สายไฟขนาดใดบ้าง ที่พาดผ่านเสาไฟฟ้าตามท้องถนน

นอกจากที่เราได้เคยอธิบาย ในส่วนประกอบ ทั้งการผลิตและการติดตั้งเสาไฟฟ้า ตามท้องถนน หรือตามตรอก ซอกซอย หน้าบริเวณบ้านของท่านผู้อ่านกันไปแล้ว บางท่านน่าจะยังมีข้อสงสัยอยู่เช่นกันว่า ปัจจุบันสายระโยงระยางที่พาดผ่านเสาไฟฟ้า ที่เราได้เห็นผ่านตาเป็นประจำนั้น เป็นสายไฟในรูปแบบใด หรือมีสายเคเบิ้ลจากเอกชนเข้ามาใช้งานร่วมกันหรือไม่ และทั้งยังมีโครงข่ายของอินเตอร์เน็ต ที่เราต้องใช้งาน ที่ถือว่าเป็นการใช้ร่วมกับสายไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เป็นประโยชน์แบบครอบคลุม ที่ใช้งานกันคุ้มค่าที่สุดสำหรับเสาไฟฟ้าในยุคนี้ แต่แน่นอนว่าเราจะมาขยายความกันอีก กับเรื่องของสายไฟ และสายอื่นๆ ที่ใช้กับเสาไฟฟ้า ที่เราได้เห็นกันตั้งแต่เล็กจนโต โดยเรามีข้อมูลดีมาให้ท่านผู้อ่านดังนี้

 

สายไฟฟ้าที่พาดเสาไฟฟ้าคอนกรีต

แน่นอนว่าสายไฟ ที่ทำหน้าที่ในการส่งไฟฟ้าให้เราได้ใช้งานกันในชีวิตประจำวัน จะมีขนาดและกระแสของไฟฟ้า ตามรูปแบบของการใช้งาน หากว่าเป็นสายไฟตามท้องถนนหลวง ถนนเส้นหลักๆ ที่เป็นเส้นทางข้ามจังหวัด ที่มีเสาไฟฟ้าติดตั้งตามสองข้างทางนั้น เราสามารถตีความได้ก่อนว่า ด้วยความสูงที่เกิน 10 เมตรขึ้นไปของเสาคอนกรีต ที่มีสายไฟพาดผ่านนั้น จะเป็นเสาไฟฟ้าที่ทำหน้าที่กระจายไฟไปยังพื้นที่ห่างไกล สามารถฟันธงได้ก่อนดับแรกว่า นั่นคือไฟฟ้าที่เป็นประเภทสายไฟแรงสูงก็ว่าได้ เพราะต้องกระจายหรือลำเลียงไฟฟ้าไปยังโรงไฟฟ้า หรือตามหม้อแปลงกักเก็บไฟฟ้าก่อนที่จะกระจายไปยังครัวเรือนอีกที สามารถตีความได้ว่า 12 เมตรสำหรับความสูงของเสาไฟฟ้าคอนกรีตนั้น จะมีกระแสไฟแรงสูงอยู่อย่างน้อย สองหมื่นกว่าโวลต์เลยทีเดียว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเสาคอนกรีตเหล่านั้นโดยตรงน่าจะปลอดภัยกว่าสำหรับทุกท่าน

 

เสาคอนกรีตความสูงต่ำกว่า 10 เมตร

เราสามารถตีความ ความสูงของเสาไฟฟ้าที่มีน้อยกว่าสิบเมตรได้ว่า นั่นคือหมวดหมู่ที่จัดอยู่ในประเภทของ เสาบริการ หรือเสาไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่มีไว้ใช้ในการพาดผ่านสายไฟ ที่ลำเลียงไฟไปใช้ตามครัวเรือน และนอกจากนั้นยังทำหน้าที่ ในการรองรับการพาดผ่านของ สายสื่อสาร หรือเป็นสายไฟในหมวดหมู่เช่น สายกล้องวงจรปิด สายสัญญาณจราจรตามสี่แยก สายเคเบิลทีวี สายไฟเบอร์โครงข่ายอินเตอร์เน็ต และเป็นสายบริการอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า จะมีการใช้งานพาดผ่านเสาไฟฟ้าด้วยเช่นกันในบางพื้นที่ แต่แน่นอนว่าจะต้องมีการขออนุญาตทางการไฟฟ้าเป็นกิจลักษณะเสียก่อน จึงจะสามารถใช้งานได้ตามระเบียบ ซึ่งถือว่าเป็นระเบียบปฏิบัติที่ต้องยึดถืออยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าถ้าหากเป็นการแบ่งแยกขนาดของเสาไฟฟ้า ที่ใช้กับสายไฟฟ้าและสายสื่อสารเหล่านี้ จะอยู่ที่ความสูงไม่เกิน 8-10 เมตร หรืออาจจะเป็นเสาไฟฟ้าขนาด 6 เมตร ที่เป็นเสาบริการที่เห็นกันตามบ้าน หรือตามชุมชนพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น

 

สรุป

ปัจจุบันประเภทการใช้งานของเสาไฟฟ้า ถ้าหากว่ามีการแบ่งแยก กันไปตามระดับของความสูง น่าจะเป็นวิธีการแยกได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งท่านสามารถระมัดระวังในการใช้ชีวิต ซึ่งหากว่าจำเป็นต้องเข้าใกล้เสาไฟฟ้าเหล่านั้น หรือแน่นอนว่าตามหัวข้อด้านบนที่เราได้แนะนำไว้ อีกช่องทางของการแยกกันตามขนาดของสายไฟ หรือประเภทของสายไฟ ที่พาดผ่านเสาก็จะช่วยระบุได้ด้วยเช่นกัน