วัดหาดสำราญ

วัดหาดสำราญ

วัดหาดสำราญ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๔ ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ตั้งวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔

รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒





พระครูสุพัฒนโกศล สาธร สาธโร

ประวัติวัดหาดสำราญ

เดิมทีวัดนี้ ตั้งอยู่ในสวนผลไม้เรียกสวน "หลุมดิน" มีบริเวณติดต่อกับแม่น้ำหลังสวนทางทิศตะวันตกของวัด ทิศเหนือ ทิศตะวันออก จดสวนผลไม้ของชาวบ้าน ส่วนทิศใต้มีห้วยจันทร์แผลกั้นกลาง

-เจ้าอาวาสรูปแรกที่สร้างวัดชื่อ หลวงพ่อคง คุรุโก (พ่อพาน) เป็นชาวบ้านตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร หลังจากท่านอุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ ไปทางทิศเหนือประมาณ 5 ปีเศษ ท่านผู้บันทึกได้คัดลอกจากตำราต่อกระดูกของหลวงพ่อมาโดยตรงปัจจุบันตำราเล่มนี้ ยังมีอยู่ที่วัด ส่วนที่ดินที่ตั้งวัดเป็นมรดกของหลวงพ่อและน้อง ของหลวงพ่อ ท่านมีพี่น้องรวม 3 ท่านได้แก่

1.หลวงพ่อคง คุรุโก (พ่อพาน)

2.แม่ชีนุ้ย

3.แม่ชีเกตุ

-เมื่อหลวงพ่อกลับจากเดินธุดงธ์แล้ว มาสร้างวัดนี้ น้องสาวทั้ง 2 ก้ได้บวชชี และอุทิศที่ดินทั้งหมด ของทั้ง 3 พี่น้อง ให้สร้างวัด ที่ดินของหลวงพ่อชื่อ"สวนหลุมดิน""สวนทองปาเร็จ"ของแม่ชีนุ้ยชื่อ"สวนแม่ชีนุ้ย"และ"สวนต้นจันทร์"สวนแม่ชีเกตุชื่อ"สวนแม่ชีเกตุ" ติดต่อกันทั้ง3พี่น้อง เหตุที่ต้องย้ายวัด จากสวนหลุมดินและสวนทองปาเร็จเพราะอยู่ริมแม่น้ำหลังสวน กลัว่านานๆเข้าน้ำจะเซาะตลิ่งพังหลวงพ่อพร้อมแม่ชีทั้ง2ท่านร่วมกับพี่น้องชาวบ้านช่วยกันย้ายวัดจากที่เดิม ห่างออกจากที่เดิม 6 เส้น ไปทางทิศใต้ อีกฝั่งของห้วยจันทร์แผล เป็นที่สวนแม่ชีนุ้ย จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่ ในที่ดินของแม่ชีนุ้ย(ที่ตั้งวัดอยู่ปัจจุบัน) ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่จำนวน 35 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา หลักฐานที่ธรณีสงฆ์โฉนดที่ดินเลขที่ 15165 เล่มที่ 152 หน้าที่ 65 หมู่ที่ 4 ตำบลหาดยาย ต่อมากลางปี 2422 หลวงพ่อชักชวนชาวบ้านสร้างเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่หลวงพ่อคง ได้เริ่มก่อสร้างรากฐานเจดีย์ที่กลางสนามวัดขุดดินตั้งฐานเจดีย์ มีของที่บรรจุคือ เหรียญ ร.5 หัวนอโม เงินทอง ใช้เสาไม้แก่นปักไว้ที่ใจกลางเจดีย์ เจดีย์นี้สร้างไม่ทันสำเร็จ เพราะท่านได้มรณะเสียก่อนปลายปี 2422

-ว่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อบางแล้วก็ไม่ต่ำกว่าหลวงพ่อคง เพราะท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคงทั้งเป็นเครือญาติกันด้วย มีเรื่องเกี่ยวกับความขลัง และความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อบ่างว่า วันหนึ่งท่านนึกสนุกขึ้นมา ถามพระลูกวัดว่า พวกคุณเคยเห็นกระต่าย (เหล็กขูดมะพร้าว) ชนกันไหม? พวกลูกวัดบอกว่า ไม่เคยเห็นท่านใช้ให้ไปเอามาจากโรงฉัน ๒ ตัว แล้วท่านประณมมือหลับตาภาวนาคาถาของท่านอยู่ครู่หนึ่ง ปรากฏว่า กระต่ายทั้งคู่ชนกัน ดังท่านว่า จนกว่าท่านจะใช้ให้หยุด กระต่ายจึงหยุด ۰อีกเรื่องหนึ่ง เล่ากันมาว่า มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง มาจากวัดไหนไม่ปรากฏ ชอบคุยโอ้อวดอิทธิ์ฤทธิ์ อยากจะลองความขลังและความศักดิ์สิทธิ์กับหลวงพ่อ หลวงพ่อใช้ให้เจ้าอาวาสรูปนั้นแสดงก่อน เจ้าอาวาสรูปนั้น ก็เริ่มปฏิบัติตามที่หลวงพ่อใช้ เจ้าอาวาสรูปนั้นโน้นต้นหมากที่หน้ากุฏิของหลวงพ่อ ทั้งต้นโต และ สูง ลงตากผ้าจีวร ให้หลวงพ่อดูคราวนี้เป็นทีของหลวงพ่อบาง หลวงพ่อบาง ก็เลยลุกขึ้นหยิบเขากวางที่ติดอยู่ข้างขาวกุฏิฉีกออกหลาย ๆ ชิ้น เจ้าอาวาสรูปนั้น จึงผูดว่าเสมอกัน ۰ อีกเรื่องหนึ่ง ที่หลวงพ่อแสดงให้เจ้าอาวาสรูปนั้นเห็น คือหลวงพ่อใช้พระลูกวัดของท่านให้ไปเอาไม้กระดานขนาด ๔×๒ ยาวประมาณ ๑ เมตร แล้วยังใช้ให้ไปเอากะลาตวงข้าวสารมาอีกหนึ่งใบ ให้คว่ำอวนข้าวสารแล้วเอาไม้กระดานตั้งบน ให้เจ้าอาวาสรูปนั้น นั่งยองยองบนไม้กระดาน ต่อจากนั้นท่านเองนั่นภาวนาคาถาอีก ปรากฏว่า อวนข้าวสารและไม้กระดานพาเจ้าอาวาสรูปนั้นหมุนเหมือนกับลูกลม ทำให้เจ้าอาวาสรูปนั้นปวดหัวเวียนศรีษะ จึงร้องบอกหลวงพ่อว่า ผมกลัวแล้ว ขอให้หลวงพ่อหยุด หลวงพ่อก็ใช้ให้อวนข้าวสารและไม้กระดานหยุด

เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ หลวงพ่อเจียม จนฺทาโก เป็นชาวบ้านเขาวอ ตำบลบ้านควนท่ามรณภาพเมื่อปี ๒๔๔๗

เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ หลวงพ่อเต้ง ไม่ปรากฏชาติภูมิ ท่านลาสิกขาเมื่อปี ๒๕๖๐

เจ้าอาวาสรูปที่ ๕หลวงพ่อพุ่ม โกมโล ไม่ปรากฏชาติภูมิ ท่านลาสิกขาเมื่อปี ๒๔๖๓

เจ้าอาวาสรูปที่ ๖ หลวงพ่อนวล อุชุโก ไม่ปรากฏชาติภูมิ ท่านมรณภาพเมื่อปี ๒๔๖๘

เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ หลวงพ่อแจ้ง โกสโล เป็นชาวบ้วนทุ่งแร่ ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน ท่านได้ชักชวนชาวบ้านสร้าง “ศาลาการเปรียญ” ๑ หลัง ยังปรากฏถึงปัจจุบัน แต่เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระครูสุพัฒนโกศล ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่แล้ว นอกจากนั้น ท่านยังช่วยเหลือประชาชน โดยตีเหล็กเป็นมีดรูปต่างๆ ให้ชาวบ้านใช้อีกด้วย ท่านลาสิกขาเมื่อปี ๒๔๗๖

เจ้าอาวาสรูปที่ ๘ พระสมุห์นุ้ย ติกฺขญาโณ เป็นชาววิสัย อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ท่านได้สร้างกุฏิ ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๘๐๐ เมตร ยาว ๑๒.๐๐ เมตร สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง ท่านลาสิกขาเมื่อปี ๒๔๘๗ รักษาการ

เจ้าอาวาสรูปที่ ๙ หลวงพ่อหีด อํกุโร เป็นชาวเขาวอ ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ท่านมรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๐ ที่วัดสุวรรณคีรี (วัดใหญ่)

۰เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐ พระใบฎีกายม สจฺจาสโก (ยม เล่งระบำ) บุตรนายพ่วง นางลา เล่งระบำ เป็นชาวหาดยาย ท่านมีความขยันอดทน มุ่งมานะพัฒนาวัดท่านทำวัดนี้เจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างหอฉัน ๑ หลัง กุฏิ ๓ หลัง และนายชื่น นางชุ่ม รอดบุญมา ได้สร้างบ่อน้ำ ๑ บ่อ ศาลาหน้าวัด ๑ หลัง ศาลาป่าช้า ๑ หลัง ท่านลาสิกขาเมื่อปี ๒๕๐๒ (เจ้าอาวาสรูปนี้ท่านอุปการะ”พระครูสุพัฒนโกศล”เจ้าอาวาสคนปัจจุบัน)

รักษาการเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๑ พระสมุห์วิ้ง อินฺโชโต (วิ้ง พัฒนเจริญ) บุตรนายวอน นางเขียน พัฒนเจริญเป็นชาวบ้านหอวัง ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ กุฏิเจ้าอาวาส ท่านลาสิกขาเมื่อปี ๒๕๐๘

รักษาการเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๒ พระวิน อินฺทปญโญ (หลวงตาวิน) มาปรากฏชาติภูมิทราบเพียงแต่ว่า พระครูอรุณคุโณทัย (แดง) เจ้าอาวาสวัดด่านประชากร เจ้าคณะอำเภอหลังสวน ส่งมาให้ดูแลวัดอยู่ในระยะหนึ่ง ภายหลังท่านพิจารณาตัวเองว่าท่านไม่สามารถที่จะเป็นเจ้าอาวาสได้ ท่านจึงกลับไปประจำที่วัดด่านประชากร เพราะท่านชราภาพมากแล้ว

۰เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๓ พระครูสุพัฒนโกศล (สาธร ขาวสมุทร) บุตรนายแท นางผ่อง ขาวสมุทร เกิดที่บ้านเลขที่ ๑๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ขณะนั้นท่านกำลังศึกษาพระปริยัติธรรมแผนบาลีอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยราชวรวิหาร อำเภอไชยา จังหวัดสุราชษฎร์ มาตามคำเรียกร้องของพี่น้องชาวบ้าน ตำบลหาดยาย ตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ - ปัจจุบัน

สถานที่ตั้ง

วัดหาดสำราญ ตั้งอยู่เลขที่ 38 หมู่ที่ 4 ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร