ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ช่วยให้การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗) เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี สติ ปัญญา และความเพียร ซึ่งจะนำไปสู่ ความสุข ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง คำว่าทฤษฎีใหม่


เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๙ ทรงมีพระราชดำริเรื่องนี้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก เกษตรทฤษฎีใหม่คือการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเกื้อกูลกัน ระบบเกษตรผสมผสาน เป็นระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกันโดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิด เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์


ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาที่ดินทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ณ บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 6 บ้านซับหมี ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านของ นายนิคม คงพันธ์ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านซับหมี และเป็นวิทยากรให้ความรู้การจัดกิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ให้ กศน.อำเภอเทพสถิต ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาที่ดินทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อการทำการเกษตรแบบผสมผสานได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อการทำการเกษตรแบบผสมผสาน แบ่งพื้นที่การทำประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ปลูกไม้ผล ปลูกข้าว แหล่งน้ำ สวนป่า ไร่ เลี้ยงสัตว์ โรงปุ๋ยและที่พักอาศัย