การทำสวนยางพารา

'ยางพารา' อีก1อาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้

ถ้าพูดถึงอาชีพก็มีหลายด้านให้เราพยายามไขว้คว้า แต่วันนี้เราจะพูดถึงอาชีพนึงที่เลี้ยงปากท้องลูกหลานส่วนใหญ่ เป็นอาชีพที่รักษาธรรมชาติอีกด้วยนั่นก็คือ'อาชีพเกษตรกร' ซึ่งแต่ภาคของประเทศไทย ก็เลือกทำการเกษตรตามภูมิอากาศของประเทศไทย เช่น..การปลูกผักหรือผลไม้ตามฤดูกาล และวันนี้เราจะมาพูดถึงอาชีพทางภาคใต้ แน่นอนอาชีพหลัก ๆ ของชาวใต้จังหวัดชุมพร คือเกี่ยวกับยางพารา

คนใต้ส่วนใหญ่มี'อาชีพกรีดยางพารา'บางคนก็รับจ้างกรีดยางพารา บางคนก็มี'สวนยางพารา'เป็นของตัวเอง คนที่มี'สวนยาง'เป็นของตัวเองหากลงกรีดยางด้วยตัวเองก็จะดีหน่อย เพราะรายได้จะมาลงกระเป๋าเราคนเดียว ส่วนคนที่จ้างคนมากรีดยางและคนที่รับจ้างกรีดยาง การจ้างส่วนใหญ่ไม่ได้จ้างแบบรายวัน(ไม่เคยเห็นการจ้างแบบรายวัน) แต่จะจ้างแบบได้เงินมาเท่าไหรก็แบ่งครึ่งเท่ากับเจ้าของสวนยาง เช่น...วันนี้เก็บน้ำยางพาราขายได้เงินมา2,000บาท ลูกจ้างจะต้องแบ่งกับเจ้าของส่วนคนละครึ่ง ก็คือคนละ1,000บาท ซึ่งแน่นอนการจะว่าจ้างคนมากรีดยาง คนที่ว่าจ้างเองก็คงจะมีสวนยางพารามากมาย ดูแลคนเดียวไม่ได้จึงจ้างคนมากรีดยาง อีกอย่างคือต้องดูด้วยว่าลูกจ้างซื่อสัตย์หรือเปล่า ไม่งั้นก็อาจจะโดนโกงได้ง่าย ๆ

การกรีดยางชาวสวนเน้นเป็นหัวรุ่ง(รุ่งสาง)หรือหลังเที่ยงคืนประมาณตี2-4 ที่เลือกเวลาหลังเที่ยงคืนถึงรุ่งสางเพราะอากาศเย็น ทำให้น้ำยางออกได้ปริมาณดี และคุณภาพน้ำยางข้นดีอีกด้วย ที่ยางพาราไม่เน้นกรีดตอนมีแดดเปรี้ยงเพราะทำให้น้ำยางออกน้อย และคุณภาพน้ำยางไม่ข้น(ทางภาคใต้ส่วนมากจะกรีดยางเวลาหลังเที่ยงคืนลงไป) ส่วนการกรีดยางนั่นก็ไม่ได้กรีดกันทุกวันนะ บางคนก็จะกรีดยาง6วันติดละก็หยุด1วัน บางคนจะกรีด3วันติดละก็หยุด1วัน(แล้วแต่จะหาวันหยุด)ส่วนใครที่กรีดยางทุกวันไม่พักเขาจะต้องดูต้นยางเป็นพิเศษ คือการใส่ปุ๋ยเยอะเป็นเท่าตัว (แล้วแต่วิธีการดูแลของแต่ละคน) และการกรีดยางหากกรีดไม่ดีหน้ายางอาจจะเสีย และน้ำยางอาจจะออกน้อย

วิธีการหลัก ๆ ที่เกษตรกรชาวสวนยางทำกัน

วิธีที่1.น้ำยาง

- วิธีนี้ไม่ยุ่งยากเท่าไหร แค่ชาวสวนกรีดยางและรอจนน้ำยางไหลจนหยุด เมื่อน้ำยางหยุดไหลแล้วชาวสวนก็จะนำถังเก็บน้ำยาง และช้อนกวาดน้ำยาง มาเก็บน้ำยางลงถัง เมื่อเสร็จสิ้นก็จะนำน้ำยางไปขายที่แหล่งรับซื้อ ซึ่งราคาจะดีกว่ายางพาราที่เป็นแผ่นหรือเป็นก้อน วิธีนี้จะต้องทำทุกวัน ส่วนมากจะเก็บตอนเช้า ๆ หรือเกือบสว่าง เพราะถ้าแดดออกเปรี้ยงก็จะทำให้น้ำยางค่อย ๆ แห้งลง จะเก็บยากหรือไม่ก็เก็บไม่ได้ ก็ต้องทำเป็นขี้ยาง แต่ถ้าวันไหนฝนตกก็ไม่ได้กรีดยาง เป็นอันขาดทุนไปอีกวัน

วิธีที่2.เก็บน้ำยางมาทำเป็นแผ่น

- วิธีนี้มีขั้นตอนมากกว่าการเก็บน้ำยางนิดนึง วิธีต้น ๆ คือเก็บน้ำยางเหมือนกันกับวิธีที่1 เมื่อเก็บน้ำยางเสร็จจะไม่นำไปขาย แต่จะนำน้ำยางมาเทใส่ถาดสี่เหลี่ยมขนาดกลาง และจะเอาน้ำส้มฆ่ายาง(กรดฟอร์มิก)ผสมลงในน้ำยางให้มันแข็งตัวเหมือนเนื้อวุ้น เมื่อแข็งตัวแล้วก็นำออกจากถาดไปใส่ในเครื่องรีดยางให้เป็นแผ่น รีดจนเป็นแบนหนาและก็นำไปตาก ส่วนการตากนั้นจะตากนานหรือไม่นานก็แล้วแต่คนทำเลย หลังจากนั้นก็นำยางแผ่นไปขาย

วิธีที่3.ขี้ยาง

- วิธีนี้ไม่ค่อยยุ่งยากเท่าไหร แค่กรีดยางเสร็จก็รอน้ำยางไหลจนหยุด แล้วก็นำน้ำส้มฆ่ายาง(วิธีนี้น้ำส้มฆ่ายางต้องผสมน้ำเปล่า)ไปหยอดลงในน้ำยาง(จะไม่หยอดก็ได้ แต่ส่วนมากจะหยอดให้มันแห้งเร็ว และเป็นก้อนน้ำหนักดี) ก็เป็นอันเสร็จไม่ทำอะไรแล้ว แต่วิธีนี้จะกรีดยางสะสมกันหลายวันแล้วก็ใช้น้ำส้มฆ่ายางหยอดให้แห้งจับตัวเป็นก้อน และก็ทำแบบนี้ไปประมาณ6-7วัน(หรือนานกว่านั้น) และก็เก็บขาย วิธีนี้ส่วนมากคนที่มีสวนยางพาราไม่มากจะทำวิธีนี้ หรือคนที่มีลูกจ้างกรีดยางส่วนมากก็จะทำวิธีนี้เช่นกัน เพราะเวลาขายจะได้ปริมาณยางก้อนที่เยอะกว่า เพราะกรีดยางสะสมมาหลายวัน

บางพื้นที่ก็จะทำเป็นขี้ยาง(ลูกจ้างของพ่อนักเขียนเองก็ทำเป็นก้อนขี้ยางขางขาย) บางพื้นที่ก็จะทำเป็นแผ่นก่อนจะนำไปขาย ซึ่งมันก็แล้วแต่ว่าปริมาณของน้ำยางที่กรีดในแต่ละวันจะมากหรือน้อย ทำได้แบบไหนและขึ้นอยู่กับความสะดวกของเราด้วย และเมื่อถึงช่วง'ปิดกรีด'ซึ่งการ'ปิดกรีด'จะปิดช่วงเดือนเมษาหรือปลาย ๆ เดือนมีนา เหล่าลูกจ้างก็จะไปหาอาชีพเสริมทำ เพราะเมื่อ'ปิดกรีด'ยางจะผลัดใบจนหมด กรีดไม่ได้เพราะน้ำยางไม่ออก ถ้าออกคืออกไม่ได้ปริมาณมาก ซึ่งส่วนมากชาวสวนต้องรอให้ถึงช่วง'เปิดกรีด' กว่าจะถึงช่วง'เปิดกรีด'ต้องรออย่างน้อย2-3เดือน กว่าจะได้กลับมากรีดยางหรือรอจนกว่าใบยางพาราบานเต็มต้นอีกครั้ง(อันนี้ก็แล้วแต่สภาพอากาศและการดูแลใส่ปุ๋ยอีกด้วย)

ตำบลหาดยาย มีโรงรมยางพาราตั้งอยู่ในพื้นที่ เพื่อรับซื้อผลผลิตของประชาชนในตำบลหาดยาย

ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 86110