Master of Arts Program in Conservation of Fine Art 

การอนุรักษ์ศิลปกรรมมีความสำคัญอย่างไร สำหรับคนที่รักศิลปกรรม

คุณค่าความงามในศิลปกรรมในรูปแบบโบราณวัตถุ ศิลปกรรมไทยประเพณี และรูปแบบร่วมสมัยนับวันจะมีเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังที่เห็นจัดแสดงในหอศิลป์ทั้งของภาครัฐ เอกชน และอีกจำนวนมากที่เป็นส่วนหนึ่งของอาคารสำคัญๆ เช่น อาคารศาสนสถาน อาคารส่วนราชการ ซึ่งในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ศิลปกรรม การดูแล เก็บรักษา อย่างถูกต้องตามหลักการวิธีการของการอนุรักษ์  ดังนั้นผู้ดูแล ผู้ครอบครอง และผู้ที่ทำหน้าที่สร้างสรรค์จึงมีความจำเป็นในการเรียนรู้ความเข้าใจในวิธีการอนุรักษ์ศิลปกรรมตามหลักพื้นฐานของการอนุรักษ์ เพื่อให้คงไว้คุณภาพ และมูลค่าที่นับวันเพิ่มมากขึ้นตามสภาพที่สมบูรณ์


หลักการอนุรักษ์ศิลปกรรมในระดับพื้นฐาน คำศัพท์ที่ใช้บ่อยคือ การเก็บรักษา การป้องกันความเสียหาย การลดอัตราการเสื่อมสภาพของวัตถุศิลปกรรม รวมถึงวิธีการจัดแสดง โซลูชันการจัดเก็บ ความท้าทายด้านสภาพแวดล้อม การจัดการกับศัตรูที่ก่อกวนวัสดุศิลปกรรม เป็นการปฏิบัติหรือวิธีทำที่หลากหลาย ตลอดจนการบรรจุเพื่อการขนส่ง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญของการอนุรักษ์ศิลปกรรม


การเก็บรักษาศิลปะคืออะไร?

การอนุรักษ์ศิลปะ (art conservation) หมายถึงการบำรุงรักษาและการเก็บรักษา (preservation) ผลงานศิลปะ และการปกป้องจากความเสียหายและการเสื่อมสภาพในอนาคตซึ่งแนวปฏิบัติในการอนุรักษ์สมัยใหม่ยึดหลักการของการย้อนกลับได้ (reversibility) ซึ่งกำหนดว่าการรักษาไม่ควรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรกับวัตถุ ทั้งนี้หัวใจสำคัญของการอนุรักษ์คือ ไม่ทำให้วัสดุเดิมเสียหายมากขึ้น สามารถนำออกได้ในอนาคต พยายามรักษาวัสดุเดิมให้คงอยู่มากที่สุด และใช้วัสดุใหม่ที่เสริมหรือเพิ่มให้น้อยที่สุด ด้วยความเข้าใจในจุดมุ่งหมายคือ เสริมความแข็งแรงให้ชิ้นงานศิลปะให้คงอยู่ยาวนาน การกำจัดหรือยับยั้งสาเหตุของการเกิดความเสียหาย รักษาให้คงสภาพ หรือคืนสภาพเดิมเท่าที่จะทำได้

การดูแล และการทำความสะอาดขั้นพื้นฐาน ในผลงานศิลปะวัสดุกระดาษ 

ทำไมการอนุรักษ์ศิลปะจึงสำคัญ?

งานวิจิตรศิลป์หรืองานศิลปกรรมเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางสุนทรียศาสตร์หรือทางปัญญา ที่มีเนื้อหา เรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงให้ผู้ชมได้เข้าใจในความหมายที่ศิลปินพยายามจะบอก และการสัมผัสการรับรู้ทางอารมณ์ ซึ่งศิลปินนอกเหนือจากการใช้ทักษะที่ผ่านการฝึกและเรียนรู้ทฤษฎีในการจัดการทางองค์ประกอบธาตุทัศนศิลป์(Visual) สิ่งสำคัญคือแรงบันดาลใจ แรงจุงใจหรือความหลงใหลในสิ่งที่ต้องการแสดงออกเป็นวัตถุศิลปกรรมเพื่อหวังว่าผู้ชมจะได้สัมผัสสุนทรีย์ และประโยขน์ใช้สอยในรูปแบบการใช้งาน และทำหน้าที่สำคัญเป็นเสมือนจดหมายเหตุทางประวัติศาสตร์เพื่อให้การสืบหาเรียนรู้เรื่องราวต่างๆในประวัติศาสตร์ที่มากด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม ระยะเวลาผ่านไปศิลปกรรมเหล่านั้นมีสภาพที่เสื่อมชำรุด จะด้วยวัสดุและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุให้ต้องรักษา และหาทางในการป้องกัน

การเก็บรักษาศิลปกรรมได้อย่างไร

วิธีการจัดการที่ดีที่สุดสำหรับการเก็บรักษาคือ การจัดเก็บในรูปแบบการจัดนิทรรศการหรือการจัดแสดงเป็นเสมือนหอศิลป์ที่เปิดให้ผู้คนได้เข้าชมผลงานศิลปกรรมซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับการตรวจสอบดูแลรักษาอย่างเปิดเผย มีผลงานศิลปกรรมจำนวนมากที่เสียหายบางชิ้นไม่สามารถฟื้นฟูให้คืนสภาพเดิมได้เนื่องไม่ทราบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิธีการเก็บแบบบรรจุหีบห่อที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ง่าย ปัญหาใหญ่สำหรับศิลปินที่ไม่ให้ความสำคัญกับพื้นที่ วิธีการจัดเก็บ สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศรอบข้าง และแมลง สัตว์ กัดกินสร้างที่อยู่อาศัยบนชิ้นงานศิลปกรรมสร้างความเสียหายยากที่จะรักษาให้คืนสภาพเดิม

 

กรรมวิธีการอนุรักษ์ สำหรับนักสะสม ผู้ดูแล และผู้สร้างสรรค์ศิลปกรรม หรือศิลปิน ควรทำความเข้าใจและปฏิบัติกับผลงานศิลปกรรมเป็นเบื้องต้น ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจ ความแตกต่างของ 2 คำนี้ การอนุรักษ์และการฟื้นฟู (Conservation and Restoration) ที่ชัดเจนคือ คำจำกัดความและโฟกัสที่แตกต่างกัน สิ่งที่แสดงให้เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเป็นแนวทางในการปฏิบัติคำว่า การอนุรักษ์(Conservation) เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นไปที่การรักษางานต้นแบบ โดยเริ่มต้นนั้นเกี่ยวกับการทำความสะอาด การซ่อมด้วยการเสริมโครงสร้างบางส่วนให้แข็งแรงให้คงสภาพในปัจจุบันรูปแบบดั้งเดิมไว้ แต่ในทางกลับกัน การบูรณะ (restoration) งานศิลปะนั้นเกี่ยวข้องกับงานที่ทำในการฟื้นฟูชิ้นส่วนให้กลับคืนสู่รูปลักษณ์หรือฟังก์ชันดั้งเดิม (original appearance or function) ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูมุ่งเน้นไปที่สุนทรียศาสตร์เป็นหลักมากกว่ารูปแบบเดิม(original form) ซึ่งผู้ซ่อมแซมบางคนอาจไม่ได้คำนึงถึงผลเสียหายที่อาจจะตามมาในระยะยาวจากการใช้วัสดุบางอย่างกับชิ้นงาน เช่น การมีปฏิกิริยาทางเคมีจากวัสดุใหม่ในการเติมแต่งในชิ้นงานที่มีผลทำให้เกิดความเสียหายกับวัสดุชิ้นงานเดิม

คุณค่าสำคัญและวิธีการที่แตกต่าง

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ความแตกต่างระหว่างการอนุรักษ์มุ่งเน้นไปที่การรักษาชิ้นส่วนเป็นหลัก ในขณะที่การฟื้นฟูมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงรูปลักษณ์ ประเด็นของความกังวลอันดับต้น ๆ ของผู้พิทักษ์ศิลปะคือการทำให้มั่นใจว่าผลงานดั้งเดิมยังคงอยู่ ชิ้นงานได้รับการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรทำให้งานใดๆ ที่ทำโดยนักอนุรักษ์สามารถยกเลิกได้ในอนาคตหากมีความจำเป็น ความสามารถในการย้อนกลับและให้แน่ใจว่างานต้นฉบับยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและวิสัยทัศน์ของศิลปินที่มีต่องานชิ้นนี้จะไม่ถูกประนีประนอม

อ้างอิงจาก

Art Conservators Alliance. (2019). art conservators alliance. Retrieved from artconservatorsalliance.com: https://www.artconservatorsalliance.com/what_is.html

B.R.Howard conservation. (2019). what's the difference between conservation and restoration. Retrieved from brhoward.com: https://www.brhoward.com/new-blog/2018/8/28/whats-the-difference-between-conservation-and-restoration

Midwest art conservation center. (2022). what is art conservation. Retrieved from preserveart.org: https://preserveart.org/education/what_is_conservation/

Kim, Y. K. (2017). art restoration:saving cultural heritage. Retrieved from thejakartapost.com: https://www.thejakartapost.com/life/2017/07/27/art-restoration-saving-cultural-heritage.html