Our Allies and Funds

พันธมิตรของเราและทุนวิจัย

UNDER CONSTRUCTION...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย - โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (สกว. - พวอ.) Research and Researcher for Industries (RRi)

ให้การสนับสนุนปัญหาประเภท 2 และ 3 (อ่านความหมายและตัวอย่างด้านล่างสุด) ตามประเภททุนต่อไปนี้

  1. ทุน ป.โท-ป.เอก ผู้ประกอบการออกทุนอย่างน้อย 40,000 สำหรับ ป.โท หรือ 60,000 สำหรับ ป.เอก ทาง พวอ. จะออกค่าเทอม เงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการวิจัย ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จนจบตามหลักสูตร (2 ปี สำหรับ ป.โท 3 ปีหรือ 5 ปี สำหรับ ป.เอก) โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นหัวหน้าโครงการ นักศึกษาผู้รับทุนเป็นนักวิจัยหลัก
  2. ทุน SuRF (Supporting Research Funds for Industries) ผู้ประกอบการออกทุน 50% พวอ. ออก 50% ของงบประมาณทั้งโครงการ งบประมาณของโครงการขั้นต่ำคือ 1 ล้านบาท โดยอาจารย์เป็นหัวหน้าโครงการและผู้วิจัยหลัก
  3. ทุน IRF (Industrial-academic Research Fellowship program) ผู้ประกอบการออกทุน 50% พวอ. ออก 25% และมหาวิทยาลัยต้นสังกัดออกทุน 25% โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นหัวหน้าโครงการ นักวิจัยวุฒิป.โท (postmaster) หรือนักวิจัยวุฒิป.เอก (postdoc) เป็นผู้วิจัยหลักและทำงานวิจัยเต็มเวลา (Full time) และรับเงินเดือน 25,000 บาทหรือ 45,000 บาท

ติดต่อ: คุณนนทพัทธ์ สื่อเสรีธรรม (เบสท์) อีเมล์ ntpsue@gmail.com โทร 097-192- 6292

ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์ RRi

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย - ฝ่ายอุตสาหกรรม

(สกว. - ฝ่ายอุตสาหกรรม)

โครงการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยการวิจัยและพัฒนา ให้การสนับสนุนปัญหาระดับ 2 และ 3 (อ่านความหมายและตัวอย่างด้านล่างสุด) โดยผู้ประกอบการออกทุน 20% สกว. ออก 80% ภายใต้เงื่อนไขหัวข้อที่ทำต้องอยู่ในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ดังนี้

First S-Curve

  1. อุตสาหกรรมยานยนต์และการผลิตสมัยใหม่ (Next – Generation Automotive)
  2. อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnolgy Industry)
  3. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Future Food Industry)

สัดส่วนของงบประมาณ ค่าตอบแทน 40% ค่าใช้สอย 30% ค่าวัสดุ 20% ค่าครุภัณฑ์ 10%

New S-Curve

  1. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation Industry)
  2. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
  3. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
  4. อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)
  5. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

สัดส่วนของงบประมาณ ค่าตอบแทน 30% ค่าใช้สอย 20% ค่าวัสดุ 20% ค่าครุภัณฑ์ 30%

ข้อมูลเพิ่มเติม

คุณวรรณวิษา เชียงใหม่ Email: wanvisa@trf.or.th Tel: 02-278-8243

คุณกิตชัย วรรณวิไล Email: kitchai@trf.orth Tel: 02-278-8200 Ext. 8345

สกว. - ฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า

มีทุนหลากหลายกลุ่ม ซึ่งมีเงื่อนไขต่างกันไปตามประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ติดต่อ สำนักประสานงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ชั้น 7 ห้อง 730 อาคารอมรภูมิรัตน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 งามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 02-940-5188, 02-940-6572
  2. ยางพารา
  3. อ้อยและน้ำตาล
  4. logistic
  5. วิสาหกิจชุมชน/วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
  6. การศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
  7. ประชาคมอาเซียน
  8. มนุษย์ศาสตร์

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

  1. คูปองนวัตกรรม - วงเงินสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาท โดยเน้นไปที่โครงการที่มีความเป็นนวัตกรรม จับต้องได้จริง มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจสูง จบโครงการเมื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ออกขายจริงสนับสนุนเงินทุนไม่เกิน 75%
  2. นวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย - เป็นการสนับสนุนเงินอุดหนุนในรูปแบบของการสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะเวลาหนึ่งให้แก่โครงการนวัตกรรมที่อยู่ในระยะเริ่มต้นสู่กระบวนการผลิตจริง โดยอาจเป็นโครงการที่เกิดจากการขยายผลของการสร้างต้นแบบ หรือการทดสอบนำร่องและพัฒนาออกสู่ตลาดในระยะแรก โดยสถาบันการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจาก สนช. จะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้กับโครงการนวัตกรรมที่ได้รับการประเมินความเป็นนวัตกรรมจาก สนช. ทั้งนี้การสนับสนุนดังกล่าวจะเป็นการเข้าร่วมรับความเสี่ยงและผลักดันให้ภาคเอกชนเกิดโอกาสในการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม โดย สนช. เป็นผู้ชำระดอกเบี้ยเงินกู้แทนผู้ได้รับการสนับสนุนในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปตามที่ตกลงกันระหว่างสถาบันการเงิน และหลักทรัพย์ค้ำประกันผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และ สนช. สนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้โครงการนวัตกรรมสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อโครงการ
  3. แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน - เป็นการสนับสนุนเงินอุดหนุนในรูปแบบของเงินให้เปล่าสำหรับโครงการนวัตกรรมที่อยู่ในระยะของการทดสอบยืนยันความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีในขั้นตอนของการทำ ต้นแบบหรือการนำร่อง ซึ่งอาจต่อยอดจากงานวิจัยและพัฒนา สิ่งประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรที่มีการรับรองและผ่านการประเมินทางเทคโนโลยี โดยผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องลงทุนในโครงการนวัตกรรมในรูปของเม็ดเงิน (in-cash) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายโครงการ สนช. สนับสนุนเงินอุดหนุนในรูปแบบของเงินให้เปล่าไม่เกินร้อยละ 75 ของค่าใช้จ่ายโครงการ ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อโครงการ (ยกเว้นในกรณีที่ได้รับความเห็นชอบโดยคณะกรรมการ) และระยะเวลาการสนับสนุนไม่เกิน 3 ปี
  4. ทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม - เป็นการสนับสนุนเงินอุดหนุนในรูปแบบของเงินให้เปล่าในการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมที่มีลักษณะการพัฒนาโครงการในรูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม สมาคม จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระดับการทำต้นแบบ การทดสอบระดับนำร่อง จนถึงการผลิตในเชิงพาณิชย์ โดย สนช. สนับสนุนเงินอุดหนุนในรูปแบบของเงินให้เปล่า ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อโครงการ ระยะเวลาการสนับสนุนไม่เกิน 3 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์ NIA

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

(สวทน.)

Talent Mobility มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์/นักวิจัยเก่ง ๆ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ออกมาทำงานพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไปควบคู่กับการสอนและวิจัยในมหาวิทยาลัย เพื่อให้องค์ความรู้ได้ถ่ายทอดออกสู่ภายนอกอย่างสะดวกมากขึ้น โดยผลักดันให้ ครม. มีมติเห็นชอบส่งเสริมบุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์ดังนี้

  1. การไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในภาคเอกชน ถือเป็นการฏิบัติงานเต็มเวลาของหน่วยงานต้นสังกัด โดยให้นับเป็นอายุราชการหรืออายุงานของหน่วยงานต้นสังกัด
  2. การปฏิบัติงานตามข้อ 1 ให้นับเป็นระยะเวลาชดใช้ทุนตามสัญญาด้วย
  3. ให้บุคคลากรดังที่ออกปฏิบัติงานดังกล่าวสามารถใช้ผลที่เกิดขึ้นเป็นผลงานในการขอตำแหน่งทางวิชาการหรือตำแหน่งงานอื่น ๆ รวมทั้งการขึ้นเงินเดือน
  4. ให้ สวทน. เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นโยบายดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุด


ทาง สวทน. จึงได้ประสานงานกับสถาบันการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นอันดับแรกเพื่อผลักดันให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วม และพร้อมกันนี้ก็ให้ทุนส่งเสริมเพื่อช่วยเหลือทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดังนี้

  1. ค่าตอบแทนไม่เกิน 400,000 บาท/โครงการ (รศ. = 6000 บาท/วัน, ผศ. = 5000 บาท/วัน, อ. = 4000 บาท/วัน) *คิดจากเวลาปฏิบัติงานจริง
  2. ค่าใช้จ่ายจ้างวิเคราะห์/ทดสอบ ไม่เกิน 200,000/โครงการ
  3. ค่าชดเชยนักวิจัยให้มหาลัย เป็นเงินเดือนไม่เกิน 60,000 บาท/โครงการ
  4. ค่าตอบแทนนักศึกษา (ป. เอก = 12,000 บาท/เดือน, ป. โท = 10,000 บาท/เดือน, ป. ตรี = 8,000 บาท/เดือน)


โดยมีงานวิจัยที่ส่งเสริม 4 ลักษณะได้แก่

  1. การวิจัยและพัฒนา
  2. การแก้ปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม
  3. การวิเคราะห์ทดสอบละระบบมาตรฐาน
  4. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

อย่างไรก็ตาม สวทน. ยังมีโครงการอีกหลากหลาย ที่ร่วมมือกับสถาบันอื่น ๆ นอกเหนือจาก สกอ. เช่น สวทช. สกว. เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์ Talent Mobility

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

  1. Innovation and Technology Assistance Program (ITAP) หรือโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนงบประมาณ 50% ของงบประมาณโครงการทั้งหมด โดยไม่เกิน 400,000 บาท/โครงการ (งบประมาณรวมไม่เกิน 800,000 บาท/โครงการ) เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ประกอบการ ในการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ โดย ITAP มีศูนย์กระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีผู้เชี่ยวชาญอยู่จำนวนมากพร้อมให้คำปรึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์ ITAP
  2. Industrial Research and Technology Capacity Development Program (IRTC) หรือโครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ สนับสนุนงบประมาณ 50% ของงบประมาณโครงการทั้งหมด โดยไม่เกิน 200,000 บาท/โครงการ (งบประมาณรวมไม่เกิน 400,000 บาท/โครงการ) โดยภาคเอกชนต้องสนับสนุนเงินทุนและทรัพยากรที่จำเป็นคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการ ซึ่งจะต้องเป็นเงินทุน (In-cash) อย่างน้อยร้อยละ 30 และเป็นทรัพยากรที่จำเป็น (In-kind) คิดเป็นมูลค่าได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อศูนย์ของ สวทช. ภูมิภาค

สถาบันวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (สวน.) สภาอุตสาหกรรม

The Research Development and Innovation for Industry Institute (IRDI)

  • ทีมงานผู้อยู่เบื้องหลัง ช่วยประสานงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์งานให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศ
  • ช่วยอำนวยความสะดวกในการ Matching ทุนกับผู้ประกอบการและนักวิจัย

ระดับปัญหา

  1. ปัญหาขั้นต้น ผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ความชำนวญ (know-how) ที่สามารถแก้ปัญหาหรือแนะนำได้เลย ไม่จำเป็นต้องทำงานวิจัยเพื่อทดสอบแนวคิดอีก เช่น การยืดอายุอาหารบางชนิด การจัดการของเสียบางอย่างในโรงงาน สร้าง ซ่อม หรือปรับปรุง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์บางชนิด เป็นต้น
  2. งานวิจัยขั้นพื้นฐาน เพื่อพิสูจน์หรือค้นหาความจริงบางอย่างซึ่งเป็นพื้นฐานที่สามารถต่อยอดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้
  3. ปัญหาเฉพาะอย่างที่ต้องการการวิจัย เช่น ทดสอบคุณสมบัติบางอย่างของวัสดุหรืออาหาร วิจัยหาวิธีสร้าง ลด หรือเพิ่มสารบางอย่างในวัสดุ สัตว์ หรือพืช ลดการสูญเสีย