แผนจัดการเรียนรู้

1. สาระสำคัญ

       หน่วยเล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตคือเซลล์ สิ่งมีชีวิตบางชนิดก็ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว เช่นแบคทีเรีย โปรโตซัว เป็นต้น บางชนิดก็ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ เช่น มะม่วง แมว คน เป็นต้น สามารถจำ แนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ ได้ตามความแตกต่างของโครงสร้างภายในเซลล์ คือ พวกโปรคาริโอต (prokaryote, procaryote) ได้แก่ แบคทีเรีย ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์อย่างเด่นชัด มีโครโมโซมเพียง 1 โครโมโซม เป็นรูปวงแหวน มีดีเอ็นเอ (DNA) เป็นสายคู่ ไม่มี histone protein และพวกยูคาริโอต (eukaryote, eucaryote) ได้แก่ เชื้อรา โปรโตซัว สาหร่าย พืชและสัตว์ มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ต่าง ๆ

       การแบ่งเซลล์มี 2 แบบ คือ mitosis เป็นการแบ่งเซลล์ร่างกาย และ meiosis เป็นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เกิดขึ้นกับเซลล์ซึ่งมีการแปรสภาพและถูกกำหนดหน้าที่มาเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่ง daughter cell ที่ได้จากการแบ่งเซลล์นั้น จะมีจำนวน chromosome เป็นครึ่งหนึ่งของ mother cell ซึ่งเกิดในวัยเจริญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยในสัตว์พบในอัณฑะ (testes), รังไข่ (ovary) และในพืชพบในอับละอองเรณู (pollen sac) และอับสปอร์ (sporangium) และออวุล (ovule) เพื่อสร้างสปอร์ (spore)

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

2.1  จุดประสงค์ทั่วไป

2.1.1   อธิบายความหมายของเซลล์ได้

2.1.2   อธิบายองค์ประกอบของเซลล์ได้อย่างถูกต้อง

2.1.3   อธิบายการแบ่งเซลล์ได้อย่างถูกต้อง

2.2  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

                 2.4.1 สามารถบอกความหมายของเซลล์ได้

                 2.4.2 สมารถบอกองค์ประกอบของเซลล์ได้อย่างถูกต้อง

              2.4.3 สามารถเข้าใจการแบ่งเซลล์ได้อย่างถูกต้อง


3. สมรรถนะและการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

1.      เนื้อหาของวิชาเหมาะสมกับระดับผู้เรียน

2.      ใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับสถานภาพของสถานศึกษา

3.      ใช้วัสดุ Recycle ในการจัดทำสื่อการสอน

4.      ให้ผู้เรียนใช้วัสดุ/อุปกรณ์อย่างงาย ราคาถูก ต่อการทำงานมอบหมาย

หลักความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

1.  ศึกษา ค้นคว้า เนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอนจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ

2. พิจารณาสื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในสถานศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์

3.   สังเกตศักยภาพของผู้เรียน เช่น ด้านทุนทรัพย์ ความสามารถในการเลือกวัสดุ/อุปกรณ์มาใช้ทำงานมอบหมาย โดยไม่เดือนร้อนต่อผู้เรียน

           4.พิจารณากระดาษที่ใช้แล้ว หรือวัสดุอย่างอื่นที่มีอยู่ในสถานศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์

        หลักภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้าน ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

1.      ปฏิเสธแหล่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

2.      ปฏิเสธสื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่ต้องมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อย่างไม่จำเป็น

3.      คำนึงถึงความประหยัด จุดคุ้มทุน นำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

4.      ผู้สอนและผู้เรียนต้องคำนึงถึงความประหยัด

 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

1.    ปฏิเสธแหล่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

2.    นำเสนอสื่อการสอนที่ดี

3.    ความซื่อสัตย์

4.    ความประหยัด

        เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 

4. สาระการเรียนรู้

1.      ความหมายของเซลล์

2.      องค์ประกอบของเซลล์

       2.1  เซลล์พืช

       2.2  เซลล์สัตว์

3.      การแบ่งเซลล์

1.1  แบบไมโตซีส (mitosis)

1.2  แบบไมโอซีส (meiosis)

5. กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1. นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการซักถามปัญหา ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์และการแบ่งตัวของเซลล์



ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.  บรรยายตามเนื้อหา

1.1. ความหมายของเซลล์

1.2. องค์ประกอบของเซลล์

6.2.1         เซลล์พืช

6.2.2        เซลล์สัตว์

1.3. การแบ่งเซลล์

1.3.1   แบบไมโตซีส (mitosis)

1.3.2   แบบไมโอซีส (meiosis)

2          เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม

3          สรุป

4          ให้ทำแบบทดสอบแบบอัตนัย

เก็บแบบทดสอบ ตรวจ กรอกคะแนน 

ขั้นตอนการเรียน

6. สื่อการเรียนรู้

1.      หนังสือพันธุศาสตร์เบื้องต้น

2.      หนังสือพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น

3.      เอกสารประกอบการสอน

4.      ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ต โดยใช้ keyword : plant cell, animal cell,

mitosis, meiosis

7. การวัดผลและประเมินผล (ประเมินผลตามสภาพจริง)

7.1 วิธีการวัดและประเมินผล

       7.1.1 การทดสอบ

                 7.1.2 แบบประเมินในการร่วมกิจกรรม

       7.2 เครื่องมือวัดและประเมินผล

       7.2.1 การทดสอบ

                 7.2.1 แบบประเมินในการร่วมกิจกรรม

7.3 เกณฑ์การวัดและประเมินผลและการผ่าน

                    7.3.1 เกณฑ์การประเมินกิจกรรม

                       ช่วงคะแนน           1 - 10        ปรับปรุง

                              ช่วงคะแนน         11 - 12         พอใช้

                              ช่วงคะแนน         13 - 15      ดี

                    7.3.2 เกณฑ์การทดสอบความรู้

                              ทำได้ 5 ข้อ จาก 6 ข้อ