พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อพญาแล บุญเดือน6


พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อพญาแล

ประเพณี พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อพญาแล อำเภอภักดีชุมพล

พิธีกรรมและความเชื่อการถวายบายศรีเจ้าพ่อพญาแลพบว่า เมื่อปีพ.ศ. 2369 หลังจากพระยาภักดีชุมพล (แล) หรือเจ้าพ่อพญาแลถูกประหารชีวิตแล้ว มีชาวบ้านซึ่งเป็น ราษฎรที่อยู่ในความปกครองของเจ้าพ่อพญาแล ให้ความเคารพศรัทธา เลื่อมใสคุณงามความดีของ เจ้าพ่อพญาแล ผู้ซี่งเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องไพร่พลและจงรักภักดีต่อผืนแผ่นดินไทยได้ร่วมกันสร้าง ศาลเพียงตา (ศาลตาปู่) ขึ้น1หลัง ณ บริเวณที่ท่านถูกประหารชีวิตโดยตั้งชื่อศาลตาปู่ว่า “ศาลเจ้าพ่อ พญาแล”พอถึงฤดูกาลเดือน 6 วันพุธแรกได้ชักชวนกันนำเครื่องบวงสรวงสังเวยมาเซ่นไหว้ จะมีไก่ ต้ม เหล้าขาว (เหล้าเด็ด) ยาสูบ (ยาใบตอง) หมาก พลู ผ้าซิ่น บายศรีซ้ายขวา (บายศรีปากชาม) ดอกไม้ ธูปเทียน พร้อมคนเป่าแคนรำถวาย โดยหาร่างทรงเจ้าพ่อ (จ้ำ) นำกล่าวถวายเครื่องเซ่นไหว้ ทั้งหมด ตลอดทั้งอัญเชิญดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพญาแลมารับเครื่องสังเวย ครั้นเมื่อบริโภคแล้ว ขอให้ท่านปกปักรักษาให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข ทำไร่ ทำนา ก็ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลให้พืช พันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความศักดิ์สิทธิ์ได้แพร่กระจายไปยังผู้ที่เคารพศรัทธาอย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้คนศรัทธามากขึ้น เมื่อถึงฤดูกาลเดือน 6 วันพุธแรกก็จะมีการเซ่นไหว้ ต่อมามีการจัดงาน สมโภชขึ้น มีการรำผีฟ้า ลำกลอนฉลอง ประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยก็ได้บนบาน ศาลกล่าวเจ้าพ่อพญาแลรักษาให้หายป่วย บางคนมีคดีความก็ช่วยให้ได้รับชัยชนะ บางคนไม่มีบุตรก็ ขอให้ได้บุตร มีบุตรหลานไปทำงานต่างจังหวัดต่างประเทศก็ขอให้สำเร็จ มีความสุขมีเงินมีทอง เป็น ต้น เมื่อผู้บนบานเจ้าพ่อพญาแลได้ประสบผลสำเร็จก็ได้นำเครื่องเซ่นไหว้ที่ตนเองบนไว้กับเจ้าพ่อ พญาแลมาถวายแก้บน บางคนนำมหรสพถวาย บางคนก็บนของบริโภคต่าง ๆ กันไปและบนถวาย กองบุญเจ้าพ่อพญาแล โดยประชาชนต่างมีเจ้าพ่อพญาแลเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจโดยเฉพาะใน ช่วงเวลาที่มีความทุกข์ยากลำบากในชีวิตก็จะบนบานเจ้าพ่อพญาแลให้สมหวังในเรื่องจากต่าง ๆ เมื่อ สมหวังแล้วต่างก็พร้อมใจกันมาแก้บน จนกลายเป็นความเชื่อและความศรัทธาที่เพิ่มมากขึ้นในเจ้า พ่อพญาแล