เครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา

ตามโครงการส่งเสริม เครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา 

เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมคุณภาพของสถานศึกษาต้นแบบรางวัล IQA AWARD 

ประจําปีการศึกษา 2561-2562

โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

ระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา

IQA AWARD 2561

โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

รางวัล IQA AWARD ประจำปี 2561 เป็นรางวัลที่มอบให้กับสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหาร จัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษายอดเยี่ยม ส่งผลให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มีพัฒนาการของผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 – 2560 มีผลการประเมินคุณภาพภายนอก ได้รับการรับรองมาตรฐานและมีระดับคุณภาพดีถึงดีมากทั้งรอบสอง และรอบสาม ได้รับการยอมรับจาก สถานศึกษาอื่นในสังกัด ให้เป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างด้านการประกันคุณภาพการศึกษารวมทั้งสามารถบริหารจัดการ สถานศึกษาได้คุณภาพตามองค์ประกอบต่อไปนี้ 

คำนิยาม


 

1. สถานศึกษาแกนนำ หมายถึง สถานศึกษาต้นแบบรางวัล IQA AWARD ระหว่างปีการศึกษา 2561 - 2562 ที่สมัครและเต็มใจทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ กำกับติดตาม และประเมินผล  การยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาร่วมพัฒนา


2. สถานศึกษาร่วมพัฒนา หมายถึง  สถานศึกษาที่จัดการศึกษาทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจจะเรียนรู้นวัตกรรมคุณภาพและขอรับการหนุนเสริมจากสถานศึกษาต้นแบบแกนนำเพื่อนำมาเป็นแบบอย่างหรือปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการของสถานศึกษา


3. เครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา หมายถึง เครือข่ายที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาแกนนำและสถานศึกษาร่วมพัฒนาในการร่วมกันพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาร่วมพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ภายใต้บริบทของสถานศึกษาทั้งสองแห่ง


4. แผนเครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา หมายถึง แผนการดำเนินงานของเครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา ที่ได้จัดทำร่วมกันโดยคณะทำงานส่งเสริมเครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา ระดับเครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา


5. กรอบและแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาแกนนำ หมายถึง  สาระสำคัญที่แสดงถึงสถานการณ์และข้อจำกัดต่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาร่วมพัฒนาทั้งรายโรงและภาพรวมทุกโรง  ซึ่งได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่จำเป็นในการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพ และผลการตรวจสอบสภาพความต้องการจำเป็น จุดแข็ง จุดอ่อน และบริบทของตนเอง พร้อมข้อจำกัดของการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ของสถานศึกษาร่วมพัฒนา ซึ่งสถานศึกษาแกนนำได้รับจากการเยี่ยมชมการจัดการศึกษาตามสภาพจริงและการประชุมหารือร่วมกับคณะทำงานของสถานศึกษาร่วมพัฒนา  เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการกำหนดประเด็นการพัฒนาและแนวทาง การดำเนินงานที่จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาร่วมพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษาร่วมพัฒนาทั้งรายโรงและภาพรวม ทั้งนี้ การดำเนินงานของสถานศึกษาแกนนำเป็นไปตามศักยภาพ จุดเด่นและจุดแข็งของตนเองที่มีอยู่ทั้งด้านการบริหารจัดการและวิชาการ พร้อมทั้ง สถานศึกษาทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบกรอบสาระสำคัญที่เสนอและร่วมกันกำหนด วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาสถานศึกษาร่วมพัฒนา ตัวชี้วัดความสำเร็จ แนวทางการดำเนินงานเพื่อหนุนเสริมการพัฒนาสถานศึกษาร่วมพัฒนาที่สอดคล้องตามบริบท การติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้ง ได้ตกลงปฏิบัติงานร่วมกันตามแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาแกนนำเพื่อร่วมกันพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษาร่วมพัฒนา


6. ระบบบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษา ตาม 5 องค์ประกอบ  หมายถึง กระบวนการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาผ่านงานวิชาการ งานแผนและงบประมาณ งานบุคคล และงานบริหารทั่วไป รวมทั้ง งานอื่นตามความจำเป็นของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ได้มาตรฐานการศึกษาตามที่สถานศึกษาได้ประกาศไว้ โดยมีกระบวนการบริหารจัดการเป็นไปตามองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ต่อไปนี้

คำอธิบาย : สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศ เป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด ปรัชญาการจัดการศึกษา วัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา และบริบทของสถานศึกษา โดยระบุองค์ประกอบ ประเด็นการพิจารณา และเกณฑ์การตัดสินคุณภาพพร้อมทั้งกำหนดเป้าประสงค์ด้านคุณภาพการจัดการศึกษาในระยะ 3 - 5 ปี และกำหนดเป้าหมายรายปีที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

คำอธิบาย : สถานศึกษาสื่อสาร สร้างความตระหนัก และนำผู้ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ โดยร่วมกันออกแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อรองรับการพัฒนาตามมาตรฐาน และบรรลุตามเป้าประสงค์ รวมทั้ง ครอบคลุมการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนพัฒนาคุณภาพ จัดทำปฏิทินการขับเคลื่อนคุณภาพในรอบปีที่ชัดเจน เพื่อนำแผนปฏิบัติการประจำปีสู่การปฏิบัติ และนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงและพัฒนาโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้ง รายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินของงานเป็นระยะ 

คำอธิบาย : สถานศึกษาสร้างระบบและกลไกในการประเมินคุณภาพภายในที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน และประเมินตนเองเป็นระยะๆ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษา และกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้สารสนเทศและผลการประเมินตนเองที่ตรงตามสภาพจริงและเชื่อถือได้ และนำสารสนเทศจากการประเมิน วิธีการปฏิบัติที่ดี และการศึกษาแนวคิดเพิ่มเติม มาใช้ปรับปรุงพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง และสื่อสารแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรทุกฝ่าย และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

คำอธิบาย : สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เกิดประสิทธิผล ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านกระบวนการบริหารและการจัดการมีผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่สะท้อนการพัฒนาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี รวมทั้งสถานศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรมต้นแบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่น ต่อวงวิชาการ หรือต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

คำอธิบาย : ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่าของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษาแสดงภาวะผู้นำและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษา โดยจัดโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ จัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้มีสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน และเพียงพอต่อการตัดสินใจ ส่งเสริมให้ครูพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านกระบวนการ PLC และสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการประกันคุณภาพทั้งระดับห้องเรียนและระดับสถานศึกษา เพื่อสะท้อนการเกิดวัฒนธรรมคุณภาพอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของคณะครูและองค์กรในภาพรวม