ความรู้ความสามารถเบื้องต้น

ความรู้ความสามารถพิเศษ

            ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากผู้บริหารโรงเรียนให้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ตั้งแต่บรรจุเข้ารับราชการ  ได้รับการฝึกอบรมทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา จึงความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้เด็กได้ผลเป็นอย่างดี  โดยความรู้ความสามารถพิเศษเฉพาะที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน มีดังนี้

1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย  

โดยการจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญบูรณาการการเรียนรู้ให้สอดคล้องและเท่าทันยุคสมัย โดยนำปรัชญาและทฤษฎีการเรียนรู้มาออกแบบการจัดการเรียนรู้จนเกิดเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของตนเองที่มีชื่อว่า [KAN]3 Model และได้เผยแพร่และขยายผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้กับเพื่อนครูในโรงเรียนและครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ตลอดจนเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์การจัดการเรียนรู้ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าศึกษากว่าสามหมื่นคน ส่งผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ครูผู้สอนยอดเยี่ยม Active Teacher ระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ประจำปีการศึกษา 2560 ครูผู้นำนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2560 และครูดีเด่นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับจังหวัด จากคุรุสภา ปีการศึกษา 2561 

2) การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้  

สามารถผลิตสื่อการสอนที่มีคุณภาพ  เช่น  ชุดกิจกรรม บทเรียนสำเร็จรูป  แบบฝึกทักษะ  นอกจากนี้ยังใช้การวิจัยในชั้นเรียน  เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน  จนส่งผลให้นักเรียนได้รับผลงานในระดับประเทศ  ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และระดับจังหวัด  เช่น นักเรียนเยาวชนดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2561 อาสายุวกาชาดดีเด่น จากสภากาชาดไทย ประจำปี 2558 รางวัลเหรียญทอง โครงงานวิทยาศาสตร์ประภททดลอง ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 67 รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันทักษะทางวิชาการนานาชาติ วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา เป็นต้น 

3) ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 

มีความสามารถพิเศษในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ ได้รับรางวัลครูผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ระดับประเทศ 3 ปีซ้อน(2017-2019)  โดยนำเครื่องมือ  ICT  ที่ได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและฝึกอบรมจากหน่วยพัฒนาต่างๆ มาผลิตสื่อการเรียนการสอน  ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ส่งผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-Net)  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ  5  ปีติดต่อกัน  ในปีการศึกษา 2556-2560 และได้พัฒนาหนังสือการ์ตูนประวัติวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและความดัน  จำนวน  9  เล่ม โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วาดภาพการ์ตูนสีสันสดใส  น่าสนใจ  มีเนื้อหาเกี่ยวการการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ การนำความรู้ไปใช้และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สอดแทรกปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  

นอกจากนี้ได้จัดทำเว็บไซต์ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ https://sites.google.com/a/abc.ac.th/science/ และสร้างFan page “ห้องเรียนวิทยาศาสตร์KruKAEN” เพื่อบริหารจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนและสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 


4)  ความสามารถด้านการใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน 

สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทย เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อความหมายได้ในระดับดี และได้นำเสนองานวิชาการในระดับนานาชาติ อย่างสม่ำเสมอ 

5)  การเป็นวิทยากรอบรมทางด้านวิทยาศาสตร์  

ได้แก่ วิทยากรโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเตรียมทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-Net)  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  วิทยากรครูพี่เลี้ยงศูนย์สะเต็มศึกษา (STEM Education)ของศูนย์เครือข่ายสะเต็มศึกษา สสวท. โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ วิทยากรการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โรงเรียนมาตรฐานสากลโดยใช้รูปแบบบันได 5 ขั้น วิทยากรอบรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา วิทยากรอบรมการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เป็นคณะทำงาน 

กองบรรณาธิการกิจ จัดทำแผนการเรียนรู้และสื่อการเรียนการสอนเพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) วิชาวิทยาศาสตร์ 

กองบรรณาธิการกิจ จัดทำแผนการเรียนรู้และสื่อการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) เป็นต้น 

ตำแหน่ง / กิจกรรมอื่น (ถ้ามี)

·    คณะกรรมการตัดสินในงาน การประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน กิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาการและการประกวดสถานศึกษาที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนดีเด่น ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 รอบระดับประเทศ

·    บรรณาธิการกิจจัดทำ กิจกรรมการเรียนรู้ "อนุรักษ์ช้าง"  โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ประจำปี 2565

·    บรรณาธิการกิจ Active Learning และ Learning los ประจำปี 2565 โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

·    บรรณาธิการกิจจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และสื่อการสอนเพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปี 2562  โดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

·    บรรณาธิการกิจปรับปรุงคู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL)

โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

·    บรรณาธิการกิจหลักสูตรอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและแก้ปัญหา

โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)

·    บรรณาธิการกิจหลักสูตรอบรมการสอนปัญญาประดิษฐ์ด้วยแพลตฟอร์ม CiRA CORE ระดับประถมศึกษา (Artificial inteligence Deep Learning by CiRA CORE Platform in Primary School) โดย สถาบันเทคโนโลยีพระขอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

·    การประชุมพิจารณาร่างและชี้แจงแนวทางการจัดกิจกรรมหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ Robotics and Automation

โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)

·    คณะทำงานหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ.2564

โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันแลปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) 

·    คณะทำงาน พิจารณาเพื่อหลอมตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

·    วิทยากรอบรมครู 5 จังหวัดภาคตะวันออก กิจกรรมการเรียนรู้ "อนุรักษ์ช้าง"   โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และถวายงาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

·    วิทยากร อบรม การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

·    วิทยากร อบรม หลักสูตรอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและแก้ปัญหา โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)

·    วิทยากร อบรม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ UNPLUGGED CODING โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)

·    วิทยากรแกนนำการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding Core Trainer: CCT) รุ่นที่ 2  โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)

·    ผู้เชี่ยวชาญโครงการยกระดับโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.

ประจำปีการศึกษา 2565-2568

·    หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ

·    เลขานุการโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and mathematics program : SMP) โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ