ปราสาทบ้านปรางค์

ชื่อเรื่อง : ปราสาทบ้านปรางค์ อโรคยาศาล

ชุมชน : ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

ปราสาทปรางค์บ้านปรางค์ นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ของตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมาแล้ว ยังเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณของอณาจักรขอม และงดงาม เป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่รอให้ชนรุ่นหลังได้มาเยี่ยมชม ศึกษาประวัติศาสตร์ทางโบราณคดี

ปราสาทบ้านปรางค์ ตั้งอยู่ที่บ้านปรางค์ หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา เป็นปราสาทหินที่มีความงดงาม สร้างด้วยหินทรายแดงองค์เดียวโดด ๆ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ส่วนบนชำรุดหักพัง คงเหลือตัวเรือนธาตุกับส่วนบนอีกหนึ่งชั้น ในด้านทิศตะวันออกนั้นมีซุ้มซึ่งเจาะหน้าต่างทั้งสองด้าน การเข้ากรอบประตูหินทรายเหมือนกับที่ปราสาทหินพิมาย และโครงสร้างที่เหลืออยู่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับปราสาทหินพิมายด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เห็นนั้น ไม่ใช่ของเดิมที่มีมาตั้งแต่การสร้างปราสาท แต่มาต่อเดิมภายหลังจากยุคไหนนั้นไม่แน่ชัดและคาดว่าน่าจะใช้ หินที่พังลงมาจากตัวปราสาทมาก่อเป็นแนวกำแพงแทน เป็นการนำหินที่หักพังมาก่อเป็นแนวกำแพงรอบนอกกำแพงแก้วอีกชั้นหนึ่ง ปราสาทบ้านปรางค์เรียกได้ว่าเป็นโรงพยาบาลหรือ อโรคยาศาล ตามคติศาสนาพุทธ ลัทธิมหายานในสมัยนั้นในสมัยนั้น ภายในปราสาทจะประกอบไปด้วย ปราสาทประธานทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมก่อมุขยื่นด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก มีวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีโคปุระอยู่ทางทิศตะวันออกและมีกำแพงแก้วที่สร้างต่อเชื่อมจากโคปุระล้อมรอบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ ประติมากรรมหินทรายรูปพระไภสัชยคุรุ และบริวาร 2 องค์ คือ พระสุริยไวโรจนะ และ พระจันทรไวโรจนะ เป็นรูปเคารพในศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ศิลปะขอม แบบบายน ( ราวพุทธศักราช 1720 –1780 )

สำหรับปราสาทบ้านปรางค์ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ตามคติพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน เป็นศาสนาสถานประจำอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลที่ในสมัยนั้น จะประกอบด้วยปราสาทประธานทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมก่อมุขยื่นด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก มีวิหารตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีโคปุระอยู่ทางทิศตะวันออก และมีกำแพงแก้วที่สร้างต่อเชื่อมจากโคปุระล้อมรอบ ภายในมีโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ ประติมากรรมหินทรายรูปพระไภสัชยคุรุ และบริวาร 2 องค์ คือ พระสุริยไวโรจนะ และพระจันทรไวโรจนะ เป็นรูปเคารพในศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ศิลปะขอม แบบบายน (ราวพุทธศักราช 1720 –1780) ซึ่งปรางค์บ้านปรางค์ ทางสำนักงานศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้ดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดี เมื่อปีงบประมาณ 2545 และดำเนินการบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ เมื่อปีงบประมาณ 2547

ปัจจุบันปราสาทบ้านปราค์ เป็นแหล่งเรียนรู้โบราณที่สำคัญของตำบลหินดาด รอให้ทุกท่านมาเยี่ยมชม ศึกษาถึงอดีตของอณาจักรโบราณว่ามีความรุ่งเรืองเพียงใด การเดินทางสู่ปราสาทบ้านปราค์ สามารถเดินทางได้ทางรถยนต์ จากตัวเมืองโคราช เดินทางโดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ประมาณ 65 กิโลเมตร ปราสาทบ้านปรางค์ และว่ากันว่าต้นแบบปราสาทหิรนครวัด รอทุกท่านอยู่

ผู้เขียน : นางสาวจิรัตชยานัน จรรยาพิทักษ์ ครู กศน.ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา