ถาม-ตอบ IDP

ส่วนนโยบายและแผนการพัฒนา สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ได้เปิด open chat เพื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และให้คำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดทำ IDP, โครงการเพิ่มศักยภาพฯ, ทุนการศึกษาภายในประเทศ, โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ (งบภาษาต่างประเทศ) ฯลฯ

โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชท

https://line.me/ti/g2/ELpuJ18boFVD7EUfTxs5vw?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

รหัสเข้าร่วม ---- สอบถามได้ที่ 02-512-8039

ถามตอบปัญหา IDP : Q&A

1.การกำหนดข้อมูลช่องทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง ในส่วนของลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานขับรถ คนสวน ไม่มีมาตรฐานแนวทางให้เทียบเคียง

ตอบ เนื่องจากยังไม่มีกำหนดมาตรฐานและแนวทางฯ ของลูกจ้างประจำ กรณีนี้ให้ปรึกษากับหัวหน้าส่วนหรือผู้อำนวยการ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการกำหนดมาตรฐานในส่วนนี้


2. หากในปีงบประมาณได้ปฏิบัติหน้าที่ใน 2 ตำแหน่ง เช่น เดือนตุลาคมได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม ต่อมาในเดือนเมษายนได้รับคำสังให้ดำรงตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล จะกรอกข้อมูลใน IDP-2 อย่างไร

ตอบ ให้ทำ IDP-2 ในตำแหน่งปัจจุบัน โดยนำผลการพัฒนาจากทั้ง 2 ระยะเวลามารวมกันได้ ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง


3.ข้อมูลที่กรอกแบบ IDP-2 ข้อมูลที่กำหนดระดับมาตรฐานและระดับปัจจุบัน มาจากไหน มีตัวเลขเท่าไหร่

ตอบ ข้อมูลช่องระดับมาตรฐาน เป็นตัวเลขตั้งแต่ 0-5 หรือ 1-5 ขึ้นกับความรู้ทักษะแต่ละด้านในตำแหน่งและระดับ ส่วนข้อมูลช่องระดับปัจจุบัน เป็นตัวเลขที่ประเมินวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้รับการพัฒนาและผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 1 ชั้น ว่าผู้รับการพัฒนามีอยู่หรือเป็นอยู่ในระดับใด โดยต้องวิเคราะห์ตามรายละเอียด ที่กำหนด ในเอกสารมาตรฐานและแนวทางฯ ที่ระบุไว้แต่ละระดับ


4. เกณฑ์ชั่วโมงการพัฒนา เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง (S) พัฒนาได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อหัวข้อวิชา หมายความว่าอย่างไร

ตอบ การพัฒนาด้วยวิธีการอื่น 12 วิธี มีเกณฑ์ชั่วโมงการพัฒนาดังนี้

  • ฝึกขณะปฏิบัติงาน / ให้คำปรึกษาแนะนำ / ดูงานนอกสถานที่ /เรียนรู้ด้วยตนเอง / เข้าร่วมประชุม/สัมมนา ไม่เกิน 10 ชั่วโมง ต่อหัวข้อวิชา

  • ติดตามหัวหน้า / พี่เลี้ยง / มอบหมายงาน/ สอนงาน / หมุนเวียนงาน ไม่เกิน 20 ชั่วโมง ต่อหัวข้อวิชา

  • ฝึกงานกับผู้เชี่ยวชาญ / เป็นวิทยากรภายในหน่วยงาน ไม่เกิน 30 ชั่วโมง ต่อหัวข้อวิชา

เกณฑ์ดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดของแต่ละหัวข้อวิชา ซึ่งในแต่ละวิธีการอาจพัฒนาได้ไม่จำกัดจำนวนหัวข้อวิชา เช่น นายเอ สามารถพัฒนาโดยการฝึกขณะปฏิบัติงานรับฟ้องคดีอาญา (OJT) จำนวน 6 ชั่วโมง และฝึกขณะปฏิบัติงานออกหมายสี จำนวน 6 ชั่วโมง ซึ่งต้องแนบแบบ IDP-3 ของทั้ง 2 หัวข้อ

หรือ นางสาวเอ เรียนผ่าน e-learning ของสำนักงาน ก.พ. ในหัวข้อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 12 ชั่วโมง สามารถใช้เป็นชั่วโมงการพัฒนาภายใต้การเรียนรู้ด้วยตนเอง (S) จำนวน 10 ชั่วโมง (การเรียน e-learning ของสำนักงาน ก.พ. ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำ (IDP-3) โดยให้ใช้เป็นแนวทางการเรียน e-learning ของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม รวมทั้ง e-learning ของสำนักงาน ก.พ.ร. และ ThaiMOOC ด้วย)


5. หากหน่วยงานจัดโครงการอบรมภายใน หน่วยงานจำเป็นต้องออกใบประกาศนียบัตรหรือไม่ หากไม่มีใบประกาศจะใช้เอกสารใดแนบ IDP -2 เพื่อเป็นหลักฐานการพัฒนา

ตอบ หน่วยงานไม่จำเป็นต้องออกใบประกาศนียบัตร ตัวอย่างเช่น ศาล A จัดโครงการอบรมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานประจำ จำนวน 6 ชั่วโมง ศาล A ไม่จำเป็นต้องออกใบประกาศฯ ให้บุคลากรทุกคน โดยบุคลากรในศาลสามารถกรอกข้อมูลการพัฒนาหัวข้อ "การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานประจำ/T" ลงใน IDP-2 ได้ โดยไม่ต้องถ่ายเอกสาร ตัวโครงการ หรือลายมือชื่อใดๆ แนบแบบ IDP-2 แต่ หากได้รับการสุ่มตรวจ ทางผู้ตรวจสอบจะสามารถหาข้อมูลโครงการ ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมการอบรมได้จากส่วนช่วยอำนวยการ ซึ่งส่วนช่วยอำนวยการต้องแยกสแกนตัวโครงการ ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมการอบรม ให้แก่สถาบันฯ ต่อไป

สรุป หากมีหลักฐานการเข้ารับการอบรมอยู่ที่ส่วนช่วยอำนวยการ และจัดทำโครงการอบรม (T) ในลักษณะที่ทำร่วมกันทั้งศาล บุคลากรไม่จำเป็นต้องถ่ายเอกสารใด ๆ แนบ IDP-2

อนึ่ง หากหน่วยงานออกใบประกาศฯ บุคลากรก็สามารถใช้ใบประกาศฯ ฉบับจริงในการแนบ IDP-2 โดยไม่จำเป็นต้องถ่ายเอกสาร เมื่อส่วนช่วยอำนวยการดำเนินการตรวจสอบและจัดทำแบบสรุปเรียบร้อยแล้ว จะคืนเอกสารทั้งหมดคืนให้กับเจ้าของ IDP ต่อไป


6.มุ่งผลสัมฤทธิ์และสั่งสมความเชี่ยวชาญ แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ ดูรายละเอียดมุ่งผลสัมฤทธิ์และสั่งสมความเชี่ยวชาญได้ที่คู่มือมาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ความสามารถทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม หน้า 174 ค่ะ https://ojoc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/1437/iid/9708


7.การอบรมโดยวิทยากรภายในหน่วยงาน หรือ วิทยากรตัวคูณ ผู้เป็นวิทยากรรับการพัฒนาแบบ IHI ผู้รับการพัฒนา จะรับการพัฒนาแบบใด

ตอบ หากหน่วยงานจัดทำโครงการในรูปแบบการอบรมในห้องเรียน ผู้รับการอบรมจะได้ T ไม่ว่าจะให้หรือไม่ให้ใบประกาศก็ตาม

แต่หากหน่วยงานจัดกิจกรรมในครั้งนั้นในเชิงการสัมมนา อภิปรายกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยให้วิทยากรทำหน้าที่คล้ายเป็นตัวกลางในการอภิปราย การพัฒนาในครั้งนั้นจะเป็น M/S

สรุป หากเป็นการจัดอบรมในห้องเรียนตามปกติ โดยมีวิทยากรจากภายในหน่วยงาน ผู้รับการอบรมรมได้รับการพัฒนาแบบ T ค่ะ (การอบรมในห้องเรียน (T) ไม่ต้องจัดทำ IDP-3)


8.ต้องจัดทำ IDP-3 ในกรณีใด

ตอบ ต้องจัดทำ IDP-3 ในกรณีพัฒนาด้วยวิธีการอื่น 12 วิธี ยกเว้น การเรียน e-Learning (อีกคำตอบง่าย ๆ คือ ทำ IDP-3 ทุกกรณี ยกเว้นการอบรมในห้องเรียน (T) และการพัฒนาทาง e-Learning )


9.กรณีพัฒนาโดยวิธีมอบหมายงาน สามารถใช้ในกรณีที่ ผอ. มีคำสั่งมอบหมายให้ ข้าราชการระดับปฏิบัติการ ให้รักษาการหัวหน้ากลุ่มงาน เนื่องจาก ขาดหัวหน้ากลุ่มงานระดับชำนาญการพิเศษ ได้มั้ยคะ

ตอบ ได้ค่ะ ถือเป็นงานที่พิเศษจากงานของเค้าจริงๆ ค่ะ


10.การจัดทำ IDP รอบแผน กรณีของข้าราชการในหน่วยงานที่ไม่ใช้หัวหน้าส่วนต้องให้ ผอ.ลงนามหรือไม่

ตอบ ให้หัวหน้าส่วนลงนามใน IDP รอบแผน แต่ รวบรวมรายงานผู้อำนวยการเพื่อใช้เป็นข้อมูลวางแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานเมื่อท่านผู้อำนวยการรับทราบ ในภาพรวมแล้ว ส่วนช่วยอำนวยการก็จะได้คืนIDP รอบแผน ให้แก่เจ้าตัวเพื่อพัฒนาตามแผนต่อไป


11.รบกวนสอบถามค่ะ ในปี 2563 การนับชั่วโมง ไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง ต่อคนต่อปี ในแผน IDP ยังสามารถนำ วิธีอบรม /T มานับรวมได้หรือไม่ค่ะ

ตอบ ได้ค่ะ ตามหนังสือ ว679 ยกเลิกกำหนดจำนวนชั่วโมงการอบรมในห้องเรียน (Training) จากเดิมกำหนดให้มีการอบรมในห้องเรียนไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง ในปัจจุบัน บุคลากรสามารถเลือกวิธีการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะหลักและสมรรถนะในงาน อย่างอิสระ ทั้งการพัฒนาด้วยการอบรมในห้องเรียนและวิธีการพัฒนาต่าง ๆ 12 วิธี รวมชั่วโมงการพัฒนาไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง ต่อคนต่อปี


12. ขออนุญาตสอบถามค่ะ เหมือนเคยมีหนังสือเวียนที่บอกว่า E-Learning สามารถนำมาเป็น ตัว T ได้ใช่ไหม๊คะ

ตอบ E learning สามารถนำมาแทนการอบรมเพื่อการขึ้นค่าตอบแทนพิเศษ (คพ) ได้ค่ะ "แนวทางการดำเนินการเพื่อขอรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการศาลยุติธรรม ศย 023/ว 115 (ป) ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 https://op.coj.go.th/th/content/category/detail/id/21/iid/193968 " แต่สำหรับ IDP การพัฒนาด้วย E-learning ยังคงเป็น S แต่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจัดทำ IDP3 ค่ะ

13. อบรม 1 ชั่วโมง 30 นาที กรอกผล IDP อย่างไรคะ

ตอบ ขอความร่วมมือกรอกใน IDP 2 และ google form เป็น 1.5 ชั่วโมง ค่ะ


14. แผนอยู่อีกศาล พอมาทำผลอยู่อีกศาล ไม่ได้เอาตัวจริงรอบแผนมาด้วย ให้ ผอ.ที่ศาลใหม่เซ็นแผนไหมค่ะหรือต้องเอาตัวจริงเท่านั้น

ตอบ ผู้บังคับบัญชาเหนือ 1 ชั้นขึ้นไป ลงนามในรอบผลเลยค่ะ (รอบรายงานผล ลงนามทั้ง 2 ช่อง (คู่มือหน้า 41)


15 มีน้องย้ายมาใหม่ รอบแผน ทำในตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ แล้วย้ายมาเป็นนักวิชาการ​เงินและบัญชีปฏิบัติ​การ ต้องทำ ไอดีพี 2 มาตรฐาน​กำหนดตำแหน่ง ใหม่รึเก่า คะ

ตอบ ทำ IDP ในตำแหน่งใหม่เลยค่ะ เอาข้อมูลการอบรมทั้งปี มาปรับเข้ากับตำแหน่งใหม่เลยค่ะ


16 ขออนุญาตสอบถามค่ะ หลักสูตรมาตรฐานวิชาชีพ ของการเงินที่อบรม สามารถนำมาใส่ในไอดีพี ได้หรือเปล่าคะ

ตอบ ได้ค่ะ สามารถนำมาใส่ได้ค่ะ หากมีชื่อเข้ารับการอบรม ถือเป็น T ค่ะ ใช้ประกาศเป็นเอกสารแนบ *หากเป็นผู้เข้าร่วม เป็น S ทำ idp 3 ประกอบได้วิชาละไม่เกิน 10 ชม. คะ


17. ขอสอบถามหน่อยคะ ใน google form ข้อ 12 ให้กรอกเฉพาะพนักงานคอมพิวเตอร์ใช่ไหมคะ/หรือว่าทุกคน

ตอบ กรอกทุกคนค่ะ ประเภทบุคลากรตามแผนพัฒนาทักษะดิจิทัล (ตามที่กำหนดโดย ก.ศ.) *

https://ojoc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/7341/iid/183708 หน้า 8-9


18. ขออนุญาตสอบถามแบบสรุปรายงานฯ ใช้แบบไหนครับ

ตอบ ตามนี้เลยค่ะ https://sites.google.com/view/idp-jti/form-idp-link-google-form


19.แล้วในกรณีที่ศาลแต่งตั้งตามข้อ 7 ผู้ปฏิบัติงานด้านดิจิทัล (D) เกิน 1 คน ทุกคนที่ได้รับการแต่งตั้งต้องใส่เป็น D ใช่ไหมคะ

ตอบ ใช่ค่ะ


20.รบกวนถามหน่อยค่ะว่า การเงินกับพัสดุ ที่เขาอบรมกันนับเป็น IDP ได้ทั้งหมด 30 ชั่วโมง เลยไหมคะ

ตอบ ถ้ามีใบประกาศเดียว นับ 30 ชั่วโมง ถ้ามี 2 ใบ นับ 45 ชม. ค่ะ (มีชั่วโมงซ้ำซ้อนกัน 15 ชั่วโมงค่ะ)


21.ขอสอบถาม การสตีมมิ่งของสำนักงานศาลที่มีกันเกือบทุกวันเนี้ยะ เราจะทราบได้อย่างไรว่าการอบรมหัวข้อไหนสามารถนับเป็นชั่วโมงดิจิตอลได้บ้าง

ตอบ ตามแนวทาง ของ กศ ค่ะ แผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรศาลยุติธรรม พ.ศ. 2563 - 2564 https://ojoc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/7341/iid/183708


22. ขอลิงก์ที่ จนท.ทุกคนจะต้องรายงาน IDP ผ่าน Google from ได้ไหมคะ

ตอบ https://sites.google.com/view/idp-jti/form-idp-link-google-form


23. ขออนุญาตสอบถามเกี่ยวกับการเขียนชั่วโมงในIDP-1และIDP-3​ ถ้าอบรมได้ 1​ ชั่วโมง​ 30​ นาที ถ้าเขียนแบบแยกชั่วโมงและนาทีให้ใช้เป็น 1ชม.30​ นาที​ แต่ถ้ารวมกัน​ เขียนเป็น 1.5 ชั่วโมง​ เข้าใจถูกหรือเปล่าคะ

ตอบ ใน idp2 และ google form ขอความร่วมมือเป็น 1.5 ค่ะ (เพื่อให้บวกกับเครื่องคิดเลขได้ง่าย)​ Idp1 และ idp3 ตามสะดวกเลยค่ะ


24.รบกวนถามค่ะ เคยเห็นหนังสือว่า ไม่ให้รวม IDP ของการเงินกับพัสดุ (30 ช.ม.) เนื่องจากเป็นการอบรมที่ได้เงินประจำตำแหน่ง ใช่หรือเปล่าคะ ไม่แน่ใจค่ะ

ตอบ IDP นับได้หมดค่ะ แต่ รับ คพ. (ค่าตอบแทนพิเศษที่เพิ่มขึ้นไม่ได้) แนวทางการดำเนินการเพื่อขอรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการศาลยุติธรรม ศย 023/ว 115 (ป) ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 https://op.coj.go.th/th/content/category/detail/id/21/iid/193968


25.สรุปความเห็นผลการพัฒนาจากผู้ประเมิน ใครต้องลงชื่อบ้างคะ ใช่ หัวหน้าส่วน ผอ. และผู้รับการประเมินหรือป่าวคะ

ตอบ คู่มือหน้า 43 ค่ะ https://sites.google.com/view/idp-jti/form-idp-link-google-form


26.ขออนุญาตสอบถามนะคะ/ ในแบบ ip3 ในช่องผู้รับผิดชอบ กรณีรับฟังผ่านระบบ streaming ให้ใส่เป็นชื่อหน่วยงานที่จัดอบรมหรือใส่ชื่อผู้เข้าฟังการบรรยายค่ะ/ขอบคุณคะ

ตอบ คู่มือหน้า 43 ค่ะ https://sites.google.com/view/idp-jti/form-idp-link-google-form (streaming เป็น S ใส่ชื่อตนเองค่ะ)


27. นักวิชาการพัสดุ เลือกเป็นผู้ทำงานด้านบริการ หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่อื่น

ตอบ ประเภทบุคลากรตามแผนพัฒนาทักษะดิจิทัล (ตามที่กำหนดโดย ก.ศ.) *

https://ojoc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/7341/iid/183708 หน้า 8-9


28.การอบรมเป็น T แต่ไม่มีใบประกาศ ใน idp3 ให้ทำเครื่องหมายที่ช่องไหนคะ

ตอบ T ไม่ต้องทำ IDP-3 ค่ะ


29.สอบถามค่ะ ตอนนี้เหมือนสับสน IDP (60+) เอกสารอบรมฯ ตั้งแต่ 1 ตค 62-สิงหาคม 63 ส่วนค่าตอบแทน (รอบตุลาคม) เอกสารตั้งแต่ เมษายน 63-สิงหาคม 2563 ใช่หรือไม่ค่ะ ///ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ตอบ IDP (60+) ต้องมีบริหารความเสี่ยงกี่ชั่วโมงก็ได้ และต้องมีชั่วโมงดิจิทัลไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ระยะเวลาการอบรมตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ส่วนค่าตอบแทนก็ตามหนังสือเวียนของ กจ.เลยค่ะ แนวทางการดำเนินการเพื่อขอรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการศาลยุติธรรม ศย 023/ว 115 (ป) ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 https://op.coj.go.th/th/content/category/detail/id/21/iid/193968


30.รบกวนถามอีกค่ะ น้องพนักงานราชการ อยู่ที่ศาลนี้มาตลอด แต่วันที่ 10 ส.ค.63 ไปบรรจุรับราชการ ที่ศาลอื่น ต้องทำ IDP ส่งที่ศาลเดิมหรือศาลใหม่คะ

ตอบ ส่งศาลใหม่เลยค่ะ ทั้งนี้นำ ชม.การเรียนรู้เดิมไปนับต่อกับที่ใหม่ได้เลยค่ะ


31.กรณีที่จนท.ติดเวรและขอเข้าอบรมด้วย และน้องแจ้งว่าให้ทำ idp 3 ไม่ทราบว่าจะให้เป็น s ไหมคะ

ตอบ ผู้ที่เข้าเวร จะได้รับการอนุมัติให้เข้าอบรมไม่ได้ จึงไม่ถือว่าเป็นผู้เข้ารับการอบรม เพื่อประโยชน์ในการนับ IDP และถ้าเค้าเองก็เข้าฟังการอบรมจริงๆ อาจให้ทำ IDP 3 ให้ ผู้บังคับบัญชารับรองได้ค่ะ ต้องเป็น M/S ค่ะ จะเป็น T ไม่ได้ ค่ะ


32. รบกวนถามอีกค่ะ พนักงานขับรถยนต์ และพนักงานสถานที่ ต้องมี ดิจิทัล 10 ชั่วโมง ด้วยใช่หรือเปล่าคะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ ต้องมีค่ะ...บุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมทุกคนจ้า


33.รบกวนสอบถามค่ะในidp 2 ต้องให้ผอ.ลงชื่อด้วยไหมคะ

ตอบ ตามเล่มแนวทาง idp 2 มีให้ลงนาม 3 จุด จุดแรกคือ ผู้รับการพัฒนา คือตัวเราเอง จุดที่สองและสาม คือผู้บังคับบัญชา หมายถึง ลงชื่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 1 ชั้น อาจเป็นบุคคลเดียวกันหรือผู้บังคับบัญชาคนใหม่ก็ได้ค่ะ *** หากท่าน ผอ.ประสงค์จะเป็นผู้รับรองก็สามารถดำเนินการ ได้ตามดุลพินิจเลยค่ะ ***


34.รบกวนสอบถามกรณีเจ้าหน้าที่ศาลสอบตำแหน่งตำรวจศาลได้และมีคำสั่งแต่งตั้ง 24 ก.ค.63 ในการจัดทำ idp ต้องไปที่ศาลใหม่ใช่รึป่าวคะ เพราะว่าน้องทำเอกสารไว้ให้แล้ว หากเป็นที่ศาลใหม่ดำเนินการจะได้ส่งให้ศาลใหม่ดำเนินการต่อค่ะ

ตอบ บุคลากรอื่นที่ย้ายระหว่างปีให้ส่งที่ศาลที่บรรจุใหม่เลยค่ะ *** ยกเว้น ตำรวจศาลซึ่งยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติงานที่ใหม่ ขอให้ศาลเดิมดำเนินการให้นะคะ


35. รบกวนถามต่อคะ ในกรณีที่หัวหน้าส่วนงานเดิมรับรองแผน แต่ตอนนี้ย้ายไปมีคนใหม่มา คนใหม่สามารถลงนามในรับรองแผนแทนได้ใช่ไหมคะ

ตอบ ได้เลยค่ะ


36.รบกวนสอบถามคะ กรณีข้าราชการไปช่วยราชการที่ศาลอื่นแล้ว ศาลเดิมหรือศาลที่ไปช่วยจะต้องเป็นผู้สรุปรายงานผล IDP คะ

ตอบ ศาลที่ช่วยเป็นผู้แจ้งจำนวนชั่วโมงการพัฒนาค่ะ (ศาลเดิม ใส่ชื่อในแบบสรุป และแจ้งหมายเหตุว่าไปช่วยราชการที่ศาล .. นะคะ)


37.คนที่เพิ่งบรรจุไม่ถึงเดือนกับบรรจุมาสามเดือนต้องทำidpไหมครับ

ตอบ ทำค่ะ ทำทุกคน แต่ ไม่ต้องครบ 60 ชม ก็ได้ค่ะ


38.ขออนุญาต​สอบถามครับ google form ข้อ 15 หากไม่ได้เข้ารับการอบรมภายนอก ให้ใส่ 0 ใช่ไหมครับ หากไม่ได้อบรมจะมีผลไรไหมครับ

ตอบ ใส่ 0 เลยค่ะ ไม่ได้อบรมภายนอกก็ไม่เป็นไร ค่ะ


13/08/2020 11:51:59

39.รบกวนสอบถามค่ะ การกรอกประสบการณ์ทำงานใน idp1 น่ะค่ะ นับตั้งแต่บรรจุเข้ารับราชการถึงปัจจุบัน ย้อนหลังไม่เกิน10 ปี ให้กรอกเฉพาะที่มารับราชการที่สำนักงานศาลเท่านั้นเปนต้นมา หรือว่า กรอกตั้งแต่เข้ารับราชการจากหน่วยงานอื่นๆๆมาด้วยคะ จนถึงปัจจุบัน. เพราะมี จนท บางคนกรอกหน่วยงานเดิมมาด้วยค่ะ

ตอบ เฉพาะในส่วนของสำนักงานศาลฯ ค่ะ


40. ขอลิงค์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การบริหารความเสี่ยง และแบบทดสอบ ของสำนักแผนฯ เพื่อเก็บ IDP 1 ชั่วโมง

ตอบ https://oppb.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/9643/iid/205522


41. การอบรมของ กพ ให้เป็น s หรือ t คะ

ตอบ การเรียน e-learning ของสำนักงาน ก.พ., e-learning ของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม e-learning ของสำนักงาน ก.พ.ร. และ ThaiMOOC === เป็น Self Learning ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำ IDP-3


42.ขออนุญาต​สอบถามครับ ข้อ 15 หากไม่ได้เข้ารับการอบรมภายนอก ให้ใส่ 0 ใช่ไหมครับ หากไม่ได้อบรมจะมีผลไรไหมครับ

ตอบ ใส่ 0 เลยค่ะ ไม่ได้รับการอบรมไม่เป็นไรค่ะ


43.ในกรณีที่เรากรอกข้อมูลในแบบรายงานผลตามแผนพัฒนารายบุคคล IDP ผิด จะแก้ไขได้ยังไงค่ะ

ตอบ กรุณาอย่ากรอกข้อมูลซ้ำ หากท่านต้องการแก้ไขข้อมูล ท่านสามารถแก้ไขข้อมูลได้จาก email อัตโนมัติที่ระบบ google จะจัดส่งไปยัง email address ที่กรอกไว้ในคำถามแรก หากท่านไม่ได้ email ตอบรับภายใน 1 วัน กรุณาส่ง email สอบถามไปยังส่วนนโยบายและแผนการพัฒนา สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม jdrt_policy@coj.go.th


44. ส่ง google form ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเมล์ จะตรวจสอบอย่างไรค่ะ

ตอบ การตรวจสอบเบื้องต้นนะคะ

1.ขอให้ตรวจสอบ ในเมลขยะด้วยนะคะ บางครั้ง เมลของเราก็ตั้งค่าไว้ให้ เมล พวกนี้ไปเข้าถังขยะ

2. ลองใช้ช่องค้นหาเมลค่ะ ค้นหา เมล google ค่ะ ลองค่อยๆ ดู จะมีเมล จาก google form ค่ะ

ในเมลจะมี ปุ่ม แก้ไขค่ะ หากท่านต้องการแก้ไขข้อมูล ให้กดปุ่มแก้ไข แล้วดำเนินการแก้ไข แล้วกด ส่ง อีกรอบ นะคะ


45.ขออนุญาตสอบถามค่ะ หากในแผนระบุจำนวนชม.ไว้เช่น 78 ชม. แต่รอบผลได้ไม่ถึงตามระบุไว้ ได้เพียง 64 ชม. จะต้องใส่เหตุผลที่ไม่เป็นไปตามแผนด้วยไม๊คะ เพราะส่วนใหญ่จะได้ชม.ไม่ถึงตามที่ระบุไว้ในแผนค่ะ

ตอบ แสดงเหตุผล เฉพาะกรณีที่ได้รับการพัฒนาไม่ครบ 60 ชั่วโมงค่ะ


46.ขอบรบกวนสอบถาม กรณีอบรม ผ่านระบบ streaming ที่สำนักงานศาลจัดในแต่ล่ะหัวข้อ เราต้องทำขออนุญาตเข้ารับฟังเสนอท่านหัวหน้าศาลหรือผอ.ด้วยไหมค่ะ และเมื่อเข้าอบรมเสร็จต้องทำรายงานเสนอด้วยหรือไม่ค่ะ นอกเหนือจากที่ต้องทำ IDP3 ค่ะ

ตอบ โดยปกติไม่ต้องทำค่ะ จนท. เรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างอิสระ แค่สรุปความให้หัวหน้าส่วนเชื่อว่าเราได้รับการพัฒนาเรื่องนั้นๆ จริง สรุปใน IDP-3 และ หัวหน้า/ผอ. ก็จะลงนามรับรองใน IDP-3 ให้ค่ะ แต่ ท่าน ผอ. มีสิทธิในการกำหนดแนวทางของศาลท่านเอง ถ้าท่าน ผอ. เห็นว่า บุคลากรในศาลท่าน ไม่ยอมฟังสตรีมมิ่งจริง IDP-3 ก็ไปลอกๆๆ กันมา ท่านก็มีสิทธิที่จะกำหนดว่า ต้องขออนุญาตก่อนเรียน หรือ ต้องทำรายงานส่ง ค่ะ --- แล้วแต่ท่าน ผอ.เลย เพราะ ท่าน ผอ. ต้องปรับให้เข้ากับ บริบท ของศาลของท่านด้วยค่ะ

รวบรวม ปัญหา อุปสรรค และคำแนะนำ เกี่ยวกับแผนพัฒนารายบุคคล จากแบบสอบถามผ่านระบบ Google Form

1.การใช้กระดาษในการจัดทำแผน IDP มากเกินความจำเป็น

ตอบ หากมีหลักฐานการเข้ารับการอบรมอยู่ที่ส่วนช่วยอำนวยการ และจัดทำโครงการอบรม (T) ในลักษณะที่ทำร่วมกันทั้งศาล บุคลากรไม่จำเป็นต้องถ่ายเอกสารใด ๆ แนบ IDP-2

อนึ่ง หากหน่วยงานออกใบประกาศฯ บุคลากรก็สามารถใช้ใบประกาศฯ ฉบับจริงในการแนบ IDP-2 โดยไม่จำเป็นต้องถ่ายเอกสาร เมื่อส่วนช่วยอำนวยการดำเนินการตรวจสอบและจัดทำแบบสรุปเรียบร้อยแล้ว จะคืนเอกสารทั้งหมดคืนให้กับเจ้าของ IDP ต่อไป

2. การดู Streaming ย้อนหลังทาง https://video.coj.go.th/ บางหัวข้อมี บางหัวข้อไม่มี

ตอบ ท่านสามารถดูย้อนหลังได้ทุกหัวข้อ ผ่าน intranet ที่ http://live.coj.intra/web/vdopub.php ได้ทุกหัวข้อ

3.การจัดทำ IDP เป็นการเพิ่มภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่

ตอบ บุคลากรทุกคนต้องได้รับการพัฒนา และ IDP เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาวางแผนการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาของหน่วยงานนั้น ๆ หากผู้จัดทำ IDP สามารถพัฒนาตนเองได้ตามแผนที่วางไว้ร่วมกับผู้บังคับบัญชาได้อย่างเต็มที่ บุคลากรผู้นั้นจะเป็นผู้ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อประโยชน์ต่อทั้งตนเอง หน่วยงาน และองค์กรต่อไป

4.เกิดความสับสนในการแยกประเภทของวิธีการพัฒนา

ตอบ การพัฒนาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ (1) การอบรมในห้องเรียน และ (2) การพัฒนาด้วยวิธีการอื่น ๆ 12 วิธี ท่านสามารถศึกษาแนวทางการพัฒนาด้วยวิธีการอื่นได้จาก แนวทางพัฒนาบุคลากรและแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) https://jti.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/8999/iid/151797

5.เนื่องจากเป็นตำแหน่งพนักงานขับรถจึงไม่มีเวลาได้เข้าร่วมอบรม

ตอบ การพัฒนาตนเองสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ระหว่างการปฏิบัติงาน หรือการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์

6.การที่หน่วยงานสำนักงานศาลยุติธรรมใช้วิธีการอบรมด้วยวิธีการ Streaming เป็นหลัก อาจจะไม่สามารถพัฒนาศักยภาพบุคลากรได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ และทำให้บุคลาการขาดความใส่ใจหรือความตั้งใจในการเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ ไม่ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบนี้เท่าที่ควร

ตอบ การพัฒนาตนเองสามารถทำได้ทั้งการอบรมในห้องเรียน และการพัฒนาด้วยวิธีการอื่นๆ 12 วิธี สามารถทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ระหว่างการปฏิบัติงาน หรือการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์

การพัฒนาตนเองไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดหรือใช้ช่วงเวลาใด ขึ้นกับความตั้งใจใฝ่รู้ของแต่ละคนเป็นสำคัญ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การบริหารจัดการเวลาในการทำงานให้มีความเหมาะสม รวมทั้งเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และใช้ชีวิตอย่างสมดุล

7. 1.ผอ.ไม่ให้ชั่วโมงแก่ผู้เข้ารับการจัดการอบรมองค์ความรู้กับวิทยากรตัวคูณ ให้เฉพาะวิทยากรที่บรรยายเท่านั้น ผู้เข้ารับการอบรมไม่ให้ ตกลงผู้เข้ารับการอบรมได้ไหมคะ สอบถามที่ศาลอื่นได้หมด ยกเว้นศาลนี้ผอ.ไม่ให้

      • 2.ผอ.ไม่ให้ชั่วโมงผู้อบรม e-Learning ของกพ. ซึ่งมันเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self learning) ทุกศาลทำได้ แต่ที่นี่.ผอ.ไม่ให้

      • 3.ผอ.ให้จัดทำรายงานหลังจบการฟังบรรยายผ่านการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง (Streaming) ทุกหัวข้อที่เข้า ซึ่งถ้าทำรายงานส่งแล้วผอ.ไม่เห็นชอบผอ.ก็ไม่ให้ชั่วโมงเปลืองทรัพยากรของศาลมาก ไหนว่าให้ลดปริมาณกระดาษลง

      • 4.การจัดการศึกษาดูงานนอกสถานที่ส่วนใหญ่ผอ.ให้แต่ขรก.ไป ลูกจ้าง และพนักงานราชการมักจะไม่ได้รับโอกาสไป

      • 5.อยากทราบว่าการอบรมภายนอกอนุญาตให้แต่ขรก.ไปอบรมหรือคะ พนง.ราชการ และลูกจ้างไปไม่ได้หรือคะปัญหามีอีกมากคะ พิมพ์ลงไปคงไม่หมดอยากให้มาตรวจสอบที่นี่จังเลยว่าที่นี่ทำไมไม่เหมือนที่อื่น

ตอบ 1.การเข้ารับฟังการบรรยายในห้องเรียนไม่ว่าจะรับฟังจากวิทยากรภายนอกหรือวิทยากรภายในหน่วยงาน ผู้รับฟังการอบรมสามารถรับชั่วโมงการพัฒนาเป็นการอบรมในห้องเรียน (T) ได้

2.การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ E-Learning ของสำนักงาน ก.พ. สามารถนับเป็นชั่วโมงการพัฒนาได้

3.ประเด็นการนับชั่วโมงการพัฒนาใน IDP-3 เป็นเรื่องที่ต้องตกลงกัน ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาค่ะ การจัดทำ IDP-3 ในส่วนของการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ Streaming สามารถกรอก IDP-3 รวมกันได้ใน 1 ใบ ตามตัวอย่างในฟอร์ม IDP รอบผล 2562 https://jti.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/8999/iid/151797

5.พนักงานราชการศาลยุติธรรมและลูกจ้างสามารถเข้ารับการอบรมกับหน่วยงานภายนอกได้ แต่เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด การจัดส่งบุคลากรไปอบรมกับหน่วยงานภายนอกต้องคัดกรองส่งในหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและขึ้นอยู่กับแนวทางการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานและผู้มีอำนาจอนุมัติ

8.เห็นว่าการต้องฝึกอบรม 60 ชั่วโมง มากเกินไป การฝึกอบรมควรอยู่ภายใน 30 ชั่วโมงจะดีกว่านี้ เนื่องจากบางหน่วยงานมีภาระงานเยอะมากอยู่แล้วซึ่งอาจจะไม่มีเวลาไปฝึกอบรม

ตอบ ตามที่กล่าวว่า "ต้องฝึกอบรม 60 ชั่วโมง" "กำหนดชั่วโมงฝึดอบรมมากเกินไป" เป็นต้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน การพัฒนาบุคลากรสามารถทำได้ทั้งการอบรมในห้องเรียน และการพัฒนาด้วยวิธีการอื่นๆ 12 วิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ระหว่างการปฏิบัติงาน หรือการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมได้เห็นชอบให้บุคลากรของสำนักงานศาลยุติธรรมทุกคนต้องได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง ต่อคนต่อปี

9.การพัฒนาตนเองโดยวิธีการอื่น ควรแก้ไขจำนวนชั่วโมงในแต่ละวิธีการเช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองที่กำหนดไว้ให้ไม่เกิน 10 ชั่วโมง ควรปรับแก้ให้มีจำนวนชั่วโมงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสำนักงานศาลยุติธรรมไม่ให้นำการพัฒนาตนเองโดยการอบรมในห้องเรียนมานับจำนวนชั่วโมงแล้ว ดังนั้นวิธีการพัฒนาตนเองทั้ง 12 วิธีควรแก้ไขให้ไม่มีการจำกัดจำนวนชั่วโมงในแต่ละวิธีการพัฒนาตนเอง

ตอบ เกณฑ์ดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดของแต่ละหัวข้อวิชา ซึ่งในแต่ละวิธีการอาจพัฒนาได้ไม่จำกัดจำนวนหัวข้อวิชา เช่น นายเอ สามารถพัฒนาโดยการฝึกขณะปฏิบัติงานรับฟ้องคดีอาญา (OJT) จำนวน 6 ชั่วโมง และฝึกขณะปฏิบัติงานออกหมายสี จำนวน 6 ชั่วโมง ซึ่งต้องแนบแบบ IDP-3 ของทั้ง 2 หัวข้อ

หรือ นางสาวเอ เรียนผ่าน e-learning ของสำนักงาน ก.พ. ในหัวข้อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 12 ชั่วโมง สามารถใช้เป็นชั่วโมงการพัฒนาภายใต้การเรียนรู้ด้วยตนเอง (S) หัวข้อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 10 ชั่วโมง แต่ นางสาวเอ ยังสามารถเรียน e-learning หัวข้ออื่น ๆ ได้อีก

(การเรียน e-learning ของสำนักงาน ก.พ. เป็น Self Learning ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำ IDP-3 โดยให้ใช้เป็นแนวทางการเรียน e-learning ของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม รวมทั้ง e-learning ของสำนักงาน ก.พ.ร. และ ThaiMOOC ด้วย)

10.ข้าราชการระดับปฎิบัติงาน ชำนาญงาน ปฎิบัติการ ในศาลต่างจังหวัดส่วนมากไม่มีโอกาสเข้าการรับฟังบรรยายช่วงวันทำการในเวลาได้ ขอความเห็นว่าน่าจะมีช่วงพักเที่ยงหรือเย็นหลังเลิกงานครับ เพราะระดับนี้เป็นระดับปฎิบัติงานไม่สามารถเข้ารับฟังได้ต้องทำหน้าที่บริการประชาชนผู้มาติดต่องาน หากเป็นไปได้ขอมีสตีมมิ่งช่วงเวลานอกงานพักเที่ยงเพื่อจะได้มีชั่วโมงมาช่วยลง IDP ครับ ขอบคุณครับ

ตอบ การพัฒนาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการอบรมในห้องเรียนและการพัฒนาด้วยวิธีการอื่น ๆ 12 วิธี

การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ Streaming สามารถทำได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา อาจจะเป็นการรับฟังระหว่างที่ไม่มีประชาชนมาติดต่อ ทั้งยังสามารถรับฟังได้จากหน้าโต๊ะคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ (facebook live) ของตัวท่านเอง แม้จะเป็นการรับฟังย้อนหลังก็สามารถรับชั่วโมง IDP ได้ หากสามารถทำให้หัวหน้าส่วนเชื่อว่าเรารับฟังจริง ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังพร้อมกันในส่วนงาน หรือการสรุปประเด็นที่สำคัญให้หัวหน้าส่วนได้เชื่อว่าเราได้รับการพัฒนาจริง

*ท่านสามารถดู Streaming ย้อนหลังได้ทุกหัวข้อ ผ่าน intranet ที่ http://live.coj.intra/web/vdopub.php