หลวงพ่อโตและวัดเขียนบูรพาราม

เชื่อว่าหนึ่งในเรียนรู้ในอำเภอขุขันธ์ที่หลายคนค้นหาในกูเกิ้ลจะต้องมีวัดเขียนบูรพาราม วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ลูกหลาน และนักท่องเที่ยวจะต้องแวะชม และไม่ลืมสักการะขอพรจากหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปั้นปิดทองปางมารวิชัย อย่างแน่นอน

ต้องขอเล่าย้อนถึงความเป็นมาของเมืองขุขันธ์สักเล็กน้อย เพราะหลวงพ่อโต วัดเขียน ตากะจะ (เจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก) นั้น มีความเกี่ยวพันกันกับความเป็น “เมืองขุขันธ์” อย่างเหลือเชื่อ

อำเภอขุขันธ์ เป็นอำเภอที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ชนชาวเขมรเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยในท้องที่ชายแดนแถบเทือกเขาพนมดงรัก หมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน หัวหน้าชาวเขมรป่าดงนามว่าตากะจะ อาสาจับช้างเผือกของพระเจ้าเอกทัศที่หลงเตลิดมาแถบเทือกเขาพนมดงรัก ประกอบกับความดีความชอบด้านการช่วยรบรากับข้าศึกต่างเมือง ทำให้ตากะจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน” และยกฐานะหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนเป็น “อำเภอขุขันธ์”

เมืองขุขันธ์มีเจ้าเมือง 9 คน และเจ้าเมืองคนที่ 2 นามว่า “เชียงขัน” (พ.ศ. 2323) ได้นำชาวบ้านอพยพมาตั้งเมืองใหม่บริเวณบ้านพราน (ที่ตั้งวัดเขียนในปัจจุบัน) เมื่อทำการหักร้างถางพงเพื่อสร้างบ้านเมือง ก็ได้พบหินสีแดงมีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมาจากจอมปลวก จึงได้ระดมชาวบ้านช่วยกันสร้างฐานพระ และสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยขึ้น ทั้งสร้างหลังคาครอบพระพุทธรูป (โบสถ์) สร้างกุฏิ และนิมนต์พระมาอยู่ประจำวัด หลวงพ่อโตและวัดเขียน จึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่บัดนั้น

เมืองขุขันธ์มีเจ้าเมือง 9 คน และเจ้าเมืองคนที่ 2 นามว่า “เชียงขัน” (พ.ศ. 2323) ได้นำชาวบ้านอพยพมาตั้งเมืองใหม่บริเวณบ้านพราน (ที่ตั้งวัดเขียนในปัจจุบัน) เมื่อทำการหักร้างถางพงเพื่อสร้างบ้านเมือง ก็ได้พบหิน สีแดงมีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมาจากจอมปลวก จึงได้ระดมชาวบ้านช่วยกันสร้างฐานพระ และสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยขึ้น ทั้งสร้างหลังคาครอบพระพุทธรูป (โบสถ์) สร้างกุฏิ และนิมนต์พระมาอยู่ประจำวัด หลวงพ่อโตและวัดเขียน จึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่บัดนั้น

โบสถ์วัดเขียนบูรพารามอำเภอขุขันธ์

วัดเขียนบูรพาราม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 16 วันที่ 25 มกราคม 2533 เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 53 ตารางวา สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 9 ได้อนุญาตให้ดำเนินการบูรณะครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2544 ซึ่งการบูรณะ ครั้งที่ 4 นี้ ได้รับอนุญาตให้บูรณะพระอุโบสถ องค์หลวงพ่อโต และมีการหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้นสำหรับประชาชนได้มีโอกาสปิดทอง โดยดำเนินการเททองหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้น เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2544 และทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 (ข้อมูลจากเว็บไซต์วัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์)


ภายนอกพระอุโบสถ ทั้ง 4 มุม มีธาตุในศิลปะล้านช้างตั้งอยู่ ปัจจุบันเหลือเพียง 2 องค์

ในส่วนของโบสถ์นั้นก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาเป็นโครงไม้สังกะสี ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบ แกะสลักเป็นลายพันธ์พฤกษา ส่วนที่จั่แกะสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งแกะสลักขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์

^
พระธาตุศิลปะล้านช้าง


< จั่วหน้าโบสถ์

บริเวณด้านข้างของโบสถ์

บริเวณด้านหลังของโบสถ์

บริเวณด้านหน้าของโบสถ์

นอกจากอุโบสถที่งดงามประณีตและทรงคุณค่าแล้ว พระภิกษุสงฆ์ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ยังช่วยกันบูรณะ ทำความสะอาด พัฒนาวัดให้มีความสวยงาม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ให้ลูกหลานชาวขุขันธ์และนักท่องเที่ยว ได้มาเยี่ยมชมและสักการะหลวงพ่อโตเพื่อความเป็นสิริมงคล

บริเวณวัดมีการจัดมุมสำหรับเรียนรู้สุภาษิต คำพังเพย มีความสะอาดร่มรื่นและสวยงาม

วัดเขียนบูรพาราม ตั้งอยู่ ณ บ้านพราน หมู่ 4 ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ หากเดินทางมาจากตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อถึงสี่แยกไฟแดงศาลหลักเมืองแล้วให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร หากเดินทางมาจากถนนหลวงเส้น 24 ตัดเข้าตัวเมืองอำเภอขุขันธ์ วิ่งขึ้นไปทางจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อถึงสี่แยกไฟแดงศาลหลักเมืองให้เลี้ยวขวา

หากมาอำเภอขุขันธ์ในช่วงปีใหม่ หากอยากทำบุญเสริมดวงชะตา ทางวัดจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในวันที่ 31 ธันวาคม ส่วนในเดือนเมษายน ระหว่างวันที่ 10 – 11 จะมีงานสมโภชฉลองผ้าสไบ สรงน้ำพระ รดน้ำขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ (วันปีใหม่ไทย)


มาขุขันธ์...ต้องมาให้ถึงขุขันธ์


ไหว้ตากจะ สักการบูชาหลวงพ่อโตวัดเขียน

ตำแหน่งที่ตั้ง : บ้านพราน หมู่ 4 ตำบลห้วยเหนืออำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

การเดินทาง : ใช้เส้นทาง ถนนศรีสะเกษ - ขุขันธ์ จากสี่แยกไฟแดงกลางเมืองขุขันธ์ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร




เนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางประไพพักตร์ แท่นแก้ว

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางประไพพักตร์ แท่นแก้ว