ทุนวิจัย บพท.66
บทสรุปงานวิจัย บพท. 66
การนำเสนอผลงานวิจัยการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมและการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางองค์ความรู้แบบสาธารณะเพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่ แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
บทสรุปงานวิจัยการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมและการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางองค์ความรู้แบบสาธารณะเพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่
บรรยากาศส่วนหนึ่งในงานพิธีปิดโครงการวิจัย พิธีปิดโครงการวิจัย ในวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 9:00 - 12:00 น. ณ ห้องออดิทอเรี่ยม มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
การเสวนาทิศทางการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 27 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรม อโมร่า ท่าแพ จ.เชียงใหม่
บรรยากาศการการเสวนาทิศทางการขับเคลื่อน
พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
ความน่ารักของท่าน ศธจ. ที่ให้เกียรติทีมนักวิจัย ม.ฟาร์ฯ ด้วยการนำเสนอผลงานของพวกเราผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และทุกครั้งที่มีโอากส สอดคล้องกับความตั้งใจของพวกเราที่ต้องการขับเคลื่อนงานทางด้านการศึกษาจริง ๆ ทั้งในส่วนพื้นที่นวัตกรรม และส่วนของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดเชียงใหม่
ขอเชิญทุกท่านข้าร่วมพิธีปิดโครงการวิจัย ในวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 9:00 - 12:00 น. ณ ห้องออดิทอเรี่ยม มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
เรื่อง ขอเรียนเชิญเข้าร่วมงานสรุปผลโครงการวิจัยฯ
เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ ผู้อำนวยการ ศสกร.อำเภอ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ครู และผู้ที่สนใจ
ตามที่ ได้มีการบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ (สกร.) และ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (ศธจ.) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมสักทอง มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ และสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา การสร้างสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่บนแพลตฟอร์มกลางแบบสาธารณะเพื่อการบริหารระบบการจัดการสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่พัฒนาร่วมกัน บัดนี้ทางทีมงานวิจัย ได้ขับเคลื่อนงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงการพัฒนาต้นแบบของแพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบสาธารณะที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานในหน่วยงานได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้มีการจัดงานสรุปผลโครงการวิจัยขึ้น ในวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น นั้น
ในการนี้ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จึงขอเรียนเชิญท่านและบุคลากรในสังกัดให้เกียรติเข้าร่วมในงานสรุปผลโครงการวิจัยการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมและการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลาง องค์ความรู้แบบสาธารณะเพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่ ในวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 – 12:00 น. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น โดยมหาวิทยาลัยฯ จะสนับสนุนค่าเดินทางและที่พัก ดังรายละเอียดด้านล่าง นี้ หรือติดต่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์ (อ.หนุ่ย) โทรศัพท์มือถือ 089-2640250
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน : เพื่อสุ่มรับรางวัลในการเข้าร่วมกิจกรรม
ตารางกิจกรรม (อัพเดท 20 มิถุนายน 2567)
09:00 - 09:05 น.
กล่าวต้อนรับแนวทางความร่วมมือของมหาวิทยาลัย
ดร.กิตติพัฒน์ สุวรรณชิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
09:10 - 09:30 น.
บทสรุปชุดโครงการวิจัยเรื่อง การขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมและการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางองค์ความรู้แบบสาธารณะเพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่
ผศ.ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์ หัวหน้าชุดโครงการวิจัย
ผศ.ดร.ฐิติมา ญาณะวงษา หัวหน้าโครงการวิจัย
09:30 – 9:45 น.
นำเสนอ Digital Learning Platform แพลตฟอร์มกลางสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมทั้งการใช้งานจริงผ่านการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วม
ผศ.ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์
09:45 - 10:45 น.
การแลกเปลี่ยนเรียนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นการขยายผล (ท่านละ 8 นาที)
09:45 น. นายพิทยา ธาตุอินจันทร์ ผู้อำนวยการ ศสกร.อำเภอสารภี
09:55 น. นางสาววรรธนณัฐ กันทะใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านออนกลาง
10:10 น. นางสาวปิยะพร ตุ้ยงาม ครูโรงเรียนวัดศรีบุญเรือง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
10:20 น. นางสาวธิติวรรณ มงคลปัญญากุล ครู กศนตำบลป่าลาน และ นางสาวเกศสุดา ใจอ่อน ครู กศน.ตำบลสันปูเลย
10:30 -10:50 น รับประทานอาหารว่าง
10:50 - 11:00 น.
การแลกเปลี่ยนเรียนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นการขยายผล (ท่านละ 8 นาที) ต่อ
10:50 น. การขยายผลของครูผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยคณะครู จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นายประดิษฐ์ ญานะ นางสาวสิริญาภร ทรงสุภา และ นางสาวจุฬารัตน์ ไชยแก้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ นางสาวณัฏฐณิชา จงอริยตระกูล
11:00 น. สรุปประเด็นผลลัพธ์การเรียนรู้ โดย ผศ.ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์
11:10 -11:20 น.
ทิศทางและแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานของ บพท.
นายบุญเยี่ยม เหลาสะอาด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่ และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
11:20 - 11:30 น.
ทิศทางและแนวทางการประเมินผลตอบแทนเชิงสังคมของโครงการวิจัย
นายเศรษฐภูมิ บัวทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือ ด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI TU)
11:30 - 11:40 น.
ทิศทางและแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานของ สกร.จังหวัดเชียงใหม่
นางสาวทิพวรรณ เตียงธวัช ผู้อำนวยการสำนักงาน สกร.เชียงใหม่
11:40 – 11:50 น.
ทิศทางและแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานของ ศธจ.จังหวัดเชียงใหม่
นายคงกระพัน เวฬุสาโรจน์ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
11:50 – 12:00 น.
· สรุปประเด็นการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมและกิจกรรม
· สุ่มมอบของที่ระลึกผู้เข้าร่วมงานที่ร่วมกิจกรรม การ Upload สื่อการเรียนการสอนดิจิทัลคอนเทนต์
· ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน
สุ่มมอบของที่ระลึกผู้เข้าร่วมกิจกรรม
กิจกรรมพิเศษ : สุ่มรับของที่ระลึกร่วมงาน โดยผู้มีสิทธ์ในการสุ่มจะต้องมี URL สื่อการสอนของตัวเองผ่าน youtube จำนวน 1 สื่อ
ของรางวัล
Western Digital HDD 2 TB External Harddisk ฮาร์ดดิสพกพา รุ่น My Passport ความจุ WD 2 TB USB 3.2 Gen 1 เพื่อให้ครูมีอุปกรณ์บันทึกไฟล์สื่อการสอน จำนวน 2 รางวัล ดังนี้
รางวัล สำหรับผู้ร่วมกิจกรรม ผ่าน www.pmuasandbox.com ผ่านช่องทาง SANDBOX-67 จำนวน 1 รางวัล
รางวัล สำหรับครูทุกท่านที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม Content Creator และนำเสนอคลิปสื่อการสอนของตัวเองผ่านช่องทาง Digital Content จำนวน 1 รางวัล
รูปแบบการจับรางวัล
ลุ่มด้วยแอปพลิเคชั่นโดยจะนำรายชื่อของทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น โดยจะตัดชื่อเวลา 10:30 น. (โดยกิจกรรมจะอยู่ในช่วงเวลา นำเสนอ Digital Learning Platform แพลตฟอร์มกลางสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมทั้งการใช้งานจริงผ่านการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วม ของ อ.หนุ่ย นะครับ)
สงวนสิทธิ์ของรางวัลเฉพาะ ครูและบุคลาการทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดเชียงใหม่ และ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น
การตัดสินของคณะกรรมการจัดงานถือเป็นที่สิ้นสุด
การสนับสนุนงบประมาณ ค่าเดินทาง
อำเภอเมืองเชียงใหม่ หางดง สารภี สันทราย และ สันป่าตอง 100 บาทต่อท่าน
อำเภอแม่วาง ดอยสะเก็ด แม่ริม แม่แตง สะเมิง สันกำแพง และอำเภอแม่ออน 200 บาทต่อท่าน
อำเภอดอยหล่อ จอมทอง พร้าว และเชียงดาว 300 บาทต่อท่าน
อำเภอแม่แจ่ม ฮอด ดอยเต่า เวียงแหง ไชยปราการ 400 บาทต่อท่าน พร้อมทั้งสนับสนุนค่าที่พักตามใบเสร็จที่มีเลขกำกับภาษีเท่านั้น จำนวน 1 คืน
อำเภออมก๋อย ฝาง แม่อาย กัลยานิวัฒนา 500 บาทต่อท่าน พร้อมทั้งสนับสนุนค่าที่พักตามใบเสร็จที่มีเลขกำกับภาษีเท่านั้น จำนวน 1 คืน
กรุณาเตรียมสำเนาบัตรประชาชนมาด้วยนะครับ
แนะนำที่พัก : The Room Chiang Mai Hotel
ข้อมูลสำหรับออกใบกำกับภาษี
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
120 ถ.มหิดล ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
เลขผู้เสียภาษี 0994000434898
053 -201-800
สถานที่จัดการประชุม
ห้องออดิทอเรี่ยม มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชุดโครงการวิจัยเรื่อง การขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
และการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางองค์ความรู้แบบสาธารณะเพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่
เป็นการดำเนินงานที่มีทุนงานวิจัยเดิมจากชุดโครงการวิจัยระบบสนับสนุนสังคมดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทักษะจำเป็นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนนอกระบบในพื้นที่ชายขอบ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ประจำปีงบประมาณ 2564 ตามสัญญารับทุนเลขที่ A15F640045 โดยมีวัตถุประสงค์ตามโครงการย่อย ดังนี้
การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัดของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
ร่วมกันพัฒนาศักยภาพครู ผู้สอน ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาอิงบริบทเชิงพื้นที่ตลอดจนการดึงเอาสมรรถนะเดิมที่มีมาใช้
การพัฒนาแพลตฟอร์มกลางแบบสาธารณะเพื่อการบริหารระบบการจัดการสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัล
ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven) ผ่านแพลตฟอร์มกลางสาธารณะLearning Data Catalog System ที่ครูและผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ โดยใช้เทคนิคของ # แฮชแท็ก (ขับเคลื่อนข้อมูลสื่อการสอนแบบพลวัตบนฐานทรัพยากรกลางร่วมกัน)
การขับเคลื่อนความร่วมมือแบบไตรภาคีเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้
และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
ปรับ เปลี่ยน สร้างสมดุล ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละหน่วยงาน การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้เกิดความมั่นว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริง และขับเคลื่อนโครงการวิจัยได้อย่างยั่งยืน
เราเชื่อว่างานวิจัยนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และจะทำให้ครูมีเวลาสอนที่มากขึ้น
มีการพบปะพูดคุยกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวนหลายครั้งในแต่ละหน่วยงาน เพื่อตกผลึกแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน จะทำให้เกิดความร่วมมือแบบไตรภาคีที่เป็นทางการ มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ และ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 13:30 ณ ห้องประชุมสักทอง มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดเชียงใหม่ (สกร.) และ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (ศธจ.) ในการร่วมดำเนินงานภายใต้ ชุดโครงการวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม และการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางองค์ความรู้แบบสาธารณะเพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ และ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ ในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา การสร้างสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่ บนแพลตฟอร์มกลางแบบสาธารณะเพื่อการบริหารระบบการจัดการสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่พัฒนาร่วมกัน
รายละเอียดชุดโครงการวิจัย
ชุดโครงการ การขับคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม และการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางองค์ความรู้แบบสาธารณะ
เพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่
ผศ.ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์ (หัวหน้าโครงการ)
นางเจนจิรา ถาปินตา
นางสาวณิชา ทองจำรูญ
นางสาวสมปรารถนา ประกัตฐโกมล
วัตถุประสงค์
เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัดของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มกลางแบบสาธารณะเพื่อการบริหารระบบการจัดการสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัล
เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือแบบไตรภาคีเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
โครงการย่อยที่ 1 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัดของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
ดร.ฐิติมา ญาณะวงษา (หัวหน้าโครงการ)
ดร.เดช สาระจันทร์
อ.รวิปรียา จิระนันทราพร
พื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ภายใต้แนวคิดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและเมืองแห่งการเรียนรู้
เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัด ระดับชุมชน/เขตพื้นที่/อำเภอ และระดับสถานศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อพัฒนาหลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูล ระบบ DM-HACLC สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่
เพื่อออกแบบและดำเนินการประเมินผลลัพธ์ของผู้เรียน จากการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่
โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาแพลตฟอร์มกลางแบบสาธารณะเพื่อบริหารระบบการจัดการสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัล
อ.บุญฤทธิ์ คิดหงัน (หัวหน้าโครงการ)
อ.พิชัย เหลี่ยวเรืองรัตน์
ผศ.ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์
เพื่อออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มกลางแบบสาธารณะเพื่อการบริหารระบบจัดการสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัล
เพื่อพัฒนาต่อยอดระบบ Digital Learning Platform ให้สามารถนำไปใช้งานได้ในคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ
โครงการย่อยที่ 3 การสร้างขับเคลื่อนความร่วมมือแบบไตรภาคีเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
ดร.ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน (หัวหน้าโครงการ)
ดร.พัชรีวรรณ กิจมี
ดร.รตนภูมิ โนสุ
อ.อังษณีภรณ์ ศรีคำสุข
เพื่อออกแบบและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงานของครู ผู้บริหาร และชุมชนในการมีส่วนร่วมพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและเมืองแห่งการเรียนรู้
เพื่อจัดการองค์ความรู้ นวัตกรรมและนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รวมถึงผลักดันให้เกิดความเข้าใจไปสู่การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมเชิงระบบที่ใช้ในการขับเคลื่อน
ในการขับเคลื่อนระบบการเรียนรู้ของผู้เรียน กศน. และ ศธจ. โดยภาพรวมจะมีการขับเคลื่อนงานเชิงระบบใช้แนวคิดนวัตกรรมเชิงระบบ MCLELP เป็นนวัตกรรมเชิงระบบกลไกความร่วมมือและการพัฒนาบุคคลากร ประกอบด้วย
MOU เป็นการขับเคลื่อนกลไกด้วยการจัดทำ MOU ระหว่างหน่วยงาน โดยในการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ได้มีการวางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนร่วมกันเรียบร้อยแล้ว
Coaching & Mentoring เป็นการสร้างครูแกนนำ เทคนิคการสร้างสื่อการสอนแบบดิจิทัลคอนเทนต์ผ่านการออกแบบสื่อสำหรับเนื้อหาการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงบริบทเชิงพื้นที่ภายใต้การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัด
Lesson learned การถอดบทเรียนข้อค้นพบจากการทำงานเป็นกิจกรรมการทบทวน/สรุปประสบการณ์การทำงาน ที่ผ่านมาในแง่มุมต่าง ๆเพื่อให้เห็นถึงรายละเอียดของเหตุปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายและสามารถเผยแพร่เพื่อเป็นแบบอย่างหรือแนวทางปฏิบัติที่ดี
Embedded เป็นการลงพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนร่วมกันในระดับปฏิบัติการ
Learning Community ชุมชนการเรียนรู้ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ได้มาแบ่งปันแนวคิด ประสบการณ์เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาแนวทางการสอน พัฒนาสื่อ และสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนในบริบทที่หลากหลายร่วมกัน
Policy เป็นการนำวิเคราะห์ผลวิจัยไปสู่แนวทางการจัดทำนโยบายให้เกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างยั่งยืน