คำอธิบายรายวิชาศิลปศึกษา


ศ ๑๑๑๐๑ ศิลปะ ดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๘๐ ชั่วโมง

ทัศนศิลป์

ศึกษา วิเคราะห์ รูปร่าง ลักษณะ ขนาดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ในธรรมชาติและ

สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว ฝึกทักษะการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ดินเหนียว ดินนำมัน ดินสอสี พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีนํ้ามัน สร้างงานทัศนศิลป์ ทดลองการใช้สีนํ้าโปสเตอร์ สีเทียน สีจากธรรมชาติ ที่มีในท้องถิ่น การวาดภาพระบายสีตามความรู้สึกของตนเอง การระบุงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ดนตรี

ศึกษา วิเคราะห์ การกําเนิดของเสียง ลักษณะของเสียงดังเบา และความช้าเร็วของจังหวะ การท่องบทกลอน การร้องเพลงง่าย ๆ การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรี การร้องเพลง การเคาะจังหวะ

การเคลื่อนไหวประกอบเพลง การบอกเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน บทเพลงกล่อมเด็ก บทเพลงประกอบการละเล่น การเล่า การระบุที่มาของบทเพลงในท้องถิ่น ความน่าสนใจของบทเพลงในท้องถิ่น

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

นาฏศิลป์

ศึกษา การเลียนแบบการเคลื่อนไหว ลักษณะต่างๆ ของธรรมชาติ คน สัตว์ สิ่งของ

การแสดงท่าทางง่าย ๆ โดยใช้ภาษาท่า การแสดงประกอบเพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติสัตว์ การเป็นผู้ชมที่ดี การระบุ การบอก การเล่น การละเล่นของเด็กไทย การแสดงนาฏศิลป์ การเห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย การชื่นชมและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสารและเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

รหัสตัวชี้วัด

ศ ๑.๑ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ , ป.๑/๓ , ป.๑/๔ , ป.๑/๕ ศ ๑.๒ ป.๑/๑ ศ ๒.๑ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ , ป.๑/๓ ,

ป.๑/๔ , ป.๑/๕ ศ ๒.๒ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ ศ ๓.๑ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ , ป.๑/๓ ศ ๓.๒ ป.๑/๑ , ป.๑/๒

รวม ๑๘ ตัวชี้วัด


ศ ๑๒๑๐๑ ศิลปะ ดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เวลา ๘๐ ชั่วโมง

ทัศนศิลป์

ศึกษา วิเคราะห์ การบรรยาย รูปร่าง รูปทรงที่พบในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทัศนธาตุและงานทัศนศิลป์ เรื่องเส้น สี รูปร่าง และรูปทรง เรื่องราว การเลือก สร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้ เส้น เช่น งานวาด งานปั้นและงานพิมพ์ภาพ รูปแบบงานโครงสร้างเคลื่อนไหว การฝึกทักษะการใช้วัสดุ อุปกรณ์ การสร้างงานทัศนศิลป์ 3 มิติ การสร้างภาพปะติดโดยการตัดหรือ ฉีกกระดาษ การวาดภาพ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวของตนเองและเพื่อนบ้าน การบอกความสำคัญของงานทัศนศิลป์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน การอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ประเภทต่าง ๆ ในท้องถิ่นโดยเน้นถึงวิธีการสร้างงานและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้

ดนตรี

ศึกษาการจำแนกแหล่งกําเนิดของเสียงที่ได้ยิน คุณสมบัติของเสียง สูงตํ่า - ดังเบา ยาวสั้น

ของดนตรี สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อกําเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ลักษณะของเสียงดังเบา และความช้าเร็วของจังหวะ ความเกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การเคาะจังหวะหรือการเคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเพลง การร้องเพลงง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับวัย

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

นาฏศิลป์

ศึกษา วิเคราะห์การบอกความหมายและความสำคัญของเพลงปลุกใจ เพลงสอนใจ ความสัมพันธ์ของเสียงร้อง เสียงเครื่องดนตรีในเพลงท้องถิ่นโดยใช้คำง่าย ๆ การระบุมารยาทในการชมการแสดง การเล่น การละเล่น การเคลื่อนไหวขณะอยู่กับที่และการเคลื่อนที่อย่างมีรูปแบบ การเคลื่อนไหวที่สะท้อนอารมณ์ของตนเองอย่างอิสระ ท่าทาง เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด ท่าทางประกอบจังหวะอย่างสร้างสรรค์ การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบจังหวะ การแสดงและการเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีของท้องถิ่นในโอกาสพิเศษ การละเล่นพื้นบ้าน การเชื่อมโยงการละเล่นพื้นบ้านกับการดำรงชีวิตของคนไทย การระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้าน

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสารและเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

รหัสตัวชี้วัด

ศ ๑.๑ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ , ป.๒/๕ , ป.๒/๖ , ป.๒/๗ , ป.๒/๘

ศ ๑.๒ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ ศ ๒.๑ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ , ป.๒/๕

ศ ๒.๒ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ ศ ๓.๑ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ , ป.๒/๕

ศ ๓.๒ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓

รวม ๒๕ ตัวชี้วัด



ศ ๑๓๑๐๑ ศิลปะ ดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๘๐ ชั่วโมง

ทัศนศิลป์

ศึกษา วิเคราะห์ การบรรยาย รูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ ระบุ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สร้างผลงานเมื่อชมงานทัศนศิลป์ การบรรยายเหตุผลและวิธีการในการสร้างงานทัศนศิลป์ โดยเน้นถึงเทคนิคและวัสดุ อุปกรณ์ การจำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่าง ๆในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ โดยเน้นเรื่อง เส้น สี รูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานปั้น การวาดภาพ การระบายสีสิ่งของรอบตัว การถ่ายทอดความคิดความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว การระบุสิ่งที่ชื่นชมและสิ่งที่ควรปรับปรุงในงานทัศนศิลป์ของตนเอง การระบุ และการจัดกลุ่มของภาพตามทัศนธาตุที่เน้นในงานทัศนศิลป์นั้น ๆ การบรรยายลักษณะรูปร่าง รูปทรงในงานการออกแบบสิ่งต่าง ๆ ที่มีในบ้านและโรงเรียน การเล่าถึงที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น การอธิบายเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ดนตรี

ศึกษา วิเคราะห์ การระบุรูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรี ที่เห็นและได้ยินในชีวิตประจำวัน ลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของดนตรีในท้องถิ่น ความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีต่อการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนเสียง และจังหวะเคาะ การบอกบทบาทหน้าที่ของเพลงที่ได้ยิน การขับร้องและบรรเลงดนตรีง่าย ๆ การเคลื่อนไหวท่าทางสอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงที่ฟัง การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี เสียงขับร้องของตนเองและผู้อื่น การนำดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

นาฏศิลป์

ศึกษา วิเคราะห์ การสร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ รำวงมาตรฐาน เพลงพระราชนิพนธ์ สถานการณ์สั้น ๆ สถานการณ์ที่กําหนด การแสดงท่าทางประกอบเพลงตามรูปแบบนาฏศิลป์ การเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของผู้แสดงและผู้ชม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการแสดงที่เหมาะสมกับวัย การบอกประโยชน์ของการแสดงนาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน การเล่าการแสดงนาฏศิลป์ที่เคยเห็นในท้องถิ่น การระบุสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์ การอธิบายความสำคัญของการแสดงนาฏศิลป์

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสารและเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

รหัสตัวชี้วัด

ศ ๑.๑ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ , ป.๓/๕ , ป.๓/๖ , ป.๓/๗ , ป.๓/๘ , ป.๓/๙ , ป.๓/๑๐

ศ ๑.๒ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ ศ ๒.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ , ป.๓/๕ , ป.๓/๖ , ป.๓/๗

ศ ๒.๒ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ ศ ๓.๑ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ , ป.๓/๕ ศ ๓.๒ ป.๓/๑ ,

ป.๓/๒ , ป.๓/๓

รวม ๒๙ ตัวชี้วัด