บุญกลางบ้านท่ากูบ

งานประเพณี บุญกลางบ้านท่ากูบ เป็นประเพณีของชุนชนคนไทยที่จัดภายในบริเวณลานกว้างๆ ในหมู่บ้านตำบลท่ากูบ ที่เป็นสถานที่ที่เคยจัดกันมาเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการชุมนุมชาวบ้านทุกหมู่เหล่ามาร่วมจัดงานประเพณีร่วมกัน โดยมีรายละเอียดการจัดแตกต่างกันไปตามบริบท สร้างความรักใคร่สามัคคีของคนในหมู่บ้าหมู่คณะ ให้มีความรักสามัคคี ต่างคนไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นลักษณะของความเชื่อ ของชาวชุมชนในท้องถิ่น

การทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เจ้าทาง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนบูชาพระโพธิ์แสนห้า เพื่อขอความคุ้มครอง ให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความสำเร็จเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานต่างๆ ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่างๆ ที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ กระทำพิธี ทำบุญกลางบ้าน หรือชาวบ้านเรียกกันว่า “ทำบุญเดือน 6”

โดยให้ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือชาวบ้านท่ากูบกำหนดวันทำบุญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือถือเอาวันสะดวก ใช้สถานที่ที่เป็นลานกลางว่างๆกลางหมู่บ้านตามปริบทของหมู่บ้านนั้นๆ พิธีกรรมจะเริ่มเมื่อสวดมนต์ในเวลาช่วงตอนเย็นบริเวณในพิธีพระสงฆ์ 4 รูปจะมาสวดมนต์เย็นหรือมากกว่าตามเห็นสมควร และชาวบ้านจะนำทราย ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำมา 1 ขวด เพื่อเทไว้ในโอ่งหรือภาชนะแทนโอ่ง เพื่อทำน้ำมนต์ประกอบพิธีในตอนเช้า



หลังจากนั้น ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีการสวดมนต์ ทำบุญเลี้ยงเพลพระชาวบ้าน ส่วนหนึ่งจะนำอาหารมาคราวหวานมาถวายเพลพระ และจะทำกระทงรูปสี่เหลี่ยม ปั้นรูปคน ปั้นสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้านของตน ตลอดจนไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงต่างๆ พริก เกลือ หัวหอม กระเทียว ปลาย่าง ข้าวขาว ข้าวดำ ข้าวแดดงมาวางลงในกระทง เพื่อส่งทางความทุกข์โศกทิ้งไป แล้วพระจะสวดมนต์เจริญน้ำพรพุทธมนต์และทรายลงไปในกระทงปัดเป่าความไม่ดีออกไป


เสร็จแล้วจะนำกระทงไปวางที่บริเวณทางสามแพร่งของหมู่บ้าน จุดธูปจุดเทียน พูดกล่าวส่งทางให้หมดทุกข์ หมดโศกและสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายหมดไป และมีแต่สิ่งที่ดีๆเข้ามาในชีวิตเป็นอันเสร็จพิธี และจะนำทรายไปหว่านที่เคหสถาน ของตนเองพร้อมด้ายมงคลไปมัดล้อมรอบบริเวณบ้านทุกหลังคาเรือง และนำน้ำมนต์ไปดื่มกินแก้โรคภัย และเป็นศิริมงคลภายในครัวเรือนของตน และสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนชนบทเอาไว้สืบมาจนปัจจุบัน