การฝึกภาคปฏิบัติ

รายละเอียดการฝึกภาคปฏิบัติ

การฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาการศึกษาในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษา ถึงพร้อมด้วยความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และทักษะ (Skill) ทางสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งคุณธรรม และจริยธรรมทางวิชาชีพ โดยเฉพาะการฝึกภาคปฏิบัตินั้น จะช่วยให้นักศึกษาเกิดทักษะในการปฏิบัติงาน และมีความพร้อมในการนำความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สังคมสงเคราะห์ภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงเมื่อจบการศึกษา รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีของการเป็นนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพต่อไปในอนาคต

การฝึกภาคปฏิบัติ ๑ (สค.๒๐๒) จำนวน ๖ หน่วยกิต ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการทางสังคมสงเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เฉพาะรายและกลุ่มชนผ่านการทำงานผสมผสานในระดับองค์กร โดยอาศัยพื้นฐานแนวคิด ทฤษฎี หลักการ วิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ทักษะทางวิชาชีพ โดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทั้งรูปแบบและวิธีการให้บริการอย่างมีมาตรฐาน และจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ( ฝึกภาคสนาม ๓๖๐ ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา )

โดยการฝึกภาคปฏิบัติ ๑ เป็นการฝึกเกี่ยวกับการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย และกรณีศึกษาในรายที่มีปัญหาพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ ๑

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ

การฝึกภาคปฏิบัติ ๒ (สค.๓๐๑) จำนวน ๖ หน่วยกิต ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการทางสังคมสงเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ชุมชนและกลุ่มชน โดยประยุกต์ใช้ทักษะ หลักการ แนวคิดและทฤษฎีสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสาน ในการทำงานชุมชนหลากหลายลักษณะทั้งเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบท ชนบทชุมชนแออัดกลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ ครอบคลุมการศึกษาและการวิเคราะห์ชุมชน การวางแผน การปฏิบัติการตามแผนงาน การประเมินผล การพัฒนากลยุทธ์ในการทำงานกับชุมชน และการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและจริยธรรมทางวิชาชีพ (ฝึกภาคสนาม ๓๖๐ ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา)

โดยการฝึกภาคปฏิบัติ ๒ เป็นการฝึกร่วมกับชุมชนเมืองแนวตั้ง แฟลตคลองจั่น เขตบางกะปิ ถึงปัญหาภายในชุมชนความเป็นอยู่และความต้องการของคนในชุมชน

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ

การฝึกภาคปฏิบัติ ๓ (สค.๔๐๑) จำนวน ๖ หน่วยกิต ฝึกให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎี หลักการ วิธีการทางสังคมสงเคราะห์อย่างผสมผสาน ผ่านโครงการทางสังคมเพื่อฝึกปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ทั้งกลยุทธ์และกลวิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์โดยตรงและโดยอ้อม ทั้งระดับจุลภาคเชื่อมโยงกับมัชฌิมภาคและระดับมหภาค ในองค์การสังคมสงเคราะห์ทั้งในและต่างประเทศ หรือการทำงานสังคมสงเคราะห์ตามประเด็นสำคัญทางสังคม อย่างมีมาตรฐาน และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ (ฝึกภาคสนาม ๕๗๐ ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา)

โดยการฝึกภาคปฏิบัติ ๓ เป็นการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการของศูนย์ปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์ของจั่น และของชุมชนเมืองแนวตั้ง แฟลตคลองจั่น เขตบางกะปิ

นักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติ ณ ศูนย์ปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์คลองจั่น ปีการศึกษาละ 30-40 คน นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังเป็นสถานที่ในการศึกษาดูงาน และการทำกิจกรรมนักศึกษา ทั้งภายใน และภายนอกคณะและมหาวิทยาลัย

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ ๓

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ ๓

ภาพตัวอย่าง การฝึกภาคปฏิบัติ ๓