ฟองน้ำแก้ว

ฟองน้ำแก้ว

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์

1. เซลล์แบบยูคาริโอต

2. ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์

3. สร้างอาหารเองไม่ได้เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นการดำรงชีวิตจึงต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร ซึ่งอาจเป็นพืช หรือสัตว์ด้วยกัน การดำรงชีวิตจึงมักเป็นแบบผู้ล่าเหยื่อหรือปรสิตเสมอ

4. โดยทั่วไปเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีบางชนิดพบว่าเมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วเกาะอยู่กับที่

5. โดยส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็ว

เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกหมวดหมู่ของอาณาจักรสัตว์มีหลายประการ แต่ในที่นี้จะใช้ระดับการทำงานร่วมกันของ

เซลล์ (level of cell organization) โดยดูการร่วมกันทำงานของเซลล์และการจัดเป็นเนื้อเยื่อ ซึ่งทำให้แบ่งสัตว์ออกเป็น

พวกใหญ่ ๆ คือ

1.1 เนื้อเยื่อที่ไม่แท้จริง (no true tissue)

1.2 เนื้อเยื่อที่แท้จริง (true tissue)


กลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

1. ไฟลัมเพอริเฟอรา สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่าฟองน้ำ ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็ม มีบางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด มีลักษณะสำคัญคือ

1. มีสมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (asymmetry)

2. มีเนื้อเยื่อ 2-3 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวหรือเอพิเดอร์มิส ส่วนชั้นในประกอบด้วยเซลล์พิเศษ เรียกว่า โคแอโนไซต์ (Choanocyte หรือ Collar cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแฟลกเจลลา 1 เส้นและมีปลอกคอ (Collar) บุอยู่โดย

รอบ เรียกเซลล์ในชั้นนี้ว่าชั้นแกสทรัล (Gastral layer)

3. ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องร่างแห (Channel network) ซึ่งประกอบด้วยรูเปิดเล็กๆ ออสเทีย (Ostia) ที่บริเวณ ผิวลำตัวรอบตัวทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าภายในตัวและมีรูเปิดขนาดใหญ่ออสคิวลัม (Osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหล ออกจากตัว เซลล์โคแอโนไซต์ (Choanocyte) ที่บุอยู่ที่ผิวด้านในจะพัดโบกแฟลกเจลลาอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดการไหลเวียน ของน้ำเข้าทางรูออสเทีย (Ostia) และไหลออกจากตัวทางออสคิวลัม (Osculum) การไหลเวียนของน้ำผ่านลำตัวนี้ก่อให้เกิด

ประโยชน์หลายประการคือ

1. อาหารต่างๆจะไหลเข้ามาพร้อมกับน้ำและถูกเซลล์โคแอโนไซต์จับไว้และย่อยเพื่อส่งไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย

ต่อไ

2. เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซขึ้นทั่วตัว โดยอาศัยการแพร่ของก๊าซออกซิเจนจากน้ำเข้าสู่เซลล์และคาร์บอนไดออกไซด์ จากเซลล์ออกสู่น้ำรอบตัว

3. เกิดการขับถ่ายของเสียต่างๆจากเซลล์ทั่วร่างกายและของเสียเหล่านี้จะออกมาพร้อมกับน้ำที่ไหลออกมาทาง ออสคิวลัม ทำให้เกิดการผสมพันธุ์ โดยสเปิร์มที่เข้ามาตอนน้ำไหลเข้าจะถูกเซลล์โคแอโนไซต์จับไว้และจะเกิดการผสม

พันธุ์กับไข่ต่อไป

4. ไม่มีระบบหมุนเวียน ระบบหายใจ ระบบขับถ่ายและระบบประสาทโดยเฉพาะ โดยทั่วไปอาศัยการไหลเวียน ของน้ำเป็นตัวการสำคัญในขบวนการเหล่านี้

5. มีโครงร่างภายใน (Endoskeleton) เรียกว่าหนามฟองน้ำ (Spicule) ซึ่งมักจะเป็นสารพวกหินปูนหรือแก้ว (Silica) บางชนิดมีโครงร่างเป็นพวกใยโปรตีน (Spongin) ทำให้ตัวฟองน้ำมีลักษณะนุ่มนิ่ม

6. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสเปิร์มและไข่

ผสมกันและจะได้ตัวอ่อนที่มีขนซีเลียว่ายน้ำได้และต่อมาก็หาที่เกาะเจริญเป็นตัวฟองน้ำเต็มวัยต่อไป

7. ตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่กับที่ (Sessile animal) มีโครงสร้างค้ำจุนระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกกับชั้นในคือ อยู่ในชั้น

มีเซนไคม์ เรียกว่า “ขวาก” ทำให้ฟองน้ำคงรูปร่างอยู่ได้ ขวากสามารถแบ่งตามสารที่เป็นส่วนประกอบได้ 3 ชนิด คือ

1. ขวากหินปูน (Calacreous spicule) เป็นขวากที่ประกอบด้วยหินปูน พบในฟองน้ำหินปูน

2. ขวากแก้ว (Siliceous spicule) เป็นขวากที่ประกอบด้วยซิลิกา ซึ่งจะพบได้ในฟองน้ำแก้ว

3. สปองจิน (Spongin) ไม่ใช่ขวากแต่เป็นเส้นใยโปรตีนที่ประกอบด้วย สารสเคลอโรโปรตีน

(Scleroprotein)

สัตว์จำพวกฟองน้ำมักจะเจริญและอาศัยอยู่ในบริเวณแนวหินปะการัง ดังนั้นฟองน้ำจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด

สมดุลทางธรรมชาติ ภายในตัวหรือโพรงของฟองน้ำจะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำขนาดเล็กและพวกลูกกุ้ง ลูกปู ลูกปลา

ทำให้มันรอดพ้นจากการถูกจับกินและทำให้มีโอกาสที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ฟองน้ำถูตัว

สามารถเลี้ยงและผลิตเป็นอุตสาหกรรมและส่งออกที่มีราคาสูง ทำรายได้ให้แก่ผู้ผลิตได้มากๆ ดังนั้นการเลี้ยงฟองน้ำ

จึงเป็นอาชีพอย่างหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ชาวประมง

ฟองน้ำหินปูน


โครงสร้างฟองน้ำ

สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่

1. Class Calcarea ได้แก่ ฟองน้ำที่มีแกนแข็งเป็นพวกหินปูน (CaCO3)

2. Class Hexactinellida ได้แก่ ฟองน้ำที่มีแกนแข็งเป็นพวกแก้วหรือทราย (Silica)

3. Class Demospongiae ได้แก่ ฟองน้ำถูตัวที่มีแกน

อ่อนนุ่ม ประกอบด้วยสารประเภท Scleroprotien