและมีการสืบทอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้

สังคมศึกษา ป.6

ภาพประกอบจาก http://vasuniti.blogspot.com/2012/07/blog-post.html