บทสรุปผู้บริหาร 

โครงการวิจัยระบบสนับสนุนสังคมดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทักษะจำเป็นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนนอกระบบในพื้นที่ชายขอบ จังหวัดเชียงใหม่ (สัญญาเลขที่ A15F640045) ได้มีการวางระบบการดำเนินงานร่วมกัน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ และความเข้าใจในกิจกรรมต่าง ๆ  ระหว่างทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นกับทีมงานจากสำนักงาน กศน. จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ออกแบบแผนการดำเนินงานที่เชื่อมโยงงานวิจัยทุกโครงการ มีการกำหนดปฏิทินการทำงาน มีการออกแบบระบบ พัฒนา จนสามารถพัฒนาเป็นอุปกรณ์ต้นแบบ (Prototype) ภายใต้ชื่อ Digital Offline Learning Platform มีดำเนินกิจกรรม Coaching & Mentoring : Content Creator ทีมผู้สอน กศน. จำนวน 16 อำเภอ  จังหวัดเชียงใหม่ มีการดำเนินกิจกรรมโครงการประกวดสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัลคอนเทนต์ Content Creator Contest ทีมครู กศน. จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกระตุ้นสมรรถนะครูผู้สอนในการสร้างสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ มีการพัฒนาเครื่องมือวิจัยร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อความเป็นคุณภาพทางวิชาการ มีการติดตั้งชุดอุปกรณ์โซลาร์เซลล์จำนวน 5 แห่ง ในอำเภอแม่อาย เชียงดาว ดอยเต่า และ อำเภออมก๋อย มีการจัดประชุมเชิงวิชาการ กศน. เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินงานร่วมกันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาด้วยเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ จากสำนักงาน กศน. จังหวัดเชียงใหม่ กศน. อำเภอ และ และทีมงานมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นจำนวนทั้งสิ้น  161  คน

นวัตกรรมเชิงระบบ

นวัตกรรมเชิงระบบ MCEP Model เป็นนวัตกรรมเชิงระบบกลไกความร่วมมือและการพัฒนาบุคคลากร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำนวน 1 นวัตกรรม

นวัตกรรมเชิงระบบ MCEP Model เป็นนวัตกรรมเชิงระบบกลไกความร่วมมือและการพัฒนาบุคคลากร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) MCEP ประกอบด้วย

โดยสามารถจำแนกตามบทบาทและหน้าที่ ได้แก่ ระดับสถาบัน  แนวทางการพัฒนา และระดับบุคคล (ครู กศน.) ดังนี้

ระดับสถาบัน

แนวทางการพัฒนา

ระดับบุคคล (ครู กศน.)

กลไกความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่

ภาพรวมกลไกการดำเนินงานวิจัย

ระดับสถาบัน

แนวทางการพัฒนา

ระดับบุคคล (ครู กศน.)

นวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนกลไก

Digital (Offline) Learning Platform

การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับช่วยในการจัดการเรียนการสอนของครูบนพื้นที่สูงในพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยมีรายละเอียดดังนี้


S T U D E N T Model

STUDENT Model เป็นโมเดลการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นจากทีมวิจัยที่ตกผลึกมาจากกระบวนการดำเนินงานวิจัย นำไปใช้เป็นแนวทางการสร้างสื่อการสอนแบบดิจิทัลคอนเทนต์ของครูกศน. เกิดการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนส่งผลให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามวัตถุประของเนื้อหาการ ประกอบด้วย 

การผลักดันนโยบาย

ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

ความเป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการที่ดีต่อกัน

บรรยากาศความเป็นกันเองระหว่างทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ทีมผู้บริหาร ครู กศน. ทั้งหมด 25 อำเภอ ที่พร้อมจะขับเคลื่อนการดำเนินงานทางการศึกษามุ่งเป้าไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาร่วมกัน