บทสรุปการดำเนินงาน

ความเดิมจากตอนที่แล้ว

ภายหลังที่พวกเราได้ผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง ม.ฟาร์อีสเทอร์น และ กศน. จังหวัดเชียงใหม่ ( MOU เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564) กลไกการขับเคลื่อนครู กศน.ในการผลิตคอนเทนต์การสอนก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว  !!!  ความท้าทายของโปรเจคนี้ คือ "เราจะสามารถสร้างระบบการเรียนรู้บนพื้นที่ชายขอบในพื้นที่ที่ไม่มีอินเทอร์เนตได้อย่างไร ?" ซึ่งที่สุดแล้วพวกเราจะสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์โครงการได้หรือไม่ ติดตามได้ตามรายละเอียดตลอด 18 เดือน ได้เลย ..


กลไกการขับเคลื่อน

การขับเคลื่อนกลไกเริ่มต้นจากการจัดทำ MOU ระหว่างผู้บริหารทั้งสองฝ่ายโดย ดร.ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และสำนักงาน กศน. จังหวัดเชียงใหม่ โดยนางสาวทิพวรรณ เตียงธวัช ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในหน่วยงาน กศน.ให้มีความสามารถในออกแบบและพัฒนาคอนเทนต์เพื่อให้ผู้เรียน กศน.

ผลการดำเนินงานตามการบันทึกข้อตกลร่วมมือทางวิชาการ ทำให้เกิด การดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานที่ผ่านการประชุมร่วมกัน การมอบหมายภารกิจ กำหนดตัวชี้วัดการดำเนินการที่ตรงกับความเชี่ยวชาญ เนื่องจากงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การพัฒนาอุปกรณ์ การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) ต้นแบบจากทีมนักวิจัย และการพัฒนาผู้พัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ การสอนจากครู กศน. โดยที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์แต่ละด้าน มีขอบเขตงานที่กำหนดบทบาทและหน้าที่ในแต่ละส่วนที่ชัดเจน 

กระบวนการดำเนินงาน

การสร้างสื่อการสอนแบบดิจิทัลคอนเทนต์ สำคัญที่สุดคือการพัฒนา "ครู" ดังนั้นเราจึงได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานได้มีการดำเนินกิจกรรม Coaching & Mentoring : Content Creator ทีมผู้สอน กศน จำนวน 3 รุ่น ครอบคลุมพื้นที่ชายขอบในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 16 อำเภอ 

การดำเนินกิจกรรม  Coaching & Mentoring: Content Creator นี้ ได้พัฒนา ครู กศน. จำนวนทั้งสิ้น 79 คน โดยครูที่เข้าร่วมในรุ่นที่ 1 จะได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ครูในพื้นที่ของตนในแต่ละอำเภอ โดยบางส่วนได้กลายมาเป็นวิทยากรแกนนำในรุ่นที่ 2 และ รุ่นที่ 3 เป็นการขับเคลื่อนงานที่ทุกฝ่ายสนับสนุนการทำงานแบบซึ่งกันและกัน ค่าเฉลี่ยการดำเนินกิจกรรมในภาพรวม 4.42 อยู่ในระดับ ดี ผลสะท้อนกลับจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านกระบวนการติดตามในพื้นที่ กศน. รายอำเภอ พบว่าครู ผู้สอนมีความเข้าใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์ที่มากขึ้น มีทักษะการสร้างสื่อคอนเทนต์ผ่านแอปพลิเคชัน Capcut ที่ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชันที่ผ่านมาทำให้สามารถสร้าง สื่อคอนเทนต์ต่างๆ ได้ทันที โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

ด้านผลสัมฤทธิ์

ด้านทักษะที่เกิดขึ้น

ด้านปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

ด้านการสนับสนุนเชิงโครงสร้างของผู้บริหาร

ด้านความต้องการของครู ผู้สอน


กศน.ที่ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน จำนวน 16 อำเภอ
ข้อมูล ณ วันที่ 23 กรกฏาคม 2564

กศน.ที่เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน (ขยายผล) 25 อำเภอ ครอบลุมจังหวัดเชียงใหม่  ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2565

การติดตามลงพื้นที่แบบฝังตัว

ภายหลังจากที่ได้ดำเนินกิจกรรม ทีมวิจัยได้มีการลงพื้นที่ ศศช. จำนวน 5 แห่ง เพื่อทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ได้แก่ ศศช.บ้านแม่ป๊อกบน กศน.อำเภอดอยเต่า,ศศช.บ้านหลวง กศน.อำเภอดอยเต่า, ศศช.บ้านนามะอื้น กศน.อำเภอแม่อาย, ศศช.บ้านจะโต๊ะ กศน.อำเภอแม่อาย (รอยต่ออำเภอฝาง), ศศช.บ้านห้วยแม่เกี๋ยง กศน.อำเภอเชียงดาว, ศศช.บ้านนาสิริ กศน.อำเภอเชียงดาว, ศศช.บ้านห้วยปูหลวง กศน.อำเภออมก๋อย, ศศช.บ้านห้วยตองน้อย กศน.อำเภออมก๋อย

ผลการดำเนินงานพบว่า ครูมีความสุขในการสอนเด็กๆ ศศช. มีหน้าที่ให้ทำตลอดทั้งวันทั้งสอนหนังสือ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเขียนได้ ตลอดจประกอบอาหารกลางวันในทุกๆ วัน ซึ่งเป็นบทบาทที่หนักและเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ทีมนักวิจัย จากการที่ได้สัมภาษณ์ในประเด็นภาระงานที่ต้องพัฒนาสื่อการสอนดิจิทัลว่าเป็นอย่างไร ผลสะท้อนโดยภาพรวมครูเข้าใจในการที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำให้งานสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้มองว่าการสร้างสื่อดิจิทัลเป็นภาระ หากแต่เป็นการดีที่จะได้มีข้อมูลสารสนเทศด้านการเรียนการสอนจัดเก็บไว้ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อการแลกเปลี่ยนต่อไปในอนาคต ในส่วนของการทดลองใช้เครื่องมือ Digital Offline Learning Platform พบว่า การใช้งานแพลตฟอร์มมีความง่าย ไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาปรับใช้กับผู้เรียนได้

การลงพื้นที่ ณ ศศช.บ้านห้วยปูหลวง และ ศศช.บ้านห้วยตองน้อย ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่


การลงพื้นที่ ณ กศน.อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

สัมภาษณ์ ครูวรวลัญจ์ สิงห์สุวรรณ กศน.อำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ โดยพบว่า อุปกรณ์  Digital (Offline) Learning Platform มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย สามารถแก้ไขและใช้งานได้ทันที ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ 

บรรยากาศการติดตั้ง Solar Cell บนพื้นที่ ศศช.บ้านนามะอื้น อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อากาศวันนี้ตอนเช้าฝนพรำๆ ตอนเที่ยงร้อนสุดๆ ตอนบ่ายมีฝนตกหนัก ลุ้นตลอดทางว่าจะสามารถเดินทางลงมาตัวอำเภอได้หรือไม่ ชีวิตครูดอยนี่มันไม่ได้ง่ายๆ เลยจริงๆ ครับ 

นบรรยากาศแบบอบอุ่นของผู้คนบนดอย ณ เส้นทางจาก ศศช.บ้านห้วยปูหลวงมุ่งหน้าสู่ ศศช. บ้านห้วยตองน้อย เพื่อไปติดตั้งชุดอุปกรณ์โซล่าร์เซลล์ เพื่อให้ ศศช. ได้มีไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญ (มากกกกก) ต่อการเรียนรู้ของน้องๆ ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร นวัตกรรม เทคโนโลยี และการสร้างสรรค์ ให้การศึกษาเป็นเรื่องที่ทุกคนเท่าเทียม มีความสุขที่ได้ทำมากเลย

ผลผลิต

การลงพื้นที่ ณ ศศช.บ้านดอยหลวง ต.มืดกา อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่

แนวคิดการทำงานของระบบคือ “ง่ายและเปิดกว้าง” เน้นการใช้งานตามพื้นฐานคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในกรณีที่ต้องการสร้างสื่อการสอน ผู้สอนสามารถใช้เมาท์ลาก Folder ที่สามารถตั้งชื่อเป็นวิชาที่ผู้สอนต้องการ เมื่อทำการ Copy & Paste ไว้ในระบบเสร็จสิ้นแล้ว ระบบจะดำเนินงานสร้าง Template ไฟล์ประกอบสำหรับการสร้างสื่อการสอนอัตโนมัติ เพื่อสามารถนำไปต่อเข้ากับอุปกรณ์การสอนได้ทันที โดยในการทำงานสามารถดำเนินงานผ่านเว็บไซต์ http://nonformaledu.org/sandbox/ ได้อีกทางหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดเตรียมชุด Content การสอนจากครู กศน.เพื่อ Upload ขึ้นระบบเพื่อใช้สำหรับการศึกษาเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์

2. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนนอกระบบและตามอัธยาศัย

S T U D E N T Model

S T U D E N T Model

ที่มา ฐิติมา ญาณะวงษา

STUDENT Model เป็นโมเดลการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นจากทีมวิจัยที่ตกผลึกมาจากกระบวนการดำเนินงานวิจัย นำไปใช้เป็นแนวทางการสร้างสื่อการสอนแบบดิจิทัลคอนเทนต์ของครูกศน. เกิดการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนส่งผลให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามวัตถุประของเนื้อหาการ ประกอบด้วย 


รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนกศน.ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย

1. Self-Directed Learning ผู้สอนออกแบบแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองของผู้เรียนด้วย  4  ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

 

2. TPCK Technology Pedagogy Content Knowledge  ผู้สอนวิเคราะห์ และออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการเทคโนโลยีและศาสตร์การสอนและเนื้อหาสาระ (TPCK) โดยผู้สอนทำการวิเคราะห์และออกแบบ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

3. Upskill Reskill พัฒนาทักษะเดิม เพิ่มเติมทักษะใหม่ ผู้สอนออกแบบกิจกรรมการเรียนรูการทบทวนความรู้พื้นฐานและทักษะพื้นฐานเดิมของผู้เรียน ก่อนนำเข้าสู่เนื้อหาและการพัฒนาทักษะใหม่

4. Digital Content พัฒนาสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ ตามขั้นตอนที่สำคัญดังนี้  

5. Elaboration & Evaluation การขยายความรู้ และการประเมินผล 

6 Nourishing สร้างแนวทางในการติดตาม ดูแล และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน

7. Tribe ผู้เรียนชาติพันธุ์ ประเมินผลสมรรถนะผู้เรียนซึ่งเป็นผู้เรียนชาติพันธุ์ การอ่านออกเขียนได้ (การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร) ทักษะการประกอบอาชีพ


3. การสร้างกลไกความร่วมมือและการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 

MCEP MODEL

นวัตกรรมเชิงระบบ MCEP Model เป็นนวัตกรรมเชิงระบบกลไกความร่วมมือและการพัฒนาบุคคลากร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) MCEP ประกอบด้วย


นวัตกรรมเชิงระบบแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับสถาบัน  แนวทางการพัฒนา และระดับบุคคล (ครู กศน.) ดังนี้

ระดับสถาบัน

แนวทางการพัฒนา

ระดับบุคคล (ครู กศน.)

ผลลัพธ์

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันกับสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ผ่านโครงการอบรมพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงาน กศน. จังหวัดเชียงใหม่ ในหัวข้อเรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาการ (PLC) เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ให้แก่ทีมผู้บริหาร ครู ผู้สอน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง กศน.จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 รุ่น


ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) สำนักงาน กศน. ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในปี พ.ศ. 2562 ว่า กิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่นำมาใช้สำหรับผู้เรียนทั่วไปทั้งประเทศ รวมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนพื้นที่สูง ซึ่งเมื่อดำเนินการมาได้ระยะหนึ่งทำให้ทราบว่า เนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมไม่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน และบริทบทของชุมชนจำเป็นต้องมีการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายชุมชนบนพื้นที่สูง อีกทั้งเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมรวมถึงความแตกต่างระหว่างวัยของผู้เรียน ทำให้ทีมวิจัยได้มีโอกาสหารือแนวทางการพัฒนาร่วมกับนางวิไลลักษณ์ สุขสาย ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และนางจุฑาลักษณ์ จันธี ครูชำนาญการ กศน.อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 

พบว่า จากข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับสภาพปัญหาจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เนื่องจาก เราอาจไม่สามารถใช้หลักสูตรแกนกลางเพียงหลักสูตรเดียวมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ หากพิจารณาสภาพการณ์ในพื้นที่ของอำเภออมก๋อย จะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กะเหรี่ยง ม้ง ลาหู่ ที่มากที่สุดคือชาวกะเหรี่ยง โดยตั้งรกรากกันมาช้านานตามที่ราบลุ่มในหุบเขา หรือตามไหล่เขา มีการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีดั้งเดิม ในการจัดการศึกษาการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนให้สามารถอ่านออกเขียนภาษาไทยได้ จำเป็นที่จะต้องนำเอาบริบทของพื้นที่ หรือการใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐานมาร่วมในการพิจารณาออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียนที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้อำเภออมก๋อยเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาสลับซับซ้อน เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการเข้าถึงของระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า สัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณอินเทอร์เนต การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในพื้นที่จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ด้วยเช่นกัน 

แนวทางการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับนโยบายและจุดเน้นกระบวนการดำเนินงาน