แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะ รายวิชาศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความลับของเส้นด้าย เวลา 1 ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ศ.1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด

อภิปรายเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถบอกได้ว่าสีคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่สีและกี่วรรณะ ได้ (K)

2. นักเรียนสามารถสร้างผลงานจากการระบายสี ตามจินตนาการได้ (P)

3. นักเรียนตั้งใจเรียน รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย (A)

3. สาระสำคัญ

สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเราทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่นสะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดงเมื่อมีแสงส่องกระทบก็จะดูดทุกสีสะท้อนแต่สีแดงทำให้เรามองเห็นเป็นสี แดง

4. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

-ความสามารถในการคิด

-ความสามารถในการแก้ปัญหา

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

-ซื้อสัตย์ สุจริต -มีวินัย

-ใฝ่เรียนรู้

7. ความเข้าใจที่คงทน

สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

8. จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทักษะศตวรรษที่ 21

-การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการแก้ปัญหา

-ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ

-การริเริ่มสร้างสรรค์และการเป็นตัวของตัวเอง

-การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต และความรับผิดชอบเชื่อถือได้

-ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ

คุณลักษณะสำหรับศตวรรษที่ 21

-คุณลักษณะด้านการทำงาน ได้แก่ การปรับตัว ความเป็นผู้นำ

9. ชิ้นงาน / ภาระงาน

การวาดภาพระบายสีในห้องเรียน

10. การจัดการเรียนรู้

ขั้นนำ

1. ครูกล่าวทักทายนักเรียน สวัสดีครับ/ค่ะ

2. ครูทักทายนักเรียน และถามนักเรียนในแนวคำถามดังนี้

- ผ้าทอกะเหรี่ยงคืออะไร

- ในชุมชนของนักเรียนมีการทอผ้าบ้างไหม

ขั้นสอน

2. ครูให้นักเรียนนำผ้าทอกะเหรี่ยง(อาจจะเป็นย่าม เสื้อ ) ขึ้นมา แล้วชี้แต่ละจุดให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนบอกว่าจุดใช้สีนี้คือสีอะไร

3. ครูอธิบายว่าผ้าทอกะเหรี่ยงมีลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร เราสามารถไปเรียนรู้การทอผ้าได้จากที่ไหนบ้าง และเรามีแนวทางในการอนุรักษ์ผ้าทอกะเหรี่ยงของเราได้อย่างไร (

4. ครูแจกกระดาษให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น แล้วให้นักเรียนออกแบบผ้าทอกะเหรี่ยงตามจินตนาการของนักเรียน พร้อมทั้งตั้งชื่องานออกแบบของตัวเอง

5. ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอผลงานของตัวเอง

ขั้นสรุป

6. ครูให้นักเรียนสรุปว่าวันนี้ได้อะไรจากการเรียนในวันนี้

7. ครูสรุปเพิ่มเติมว่า การที่เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราต้องทำด้วยความตั้งใจและวางแผนงานก่อนเสมอ การทอผ้าทอกะเหรี่ยงเช่นกัน ในปัจจุบันเราเห็นได้จากหลายสื่อไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram หรืออื่นอีกมากมายว่าผ้าทอกะเหรี่ยงของเราได้ถูกนำไปประยุกต์เป็นของใช้ ของเล่น เสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งสิ่งเหล่าเป็นสิ่งที่ดีที่เราจะทำให้ผ้าทอกะเหรี่ยงของเราเป็นที่รู้จักของทั่วโลก แต่เราก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ไม่ลืมรากเหง้าหรือความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอเราด้วย

11. การวัดและประเมินผล

11.1 วิธีการวัดและเครื่องมือ

เป้าหมาย

หลักฐาน

วิธีการ

เครื่องมือวัด

สาระสำคัญ

เข้าใจการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน มีทักษะการทำงานร่วมกัน ทำงานอย่างเป็นระบบและมีความคิดสร้างสรรค์

-ใบงาน

-ตรวจใบงาน ความสวยงาม ความสะอาดเรียบร้อย

-แบบสังเกต

-ใบงาน

คุณลักษณะ

1. ซื้อสัตย์ สุจริต

2. มีวินัย

3. ใฝ่เรียนรู้

-ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

-สังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน

-แบบสังเกต

-แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

11.2 เกณฑ์การวัด

1. แบบประเมินผลงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 % ขึ้นไป

2. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 % ขึ้นไป

3. แบบทดสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 % ขึ้นไป

4. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 % ขึ้นไป

5. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้าน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 % ขึ้นไป

12. การจัดบรรยากาศเชิงบวก

12.1 ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่

12.2 ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานตามความถนัดของตนเอง

13. สื่อ / แหล่งเรียนรู้

13.1 ผ้าทอกะเหรี่ยง

13.2 บัตรภาพการประยุกต์ผ้าทอกะเหรี่ยง

13.3 โรงเรียนบ้านแม่วะหลวง

14. ความเห็นและข้อเสนอแนะของครูนิเทศ / ผู้ที่ได้รับมอบหมาย / หัวหน้าสถานศึกษา

................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ......................................................

(.................................................)