วิธีติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปให้แข็งแรง

เทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นตัวช่วยในการสร้างบ้านนั้น ปัจจุบันมีการแผ่ขยายฟังก์ชันต่างๆ ไปยังชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ครอบคลุมกันตั้งแต่ ภายใน ภายนอก ไปจนถึงงานโครงสร้างบ้านด้วยเช่นกัน ดังนั้นปัจจุบันหลายสิ่งเกี่ยวกับการก่อสร้าง จึงกลายเป็นเรื่องง่ายและประหยัดเวลามากขึ้นหลายต่อหลายเท่า สิ่งหนึ่งที่ปัจจุบันดูเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของการสร้างบ้านก็คือ แผ่นพื้นสำเร็จรูป นั่นเอง

สำหรับชิ้นส่วนวัสดุในโครงสร้างที่สำคัญในตัวบ้านชิ้นนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมๆ กับยุคความเจริญก้าวหน้า ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลก ความประหยัดที่ช่วยไปเซฟในส่วนของทั้งค่าแรง และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมต่างๆ ที่ลดลงไปเกินครึ่ง จนทำให้งบประมาณของการสร้างบ้าน ที่ทำภายใต้เศรษฐกิจที่อะไรๆ ก็แพงกันไปหมดนั้น ดูเหมือนว่าการเลือกใช้ส่วนของแผ่นพื้นสำเร็จจะเข้ามาแก้ปัญหาในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี ในแบบที่เห็นได้ชัดเจนเลยทีเดียว การติดตั้งและความแข็งแรงนั้น ถือว่าเป็นจุดเด่นที่นอกเหนือจากราคาของชิ้นงานชนิดนี้ ดังนั้นวันนี้เราจะมาว่ากันด้วยการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จ กันว่าทำอย่างไรถึงจะคุ้มค่าและแข็งแรงทนทานที่สุด

 

ขั้นตอนของการเตรียมพื้นที่และไม้ค้ำยัน

ขั้นตอนแรกภายหลังจากที่มีการเตรียมคานในโครงสร้างแล้วเป็นที่เรียบร้อย ในการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูป จะมีการเคลียร์และเตรียมพื้นที่ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะติดตั้ง โดยการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จนั้น จะต้องมีการเตรียมระยะในส่วนของความยาว ที่อย่างน้อยจะต้องมีไม่ต่ำกว่า 15 ซม. ซึ่งนั่นก็คือระยะระหว่างคาน หรือเป็นความกว้างของระยะคานนั่นเอง และที่สำคัญเลยก็คือ ต้องมีระยะที่เผื่อไว้สำหรับการทับซ้อนให้สนิทกันของแผ่นพื้นและคาน ที่ต้องมีระหว่าง 5 ถึง 7.5 ซม.ด้วยเช่นกัน จากนั้น ก็จะต้องมีการเตรียมในส่วนของไม้ค้ำยัน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่มีไว้สำหรับการค้ำยืนชั่วคราว ซึ่งต้องคำนึงถึงน้ำหนักเพิ่มเติม ที่มาจากการเทพื้นคอนกรีตเพิ่มเติม ที่จะทับในส่วนของแผ่นพื้นสำเร็จรูปด้วยนั่นเอง โดยในขั้นตอนที่ต้องมีไม้ค้ำยันนั้น จะช่วยลดการแตกร้าวเสียหายของแผ่นพื้นสำเร็จได้นั่นเอง

 

ขั้นตอนการวางแผ่นพื้นและติดตั้งเหล็กเสริม พร้อมเทคอนกรีตผิวหน้า

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้งแผ่นพื้นประเภทนี้ ที่จะได้ความทนทาน และความแข็งแรง ซึ่งโดยทั่วไปในการทำงาน ในขั้นตอนนี้นั้น จะต้องสามขั้นตอน รวบให้อยู่ในวันเดียวให้เสร็จ เพื่อให้ได้ความต่อเนื่องของการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั่นเอง  ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ และมีการเตรียมไม้ค้ำยันแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนของการวางแผ่นพื้น แน่นอนว่าตำแหน่งการวางจะต้องอยู่ในตำแหน่งของคานที่ผ่านการหล่อเสร็จสิ้นแล้ว  โดยระยะที่เรียกว่า ระยะนั่งคาน จะเป็นระยะที่ไม่ควรจะต่ำกว่า 5 ซม. และไม่เกิน 7 ซม. จึงจะเหมาะสม เพื่อการเรียงที่แนบสนิท จากนั้นก็จะมีการติดตั้งเหล็กเสริม เพื่อรอการเทคอนกรีตในการทำหน้าที่พื้นผิวด้านบนสุดนั่นเอง โดยเหล็กเสริมจะทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรง ลดการแตกร้าวอีกด้วย

 

สรุป

ในการที่ท่านต้องการความรวดเร็ว และยังมีคงมีความแข็งแรงเข้ามาด้วย สำหรับการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จจะต้องมองถึงการหาปัจจัยอื่นๆ เข้ามาช่วยด้วยเช่นกัน เพราะเช่น ถ้ามีการเลือกน้ำยาผสมบางชนิด ที่ใช้กับงานคอนกรีตที่เทพื้นโดยเฉพาะ ก็จะช่วยลดการซึมน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาจุกจิกที่ตามมาในการเทพื้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรศึกษาตัวช่วยต่างๆ เข้ามาเพิ่มเติมด้วยสำหรับความแข็งแรงทนทาน ของพื้นบ้านที่ท่านต้องการ