เอกสารประกอบการคัดเลือก

IQA AWARD 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกาหนดเป้าหมายมาตรฐานคุณภาพ (3 คะแนน)

คำอธิบาย : สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐำนการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศ เป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด ปรัชญาการจัดการศึกษา วัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา และบริบทของสถานศึกษา โดยระบุองค์ประกอบ ประเด็นการพิจารณา และเกณฑ์การตัดสินคุณภาพ พร้อมทั้งกำหนดเป้าประสงค์ด้านคุณภาพการจัดการศึกษาในระยะ 3 - 5 ปี กำหนดและทบทวนเป้าหมายรายปีที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย


ประเด็นการพิจารณา

1.1 บุคลากรทุกฝ่ายของสถำนศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกันกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศ เป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด ปรัชญาการจัดการศึกษา และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา

1.2 สถำนศึกษาระบุองค์ประกอบ ตัวชี้วัด ประเด็นกำรพิจารณา และเกณฑ์การตัดสิน คุณภาพที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาไว้ในมาตรฐำนการศึกษาของสถานศึกษาอย่างครบถ้วนและชัดเจน

1.3 สถานศึกษามีการกำหนดเป้าประสงค์ด้านคุณภาพการจัดการศึกษาในระยะ 3-5 ปี และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และความโดดเด่นเฉพาะของสถานศึกษา

1.4 สถานศึกษามีการกำหนดและทบทวน ปรับเปลี่ยนเป้าหมายคุณภาพรายปี ที่ท้าทายต่อการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

1.5 สถานศึกษามีการนำผลการประเมินคุณภาพภายใน ผลการประเมิน คุณภาพภายนอก และผลกำรประเมินการจัดการศึกษาของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นข้อมูลฐาน (Baseline data) ในการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของการดำเนินงาน และเป้าประสงค์ของสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 การขับเคลื่อนคุณภาพสู่มาตรฐาน (๓ คะแนน)

คำอธิบาย : สถานศึกษาสื่อสาร สร้างงความตระหนัก และนาผู้ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการออกแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อรองรับการพัฒนาตามมาตรฐาน และบรรลุตามเป้าประสงค์ รวมทั้ง ครอบคลุมการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ จัดทำปฏิทินการขับเคลื่อนคุณภาพในรอบปีที่ชัดเจนเพื่อนำแผนปฏิบัติการประจำปีสู่การปฏิบัติ และนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงและพัฒนาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชำชีพ (PLC) อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินของงานเป็นระยะ และนาเสนอระบบหรือรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่ใช้ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้

ประเด็นการพิจารณา

2.1 ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำการขับเคลื่อนคุณภาพ และสื่อสาร สร้างความตระหนักให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาและเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

2.2 สถานศึกษาออกแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา สู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ให้ครอบคลุมภาระงาน บทบาทหน้ำที่ และสอดคล้องกับสภาพกำรเปลี่ยนแปลง

2.3 สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนากำรจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและบรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้

2.4 สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อบรรลุตามเป้าหมำยรายปี โดยจัดสรรทรัพยำกรเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และจัดทำปฏิทินกาปฏิบัติงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแผนงานในรอบปีที่ชัดเจนและปฏิบัติได้

2.5 ผู้บริหารสถานศึกษา กระตุ้น เร่งรัด สนับสนุนผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามแผนและปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปี นิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบ การดำเนินงานอย่างสม่ำสมอ

2.6 สถานศึกษาจัดให้มีการประเมินและรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน เป็นระยะๆ มีการทบทวนการดำเนินงาน และใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการปรับปรุงพัฒนางาน และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

2.7 สถานศึกษามีการประเมิน ถอดบทเรียน สังเคราะห์ความรู้ และนำเสนอระบบ หรือรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่ใช้ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้

องค์ประกอบที่ 3 การประเมินความสำเร็จตามมาตรฐาน (3 คะแนน)

คำอธิบาย : สถานศึกษาสร้างระบบและกลไกในการประเมินคุณภาพภายในที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน และประเมินตนเองเป็นระยะๆ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษาและกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้สารสนเทศและผลการประเมินตนเองที่ตรงตามสภาพจริงและเชื่อถือได้ และนำสารสนเทศจากการประเมิน วิธีการปฏิบัติที่ดี และการศึกษาแนวคิดเพิ่มเติม มาใช้ปรับปรุงพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง และสื่อสารแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


ประเด็นการพิจารณา

3.1 สถานศึกษามีระบบและกลไกในการประเมินคุณภาพภายในที่สอดคล้อง ตามบริบทของสถานศึกษาและเป็นไปตามกฎกระทรวงที่กำหนดไว้

3.2 สถานศึกษามีคณะกรรมการประเมินที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

3.3 สถานศึกษาใช้เครื่องมือ และวิธีกำรที่หลากหลำย เหมาะสมและน่าเชื่อถือ ติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา

3.4 สถานศึกษามีระบบข้อมูลสารสนเทศและผลการประเมินตนเองที่ตรงตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดตรงตามสภาพจริงและเชื่อถือได้

3.6 สถานศึกษาจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง ให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด และสื่อสารให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง

3.6 สถานศึกษานาผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่วิธีการปฏิบัติที่ดี หรือนวัตกรรมต่อสถานศึกษาอื่นหรือวงวิชาการ

องค์ประกอบที่ 4 การนาการเปลี่ยนแปลงสู่สถานศึกษาและการสร้างคุณค่าแก่ วงวิชาการ (๓ คะแนน)

คำอธิบาย : สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เกิดประสิทธิผล ก่อให้เกิดการพัฒนา ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่สะท้อนการพัฒนาสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี รวมทั้งสถานศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรมต้นแบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถำนศึกษาอื่น ต่อวงวิชาการ หรือต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม


ประเด็นการพิจารณา

4.1 ระบบการประกันคุณภาพภายในมีประสิทธิผล ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียน อย่างเป็นรูปธรรมและมีพัฒนาการสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2561 - 2564

คุณภาพผู้เรียน พิจารณาจาก

4.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคานวณ

ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสำร และการคิดคานวณตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในแต่ละระดับชั้น

2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจาแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหำอย่างมีเหตุผล

3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตัวเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อาจเป็นแนวความคิด โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน ผลผลิต

4) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ผู้เรียนมีความสามารถในใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสารสื่อสาร เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้ำงสรรค์ และมีคุณธรรม

5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา จากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ าวำมเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่างๆ รวมทั้งมีความก้าวหน้า ในผลการทดสอบระดับชาติ หรือผลการทดสอบอื่นๆ

6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษา ต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น การทำงานหรืองานอาชีพ

4.1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

1) มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยม และจิตสานึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม

2) มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย

3) ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี

4) มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น


4.2 ระบบการประกันคุณภาพภายในมีประสิทธิผล ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ อย่างเป็นรูปธรรมและมีพัฒนาการสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2564 

กระบวนการบริหารและการจัดการ พิจารณาจาก

4.2.1 มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธะกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

สถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธะกิจ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผน การศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัดรวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

4.2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางาน อย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน การนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

4.2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

สถานศึกษาบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ทั้งด้ำนการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย หมายรวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมหรือกลุ่มที่เรียนร่วมด้วย

4.2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน

4.2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทำงสังคมที่เอื้อต่อกำรจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย

4.2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

สถานศึกษาจัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและกำรจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา


4.3 ระบบการประกันคุณภาพภายในมีประสิทธิผล ก่อให้เกิดคุณภาพด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ อย่างเป็นรูปธรรมและมีพัฒนาการสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2564 

กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พิจารณาจาก

4.3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิต

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนาไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ แสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

4.3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย

4.3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่ำงมีควำมสุข

4.3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำปใช้พัฒนาการเรียนรู้

4.3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนา การจัดการเรียนรู้

ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้ง ให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดกำรเรียนรู้

องค์ประกอบที่ 5 การเกิดวัฒนธรรมคุณภาพที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

คำอธิบาย : ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่าของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาแสดงภาวะผู้นำและเปิดโอกำสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษา โดยจัดโครงสร้าง กำหนดบทบำทหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ จัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้มีสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน และเพียงพอต่อการตัดสินใจ ส่งเสริมให้ครูพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการประกันคุณภาพทั้งระดับห้องเรียนและระดับสถานศึกษา เพื่อสะท้อนการเกิดวัฒนธรรมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของคณะครูและองค์กรในภาพรวม โดยได้รับความร่วมมือในการบริหารจัดการคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ในการส่งเสริมสนับสนุน ช่วยเหลือ อย่างต่อเนื่อง


ประเด็นการพิจารณา

5.1 ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำทางวิชาการ สร้างทีมงานคุณภาพ สามารถบริหารจัดการ กระตุ้น หนุนเสริมให้บุคลากรเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อนระบบการประกันคุณภาพภายในที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างความเชื่อมั่น และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง

5.2 สถำนศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และบุคลากรสถานศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ร่วมกันพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างต่อเนื่อง

5.3 การบริหารจัดการคุณภาพเกิดขึ้นทั้งในระดับรายบุคคล ระดับห้องเรียน ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ และระดับสถานศึกษา ที่สะท้อนถึงความตระหนักในคุณค่าและเกิดวัฒนธรรมคุณภาพในตัวบุคคลและองค์กรในภาพรวม

5.4 สถานศึกษามีโครงสร้างการบริหารจัดการ กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน มีคู่มือและแนวทางการปฏิบัติงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

5.5 สถานศึกษามีการบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย มีข้อมูล ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ เพียงพอ ครอบคลุมภารกิจ ของสถานศึกษาที่พร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภำพ มีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของระบบ

5.6 สถานศึกษาได้รับความร่วมมือในการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถำนศึกษา ในการส่งเสริมสนับสนุน ช่วยเหลือ อย่างต่อเนื่อง