แหล่งเรียนรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

แหล่งเรียนรู้ มนุษย์สร้างขึ้น

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

  ในบริเวณที่ตั้งจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานเมืองโบราณในลุ่มแม่น้ำปิง คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมือง ไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองนครชุม และเมืองชากังราว เพราะความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปิง ทำให้เกิดการตั้งบ้านเมืองทำมาหากิน ซึ่งแต่ละเมืองอยู่กันมากนัก เมืองที่ตั้งในยุคแรก ๆ น่าจะเป็นเมืองแปบที่มีตำนานเล่าว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งนครชุม บริเวณ ตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน 

วัดกลางนคร 

วัดพระแก้ว

วัดพระธาตุ 

สถานที่ตั้ง

     อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตภายในกำแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ และเขตนอกกำแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม โบราณสถานทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไป ทางทิศเหนือ ประมาณ 358 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 2,114 ไร่ 

ประวัติความเป็นมา

        จากหลักฐานจารึกหลักที่ 3 (ศิลาจารึกนครชุม) พ.ศ. 1900 กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เสด็จไป พระบรมธาตุ เมืองนครชุมว่า “หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม” เมืองนครชุมน่าจะเป็นเมืองใหญ่และมี ความสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่มาหมดอำนาจและเป็นเมืองเล็กๆ ในสมัยอยุธยา ส่วนเมืองชากังราวยังคงมีอำนาจอยู่ในฝั่งตะวันออก และเรียกชื่อเมืองว่า กำแพงเพชรในสมัยอยุธยา เพราะหลังจากพระมหาธรรมราชาลิไทสวรรคต (พ.ศ. 1913 – 1914) เมืองต่าง ๆ ในแคว้นสุโขทัยแตกแยก บางเมืองหันมาเป็นพันธมิตรกับอยุธยา ชื่อเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือจารึก กฎหมายลักษณะโจรกล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940 เชื่อกันว่ากษัตริย์อยุธยา ต้องการให้ศูนย์กลางของอำนาจจากเมืองนครชุมเดิม ย้ายมาอยู่ที่เมืองชากังราวหรือกำแพงเพชรนั่นเอง และภายหลังการ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2530 เมืองกำแพงเพชร ได้ลดบทบาทลงและคงจะร้างไปในที่สุด

       อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ.2534 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงความงดงามอลังการของศิลปกรรมไทยในยุคแรกๆ ผลงานทาง ศิลปกรรมที่เป็นเลิศนี้ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2534


แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

คณะผู้จัดทำ

1.นางสาว สุภาวดี บัวตูม 651121005

 2.นางสาว สุนิสา เเซ่จ้าง 651121009 

3.นางสาว แพรชมพู เขื่อนยัง 651121016 

4.นางสาว มัลลิกา ล้อมวงษ์ 651121020