ชุมชนญัฮกุร


เมื่อราว 100 ปีก่อนในราชสำนักสยามสมัยรัชกาลที่ 6 ได้สำรวจชาวบน (Chaubun) หรือญัฮกุร พบว่ามีการกระจายตัวอยู่ใน 3 จังหวัดคือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งตรงกับข้อมูลในปัจจุบัน และในบทความของไซเดนฟาเดนยังได้ระบุด้วยว่า ที่จังหวัดชัยภูมิได้พบญัฮกุรที่เขตบ้านชวน และจัตุรัสด้วย (Seidenfaden, 1918; 1919) แต่ในปัจจุบันไม่พบญัฮกุรในพื้นที่ดังกล่าวอีก ญัฮกุแปลว่า “ภูเขา” จากความหมายของชื่อ คงจะทำให้รู้ได้แล้วว่า ชนกลุ่มนี้เป็นคนที่อาศัยอยู่ในป่าบนภูเขา แต่เดิมชาวญัฮกุรเป็นพรานป่า มักย้ายถิ่นที่อยู่ไปเรื่อย ๆ เคยอาศัยอยู่ในป่าแถบเทือกเขาพังเหย ซึ่งมีอาณาบริเวณคาบเกี่ยวต่อเนื่องกัน ๓ จังหวัด อยู่ตรงบริเวณใจกลางของประเทศไทย โดยอยู่บนขอบที่ราบสูงโคราช และพื้นที่สูงในจังหวัดชัยภูมิที่ต่อกับภาคเหนือและต่อกับจังหวัดลพบุรี


ปัจจุบันชาวญัฮกุร อาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดจังหวัดชัยภูมิ ที่อำเภอเทพสถิต คือ บ้านวังอ้ายโพธิ์ บ้านวังอ้ายคง บ้านน้ำลาด บ้านเสลี่ยงทอง บ้านไร่ บ้านวังตาเทพ บ้านท่าโป่ง บ้านโคกสะอาด บ้านสะพานหินญัฮกุร เป็นกลุ่มชนดั้งเดิมใน อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ไม่มีภาษาเขียนของตนเอง จึงนำภาษาไทยมาใช้เขียนแทนอย่าง ญัฮกุร อ่านว่า ญะ (ออกเสียง ฮ ขึ้นจมูก) กุ้น (กระดกลิ้น ร ส่งท้าย) การสืบทอดภาษาผ่านระบบมุขปาฐะ ทำให้ภาษาญัฮกุรเลือนหายไปตามเวลา รวมถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านญัฮกุร (มอญโบราณยุคทวารวดี) ที่แอบซ่อนอยู่ใน อ.เทพสถิต มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวด แต่ตอนนี้ชุมชนเปิดตัวแล้วโดยการสนับสนุนของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยภูมิ โดย สวธ.ให้งบประมาณ 1 ล้านบาท เพื่อทำกิจกรรมตามแผนพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยในระยะแรกเริ่มที่การพัฒนาบุคลากร จากนั้นจะปรับปรุงภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม จัดทำป้ายบอกทาง ลานวัฒนธรรม และสุดท้ายจะตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อให้ชุมชนอยู่ได้เองอย่างยั่งยืน


เช่น พิธีกรรมการแห่หอดอกผึ้ง การแต่งกาย ด้านอาหารพื้นบ้านเช่นเมี่ยงคำ ลักษณะบ้านเรือน ที่แทบไม่หลงเหลือ เพราะวัฒนธรรมสมัยใหม่กลืนกินไปเกือบหมดสิ้น การเดินทางไปชมดอกกระเจียวที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงามครานี้ จึงกลายเป็นประเด็นรองเมื่อได้พบกับชุมชน